แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติ วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 จำนวน 40 ข้อ พร้อมเฉลย

แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติ วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561

จำนวน 40 ข้อ พร้อมเฉลย

 

1.ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนําและยินยอมของ

ก.สภานิติบัญญัติ

ข.สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ค.รัฐสภา

ง.วุฒิสภา

ตอบ ข.

2.ข้อใดไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ

ก.รัฐวิสาหกิจ

ข.องค์การมหาชน

ค.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ง.บริษัท มหาชน

ตอบ  ง.

อธิบายเพิ่มเติม “หน่วยงานของรัฐ”

(1)ส่วนราชการ

(2) รัฐวิสาหกิจ

(3) หน่วยงานของรัฐสภา ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรอัยการ

(4) องค์การมหาชน

(5) ทุนหมุนเวียนที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

(6) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

(7) หน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กฎหมายกำหนด

 

3. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “รัฐวิสาหกิจ”

ก.งจังหวัดและกลุ่มจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดินด้วย

ข.องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล

ค.บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ

ง.บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

ตอบ  ก.

อธิบายเพิ่มเติม “รัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า

 (1) องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล กิจการของรัฐ ซึ่งมีกฎหมายจัดตั้งขึ้น หรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ

(2) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตาม (1) มีทุนรวมอยู่ด้วย เกินร้อยละห้าสิบ

(3) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ หรือที่รัฐวิสาหกิจ ที่มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ

4. ข้อใดไม่ใช่ “ส่วนราชการ”

ก.ทบวง

ข.กระทรวง

ค.องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล

ง.กรม

ตอบ  ค.

อธิบายเพิ่มเติม “ส่วนราชการ” 

กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและ มีฐานะเป็นกรม และให้หมายความรวมถึงจังหวัดและกลุ่มจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดินด้วย

5.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “เงินนอกงบประมาณ”

ก.บรรดาเงินทั้งปวงที่หน่วยงานของรัฐจัดเก็บ หรือได้รับ ไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือจากนิติกรรมหรือนิติเหตุ หรือกรณีอื่นใด ที่ต้องนําส่งคลัง

ข.ที่เก็บรักษาเงินแผ่นดินของกระทรวงการคลัง และให้หมายความรวมถึง บัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อการนี้ด้วย

ค.กองทุนหมุนเวียน เงินทุน เงินทุนหมุนเวียน ทุน หรือ ทุนหมุนเวียน ที่ตั้งขึ้นเพื่อกิจการที่อนุญาตให้นํารายรับสมทบทุนไว้ใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องนําส่งคลงั

ง.หนี้สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ

ตอบ  ก.

6.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “คลัง”

ก.บรรดาเงินทั้งปวงที่หน่วยงานของรัฐจัดเก็บ หรือได้รับ ไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือจากนิติกรรมหรือนิติเหตุ หรือกรณีอื่นใด ที่ต้องนําส่งคลัง

ข.ที่เก็บรักษาเงินแผ่นดินของกระทรวงการคลัง และให้หมายความรวมถึง บัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อการนี้ด้วย

ค.กองทุนหมุนเวียน เงินทุน เงินทุนหมุนเวียน ทุน หรือ ทุนหมุนเวียน ที่ตั้งขึ้นเพื่อกิจการที่อนุญาตให้นํารายรับสมทบทุนไว้ใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องนําส่งคลงั

ง.หนี้สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ

ตอบ  ข.

7.รัฐต้องดำเนินนโยบายการคลัง การจัดทำงบประมาณ การจัดหารายได้ การใช้จ่าย การบริหารการเงินการคลัง และการก่อหนี้อย่างไร

ก.มีประสิทธิภาพ

ข.โปร่งใส

ค.ตรวจสอบได้

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม  รัฐต้องดําเนินนโยบายการคลัง การจัดทำงบประมาณ การจัดหารายได้ การใช้จ่าย การบริหารการเงินการคลัง และการก่อหนี้ อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ ทั้งนี้ ตามหลักการรักษาเสถียรภาพและการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และหลักความเป็นธรรมในสังคม และต้องรักษาวินัยการเงินการคลังตามที่บัญญัติในพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง อย่างเคร่งครัด

