ความหมายของ และประโยชน์ของ หลักการ 3 Mu - Muda, Mura, Muri

ความหมายของ และประโยชน์ของ หลักการ 3 Mu - Muda, Mura, Muri

 

หลักการ 3 Mu - Muda, Mura, Muri

คือ แนวคิดในการบริหารจัดการกับหน่วยงานการผลิต เพื่อจัดการกับความสูญเปล่า และพัฒนาการผลิตให้มีผลกำไรสูงสุด และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

 

 

โดยหลักการ 3 Mu - Muda, Mura, Muri ได้ทำการปรับปรุงพัฒนามาจากระบบการผลิตของ บริษัท TOYOTA หรือ ที่เรารู้จักในนาม ระบบ Toyota Production System หรือ TPS และต่อมาก็ถูกพัฒนามาเป็น ระบบ Lean ในปัจจุบันนี้ นั้นเองครับผม

 

 

Muda, Mura, Muri ในภาษาญี่ปุ่น คือ

無駄 (Muda) คือ Waste หรือ สิ่งที่ไม่จำเป็น หรือ ความสูญเปล่า นั้นเอง

(Mura) คือ Unevenness หรือ การทำงานในสภาวะที่ไม่เหมือนกัน หรือ ความไม่สม่ำเสมอ

無理 (Muri) คือ Overburden หรือ การทำงานที่เกินขีดความสามารถ หรือ การฝืนทำงานที่เกินกำลังของตัวเอง

 

 

無駄 (Muda) คือ Waste หรือ สิ่งที่ไม่จำเป็น หรือ ความสูญเปล่า

คือ สิ่งที่ไม่จำเป็นในระบบการผลิต เช่น การรอคอย, การเคลื่อนที่เกินความจำเป็น, หรือ การผลิตของเสีย เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ ระบบการผลิตนั้น มีประสิทธิภาพลดลง ขาดกำไร มีต้นทุนที่สูงมากขึ้น เป็นต้น  

 

 

โดยที่ 無駄 (Muda) คือ Waste หรือ สิ่งที่ไม่จำเป็น หรือ ความสูญเปล่า นั้น สามารถแบ่งออกเป็นหลักๆ ได้ 8 หัวข้อ คือ

 

1. Defect (D) - การผลิตของเสีย

2. Overproduction (O) – การผลิตที่จำนวนมากเกินไป มากกว่าความจำเป็น

3. Waiting (W) - การรอคอย การหยุด หรือการรอคอยกระบวนการผลิตก่อนหน้า

4. Non-Utilized Talent (N) – การไม่สามารถนำศักยาภาพของคนออกมาใช้ได้

5. Transportation (T) - การสูญเสียเวลาในการเคลื่อนย้ายที่ไม่จำเป็น

6. Inventory (I) – การผลิตสินค้าทำ stock มากจนเกินไป

7. Motion (M) – การเคลื่อนไหวของ คน เครื่องจักร และอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นในการทำงาน

8. Excess Processing (E) – ขั้นตอนการทำงานที่ไม่ถูกต้อง ซับซ้อนเกินไป

 

 

 

無駄 (Muda) หรือ Waste ทั้งหมดนี้ จะเรียกว่า “ความสูญเปล่า 8 ประการ” หรือ “8 Wastes” หรือจะจำง่ายๆ ว่า “DOWNTIME” ก็ได้เช่นกันนะครับ

 

 

(Mura) คือ Unevenness หรือ การทำงานในสภาวะที่ไม่เหมือนกัน หรือ ความไม่สม่ำเสมอ

คือ การทำงานที่ไม่เหมือนกัน หรือ การไม่มีความสม่ำเสมอในการทำงาน หรือที่เราเรียกง่ายๆ ว่า ไม่สามารถรักษามาตรฐานการทำงานเอาไว้ได้ นั้นเองครับผม ซึ่งสามารถ แบ่งออกได้เป็น หลักๆ ดังนี้

 

 

1. พนักงานทำงานได้ไม่มีความสม่ำเสมอ คือ พนักงานเกิดความเหมื่อยล้าในการทำงานขึ้น ทำให้การทำงานของพนักงาน เกิดความไม่สม่ำเสมอ ขึ้นมาได้ เป็นต้น

 

 

2. ขั้นตอนในการทำงานที่ไม่มีความสม่ำเสมอ คือ ไม่สามารถรักษามาตรฐานของ วิธีการ หรือ ขั้นตอนในการทำงาน ให้มีความสม่ำเสมอได้

 

 

3. ปริมาณในการผลิตงานไม่มีความสม่ำเสมอ คือ การผลิตงานออกมาในแต่ละวันไม่มีความสม่ำเสมอ บ้างวันน้อย บางวันมาก เป็นต้น

 

 

 

無理 (Muri) คือ Overburden หรือ การทำงานที่เกินขีดความสามารถ หรือ การฝืนทำงานที่เกินกำลังของตัวเอง

คือ การกระทำงานสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่เกินกว่าขีดความสามารถของตนเอง หรือฝืนปฏิบัติงานในสิ่งที่ตนเองไม่มีความสามารถ หรือความรู้ และประสบการณ์ นั้นเองครับผม

 

ซึ่งการกระทำเหล่านี้ อาจจะส่งผลทำให้เกิดความเสียหายทั้งเล็กน้อย หรือ รุนแรง ตามมาก็เป็นได้ นะครับผม

 

 

นี้ก็เป็น เพียงความหมายบางส่วนของ - ความหมายของ และประโยชน์ของ หลักการ 3 Mu - Muda, Mura, Muri หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ หลายๆ ท่านนะครับ

 

หากเพื่อนๆ ต้องการที่จะทราบรายละเอียดเพิ่มเติมมากขึ้น หรือ ความรู้อื่นๆด้านวิศวกรรมศาสตร์ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติม และกดติดตามได้ใน Link นี้ได้เลยนะครับ => Engineering Knowledge Learning Center by WAND Intelligence

 

By WAND Intelligence / 2021.10.12

 

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน

Engineering Knowledge Learning Center [EKLC]

บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์