8.การกู้เงิน การลงทุน การตรากฎหมาย การออกกฎ หรือการดำเนินการใด ๆ ของรัฐที่มีผลผูกพันทรัพย์สินหรือก่อให้เกิดภาระทางการเงินการคลังแก่รัฐ ต้องพิจารณาตามข้อใด

ก.ความคุ้มค่า ต้นทุน

ข.ผลประโยชน์

ค.ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม  การกู้เงิน การลงทุน การตรากฎหมาย การออกกฎ หรือการดำเนินการใด ๆ ของรัฐที่มีผลผูกพันทรัพย์สินหรือก่อให้เกิดภาระทางการเงินการคลังแก่รัฐ ต้องพิจารณาความคุ้มค่า ต้นทุน และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทาง การคลังของรัฐด้วย

9.ในการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายการคลัง การจัดทำงบประมาณ การจัดหารายได้ การใช้จ่าย การบริหารการเงินการคลัง และการก่อหนี้ คณะรัฐมนตรีต้องพิจารณาประโยชน์ใด

ก.ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม

ข.ประโยชน์ที่รัฐหรือ ประชาชนจะได้รับ

ค.ความคุ้มค่า ต้นทุน

ง.โปร่งใส

ตอบ ข.

10.ข้อใดไม่ใช่ “คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลัง ของรัฐ”

ก.นายกรัฐมนตรี

ข.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ค.ปลัดกระทรวงมหาดไทย

ง.ปลัดกระทรวงการคลัง

ตอบ ค.

อธิบายเพิ่มเติม  ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลัง ของรัฐ” ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ผู้อํานวยการสำนักงบประมาณ และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ

11.แผนการคลังระยะปานกลาง ให้มีระยะเวลาไม่น้อยกว่ากี่ปี

ก.ให้มีระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี

ข.ให้มีระยะเวลาไม่น้อยกว่าสองปี

ค.ให้มีระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามปี

ง.ให้มีระยะเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี

ตอบ  ค.

12.ให้คณะกรรมการมีหน้าที่จัดทำแผนการคลังระยะปานกลาง ให้แล้วเสร็จภายใน กี่เดือน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณทุกปี

ก.ภายใน หนึ่งเดือน

ข.ภายใน สองเดือน

ค.ภายใน สามเดือน

ง.ภายใน สี่เดือน

ตอบ  ค.

อธิบายเพิ่มเติม  แผนการคลังระยะปานกลางตามวรรคหนึ่ง ให้มีระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามปี และอย่างน้อย ต้องประกอบด้วย

(1) เป้าหมายและนโยบายการคลัง

(2) สถานะและประมาณการเศรษฐกิจ

(3) สถานะและประมาณการการคลัง ซึ่งรวมถึงประมาณการรายได้ ประมาณการรายจ่าย ดุลการคลัง และการจัดการกับดุลการคลังนั้น

(4) สถานะหนี้สาธารณะของรัฐบาล

(5) ภาระผูกพันทางการเงินการคลังของรัฐบาล

 

13.เมื่อคณะกรรมการจัดทำแผนการคลังระยะปานกลางแล้ว ให้เสนอต่อใครพิจารณาให้ความเห็นชอบ

ก.คณะรัฐมนตรี

ข.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ค.นายกรัฐมนตรี

ง.ปลัดกระทรวงการคลัง

ตอบ  ก.

14.การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้แก่หน่วยงานของรัฐต้องคำนึงถึงข้อใด

ก.ความจําเป็นและภารกิจของหน่วยงานของรัฐที่ขอรับจัดสรรงบประมาณ

ข.ฐานะเงินนอกงบประมาณของหน่วยงานของรัฐที่สามารถใช้จ่ายได้รวมตลอดถึงรายได้หรือ เงินอื่นใดที่หน่วยงานของรัฐนั้นมีอยู่หรือสามารถนำมาใช้จ่ายได้

ค.การปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระของรัฐสภา ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรอัยการ

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม  การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้แก่หน่วยงานของรัฐต้องคำนึงถึง

(1) ความจําเป็นและภารกิจของหน่วยงานของรัฐที่ขอรับจัดสรรงบประมาณ

(2) ฐานะเงินนอกงบประมาณของหน่วยงานของรัฐที่สามารถใช้จ่ายได้รวมตลอดถึงรายได้หรือ เงินอื่นใดที่หน่วยงานของรัฐนั้นมีอยู่หรือสามารถนำมาใช้จ่ายได้

(3) ความสามารถในการใช้จ่ายและการก่อหนี้ผูกพันของหน่วยงานของรัฐภายในปีงบประมาณนั้น

(4) การปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระของรัฐสภา ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรอัยการ

(5) กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องเป็นไปเพื่อสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน การทำหน้าที่ดูแลและจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น โดยคำนึงถึงความสามารถในการหารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนความเหมาะสมและ ความแตกต่างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ

15.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “หลักเกณฑ์การตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี”

ก.งบประมาณรายจ่ายลงทุน

ข.งบประมาณรายบุคลากรและสวัสดิการ

ค.ภาระทางการเงินเพื่อชดเชยต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการ

ง.งบประมาณรายจ่ายกรณีฉุกเฉิน

ตอบ ง.

16.ต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของงบประมาณรายจ่ายประจำปี และต้องไม่น้อยกว่าวงเงินส่วนที่ขาดดุลของงบประมาณประจำปีนั้น หมายถึงงบข้อใด

ก.งบประมาณรายจ่ายลงทุน

ข.งบประมาณรายบุคลากรและสวัสดิการ

ค.ภาระทางการเงินเพื่อชดเชยต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการ

ง.งบประมาณรายจ่ายกรณีฉุกเฉิน

ตอบ  ก.

อธิบายเพิ่มเติม  การตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(1) งบประมาณรายจ่ายลงทุน ต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของงบประมาณรายจ่ายประจำปี และต้องไม่น้อยกว่าวงเงินส่วนที่ขาดดุลของงบประมาณประจำปีนั้น

(2) งบประมาณรายจ่ายเกี่ยวกับบุคลากรของรัฐและสวัสดิการของบุคลากรของรัฐ ต้องตั้งไว้ อย่างพอเพียง

(3) งบประมาณรายจ่ายเพื่อการชําระหนี้ภาครัฐซึ่งเป็นหนี้สาธารณะที่กระทรวงการคลังกู้หรือ ค้ำประกัน ต้องตั้งเพื่อการชําระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการกู้เงินอย่างพอเพียง

(4) ภาระทางการเงินที่มีกฎหมายบัญญัติให้รัฐบาลต้องส่งเงินเข้าสมทบหรือชดเชยเพื่อการใด ๆ ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายให้ตามเวลาที่กฎหมายกำหนด

(5) ภาระทางการเงินเพื่อชดเชยต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการ รวมทั้งความเสียหายจาก การดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามมาตรา ๒๘ ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายให้ในโอกาสแรก ที่กระทำได้

(6) งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ให้ตั้ง ได้เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันหรือแก้ไขสถานการณ์อันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ความมั่นคงของรัฐ การเยียวยาหรือบรรเทาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะร้ายแรง และภารกิจที่เป็น ความจําเป็นเร่งด่วนของรัฐ

 

17.ให้มีการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายแก่หน่วยงานใด โดยต้องคำนึงถึงการดําเนินงาน รายได้ เงินนอกงบประมาณ และเงินอื่นใดที่หน่วยงานนั้น มีอยู่ด้วย

ก.ศาลรัฐธรรมนูญ

ข.องค์กรอัยการ

ค.ศาลปกครอง

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.

อธิบายเพิ่มเติม  ให้มีการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายแก่หน่วยงานของรัฐสภา ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรอัยการ ให้เพียงพอกับการปฏิบัติ หน้าที่โดยอิสระ โดยต้องคำนึงถึงการดําเนินงาน รายได้ เงินนอกงบประมาณ และเงินอื่นใดที่หน่วยงานนั้น มีอยู่ด้วย

18.รายได้ใดไม่ต้องนำส่งคลัง

ก.เงินบริจาค หรือมีผู้มอบให้

ข.ค่าภาษี

ค.ค่าธรรมเนียม

ง.ค่าตอบแทนการให้บริการ

ตอบ ก.

19.รายได้ตามข้อใด ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน

ก.เงินที่ได้รับในลักษณะค่าชดใช้ความเสียหายหรือสิ้นเปลืองแห่งทรัพย์สินและจำเป็นต้องจ่าย เพื่อบูรณะทรัพย์สินหรือจัดให้ได้ทรัพย์สินคืนมา

ข.เงินที่ได้รับในลักษณะผลพลอยได้จากการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่

ค.เงินที่ได้รับในลักษณะค่าชดใช้ความเสียหายหรือสิ้นเปลืองแห่งทรัพย์สินและจำเป็นต้องจ่าย เพื่อบูรณะทรัพย์สินหรือจัดให้ได้ทรัพย์สินคืนมา

ง.งเงินที่หน่วยงานของรัฐ จัดเก็บหรือได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม  เมื่อมีเหตุผลอันสมควร รัฐมนตรีจะอนุญาตให้หน่วยงานของรัฐตามวรรคหนึ่งที่ได้รับเงินในกรณี ต่อไปนี้ นําเงินนั้นไปใช้จ่ายโดยไม่ต้องนําส่งคลังก็ได้

(1) เงินที่ได้รับในลักษณะค่าชดใช้ความเสียหายหรือสิ้นเปลืองแห่งทรัพย์สินและจำเป็นต้องจ่าย เพื่อบูรณะทรัพย์สินหรือจัดให้ได้ทรัพย์สินคืนมา

(2) เงินรายรับของหน่วยงานของรัฐ ที่เป็นสถานพยาบาล สถานศึกษา หรือสถานอื่นใดที่ อํานวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ หรือประชาสงเคราะห์

(3) เงินที่ได้รับในลักษณะผลพลอยได้จากการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่

(4) เงินที่ได้รับจากการจําหน่ายหุ้นในนิติบุคคลเพื่อนําไปซื้อหุ้นในนิติบุคคลอื่น

20.การก่อหนี้ผูกพันและการใช้จ่ายเงินของหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่หรือการดําเนินงาน ต้องเป็นไปตามข้อใด

ก.อย่างโปร่งใส

ข.คุ้มค่าและประหยัด

ค.ประโยชน์ที่ได้รับ

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.

อธิบายเพิ่มเติม  การก่อหนี้ผูกพันและการใช้จ่ายเงินของหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่หรือการดําเนินงาน ต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส คุ้มค่าและประหยัด โดยพิจารณาเป้าหมาย ประโยชน์ที่ได้รับ ผลสัมฤทธิ์ และ ประสิทธิภาพของหน่วยงานของรัฐ และต้องเป็นไปตามรายการและวงเงินงบประมาณรายจ่ายของหน่วยงาน ของรัฐนั้นด้วย

21เงินที่ขอเบิกจากคลัง ถ้าไม่ได้จ่ายหรือจ่ายไม่หมดต้องดำเนินการตามข้อใด

ก.นําส่งคืนคลังทันที

ข.นําส่งคืนคลังโดยไม่ชักช้า

ค.นําส่งคืนคลังภายในสิบห้าวัน

ง.นําส่งคืนคลังภายในสามสิบวัน

ตอบ ข.

21.ให้หน่วยงายใดมีหน้าที่จัดทำบัญชีทรัพย์สินของแผ่นดินและรับผิดชอบดูแลรักษาและบริหารทรัพย์สิน

ก.กรมบัญชีกลาง

ข.กระทรวงมหาดไทย

ค.กระทรวงการคลัง

ง.หน่วยงานรัฐ

ตอบ  ค.

อธิบายเพิ่มเติม  ทรัพย์สินของแผ่นดินและทรัพย์สินที่ตกเป็นของแผ่นดิน ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้กระทรวงการคลังมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดูแลรักษาและบริหารทรัพย์สินนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมาย กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นและให้กระทรวงการคลังมีหน้าที่จัดทำบัญชีทรัพย์สินของแผ่นดินตามประเภทและลักษณะแห่งทรัพย์สินนั้น

22.ต้องดำเนินการด้วยความสุจริต คุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล และตรวจสอบได้ หมายถึงข้อใด

ก.การเบิกจ่ายเพื่อการดําเนินงานของ หน่วยงานของรัฐ

ข.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ

ค.การจัดจ้างพนักงานของหน่วยงานรัฐ

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ  ข.

อธิบายเพิ่มเติม  มาตรา 48 การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ หรือตามกฎระเบียบ ของหน่วยงานของรัฐโดยเคร่งครัด โดยต้องดำเนินการด้วยความสุจริต คุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล และตรวจสอบได้

23.ข้อใด หมายถึง “สัดส่วนการบริหารหนี้สาธารณะ”

ก.สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

ข.สัดส่วนภาระหนี้ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ

ค.สัดส่วนหนี้สาธารณะเพื่อประชาชน

ง.ถูกทั้ง ข้อ ก. และ ข้อ ข.

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม  มาตรา 50. ให้คณะกรรมการประกาศกำหนดสัดส่วนดังต่อไปนี้เพื่อใช้เป็นกรอบใน การบริหารหนี้สาธารณะ (1) สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

(2) สัดส่วนภาระหนี้ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ

(3) สัดส่วนหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อหนี้สาธารณะทั้งหมด

(4) สัดส่วนภาระหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ

(5) สัดส่วนอื่น ๆ ที่คณะกรรมการเห็นสมควร

24.จากข้อ 23 ต้นเงินกู้ ดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายในการกู้เงินของรัฐบาล และหนี้เงินกู้ของหน่วยงานของรัฐซึ่งรัฐบาลรับภาระที่ต้องชําระในแต่ละปีงบประมาณ หมายถึงสัดส่วนการบริหารหนี้สาธารณะตามข้อใด

ก.สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

ข.สัดส่วนภาระหนี้ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ

ค.สัดส่วนหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อหนี้สาธารณะทั้งหมด

ง.สัดส่วนภาระหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ

ตอบ ข.

25.ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำรายงานการกู้เงินประจำปี งบประมาณและสถานะหนี้เงินกู้คงค้างเสนอต่อกระทรวงการคลังภายในกี่วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ

ก.ภายในสามสิบวัน

ข.ภายในสี่สิบห้าวัน

ค.ภายในหกสิบวัน

ง.ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน

ตอบ ก.

26.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “เงินนอกงบประมาณและทุนหมุนเวียน”

ก.เงินนอกงบประมาณให้มีเท่าที่จําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ หรือ การดําเนินงานตามวัตถุประสงค์ของการมีเงินนอกงบประมาณนั้น

ข.เงินนอกงบประมาณของหน่วยงานของรัฐ ให้นํามาฝากไว้ที่กระทรวงการคลัง เว้นแต่จะมีกฎหมาย กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นหรือได้ทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเป็นอย่างอื่น

ค.เงินนอกงบประมาณนั้นเมื่อได้ใช้จ่ายในการปฏิบัติ หน้าที่หรือการดําเนินงานตามวัตถุประสงค์จนบรรลุวัตถุประสงค์แห่งการนั้นแล้ว มีเงินคงเหลือให้นําส่งคลังโดยมิชักช้า

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.

อธิบายเพิ่มเติม  มาตรา 61 เงินนอกงบประมาณให้มีเท่าที่จําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ หรือ การดําเนินงานตามวัตถุประสงค์ของการมีเงินนอกงบประมาณนั้น ทั้งนี้ ให้นําความใน มาตรา 37 วรรคสอง มาใช้บังคับกับการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณด้วยโดยอนุโลม เงินนอกงบประมาณของหน่วยงานของรัฐ ให้นํามาฝากไว้ที่กระทรวงการคลัง เว้นแต่จะมีกฎหมาย กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นหรือได้ทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเป็นอย่างอื่น เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เงินนอกงบประมาณนั้นเมื่อได้ใช้จ่ายในการปฏิบัติ หน้าที่หรือการดําเนินงานตามวัตถุประสงค์จนบรรลุวัตถุประสงค์แห่งการนั้นแล้ว มีเงินคงเหลือให้นําส่งคลังโดยมิชักช้า ทั้งนี้ การนําเงินส่งคลังให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรี

 มาตรา 62ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณหรือมีเงินนอกงบประมาณมากเกินสมควร ให้กระทรวงการคลัง เรียกให้หน่วยงานของรัฐนําเงินดังกล่าวส่งคลัง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

 มาตรา 63การจัดตั้งทุนหมุนเวียนให้กระทำได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเท่านั้น โดยต้องมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งที่ชัดเจนและเป็นกรณีที่เป็นกิจกรรมที่หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติ ตามหน้าที่เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม และเหมาะสมที่จะอนุญาตให้นํา รายรับจากการดำเนินกิจกรรมนั้นสมทบทุนไว้ใช้จ่ายได้ รวมถึงไม่ซ้ำซ้อนกับทุนหมุนเวียนที่จัดตั้งไว้แล้ว การขอจัดตั้ง การบริหาร การประเมินผล การรวมหรือยุบเลิกทุนหมุนเวียน ให้เป็นไป ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารทุนหมุนเวียน เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

27.การจัดทำงบประมาณ การใช้จ่าย การก่อหนี้ผูกพัน และการบริหารทรัพย์สิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ โดยต้องพิจารณาตามข้อใด

ก.าผลสัมฤทธิ์ ความคุ้มค่า

ข.ความประหยัด

ค.ภาระทางการคลังที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.

อธิบายเพิ่มเติม  มาตรา65 การจัดทำงบประมาณ การใช้จ่าย การก่อหนี้ผูกพัน และการบริหารทรัพย์สิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ โดยต้องพิจารณาผลสัมฤทธิ์ ความคุ้มค่า ความประหยัด และภาระทางการคลังที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย

28.การกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นการกู้เงินจากต่างประเทศหรือกู้เป็นเงินตรา ต่างประเทศ ต้องได้รับความเห็นชอบจากใครก่อน

ก.รัฐมนตรี

ข.คณะรัฐมนตรี

ค.คณะกรรมการรัฐมนตรี

ง.ถูกทั้ง ข้อ ก. และ ข้อ ข.

ตอบ  ง.

29.ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำรายงานการเงินประจำปีงบประมาณซึ่งอย่างน้อย ต้องประกอบงบอะไรบ้าง

ก.งบแสดงฐานะการเงิน

ข.งบแสดงผลการดําเนินงานทางการเงินทั้งเงินงบประมาณ เงินนอก

ค.งการก่อหนี้

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม  มาตรา 70ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำรายงานการเงินประจำปีงบประมาณซึ่งอย่างน้อย ต้องประกอบด้วย

งบแสดงฐานะการเงินและงบแสดงผลการดําเนินงานทางการเงินทั้งเงินงบประมาณ เงินนอก งบประมาณ และเงินอื่นใด รวมถึงการก่อหนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด

30.ให้หน่วยงานของรัฐนําส่งรายงาน งบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดําเนินงานทางการเงินทั้งเงินงบประมาณ เงินนอก รวมถึงการก่อหนี้ ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเพื่อตรวจสอบ และนําส่ง กระทรวงการคลังภายในกี่วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ

ก.ภายในเก้าสิบ

ข.ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน

ค.ภายในหนึ่งร้อยหกสิบวัน

ง.ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน

ตอบ ก.

31.ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้สอบบัญชีที่สำนักงานการตรวจ เงินแผ่นดินเห็นชอบตรวจสอบรายงานการเงินที่หน่วยงานของรัฐส่งให้ตามข้อ 30  ภายในกี่วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณหรือตามที่ได้ตกลงกับกระทรวงการคลัง

ก.ภายในเก้าสิบวัน

ข.ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน

ค.ภายในหนึ่งร้อยหกสิบวัน

ง.ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน

ตอบ ง.

32.ให้หน่วยงานของรัฐนําส่งรายงานการเงินประจำปีพร้อมกับรายงานผล การตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และกระทรวง เจ้าสังกัด เว้นแต่กรณีหน่วยงานของรัฐที่เป็นหน่วยงานของรัฐสภา ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรอัยการ ให้นําส่งให้คณะรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ และเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ รวมทั้งเผยแพร่ผ่านทาง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ภายในกี่ววันนับแต่วันที่ได้รับรายงานผลการตรวจสอบจากสำนักงาน การตรวจเงินแผ่นดิน

ก.ภายในเจ็ดวัน

ข.ภายในสิบห้าวัน

ค.ภายในสามสิบวัน

ง.ภายในสี่สิบห้าวัน

ตอบ ค.

33.ให้กระทรวงการคลังจัดทำรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปี งบประมาณที่สิ้นสุด เสนอต่อรัฐมนตรีกี่วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณนั้น

ก.ภายในเจ็ดวัน

ข.ภายในสิบห้าวัน

ค.ภายในสามสิบวัน

ง.ภายในสี่สิบห้าวัน

ตอบ ง.

34.ให้รัฐมนตรีเสนอรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปี ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อรัฐสภากี่วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ

ก.ภายในเก้าสิบวัน

ข.ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน

ค.ภายในหนึ่งร้อยหกสิบวัน

ง.ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน

ตอบ ก.

35.ให้กระทรวงการคลังจัดทำรายงานการเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณ ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยงบใดบ้าง

ก.งบแสดงฐานะการเงิน

ข.งบแสดง การเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ

ค.งบกระแสเงินสด

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

36.จากข้อ 35 ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบกี่วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ

ก.ภายในเก้าสิบวัน

ข.ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน

ค.ภายในหนึ่งร้อยหกสิบวัน

ง.ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน

ตอบ  ก.

อธิบายเพิ่มเติม  มาตรา 75ให้กระทรวงการคลังจัดทำรายงานการเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณ ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดําเนินงานทางการเงิน งบแสดง การเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ งบกระแสเงินสด และรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณ และจัดส่ง ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ

37.ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจัดทำรายงานผลการตรวจสอบรายงานการเงินแผ่นดินประจำปี งบประมาณตามมาตรฐานการรายงานผลการตรวจสอบที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกําหนดให้แล้วเสร็จ ภายในกี่วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ

ก.ภายในเก้าสิบวัน

ข.ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน

ค.ภายในหนึ่งร้อยหกสิบวัน

ง.ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน

ตอบ ง.

38.ให้กระทรวงการคลังเสนอรายงานการเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณตามวรรคหนึ่ง พร้อมด้วย รายงานผลการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตามวรรคสอง ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอรัฐสภากี่วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ

ก.ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน

ข.ภายในหนึ่งร้อยหกสิบวัน

ค.ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน

ง.ภายในสองร้อยสิบวัน

ตอบ ง.

39.ให้กระทรวงการคลังจัดทำรายงานสถานะหนี้สาธารณะ หนี้ภาครัฐ และ ความเสี่ยงทางการคลัง ในวันสิ้นปีงบประมาณ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการเพื่อทราบภายในกี่วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ

ก.ภายในสี่สิบห้าวัน

ข.ภายในหกสิบวัน

ค.ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน

ง.ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน

ตอบ ข.

40.ให้กระทรวงการคลังจัดทำรายงานความเสี่ยง ทางการคลังประจำปี ซึ่งอย่างน้อยต้องแสดงผลการประเมินความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากผลกระทบของ เศรษฐกิจมหาภาค ระบบการเงิน นโยบายของรัฐบาล และผลการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐ ที่อาจ ก่อให้เกิดภาระทางการคลังของรัฐบาล และแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงนั้นภายในเดือนใดของทุกปี

ก.ภายในเดือนมกราคมของทุกปี

ข.ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

ค.ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี

ง.ภายในเดือนเมษายนของทุกปี

ตอบ ค.

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน
บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์