แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (45 ข้อ)

พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (45 ข้อ)

ข้อ 1. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มีผลใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด
1. วันที่ 11 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป
2. วันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป
3. วันที่ 13 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป
4. วันที่ 14 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป
ตอบ  2. วันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป

ข้อ 2. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 ไม่ได้ยกเลิกกฎหมายฉบับใด
1. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502
2. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2511
3. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2544
4. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 203 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2515 
ตอบ 3. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2544

ข้อ 3. ข้อใดไม่ถูกต้อง
1. นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
2. นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีหน้าที่ควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้
ตอบ 1. นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561


ข้อ 4. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 บัญญัติให้การบริหารงบประมาณรายจ่าย ต้องสอดคล้องตามกฎหมายใด

1. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502
2. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
3. พระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491
4. พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
ตอบ 4. พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561


ข้อ 5. กรณีประมาณการรายรับประเภทรายได้ตามที่มีกฎหมายให้อำนาจจัดเก็บเป็นจำนวนต่ำกว่างบประมาณรายจ่ายทั้งสิ้น ต้องดำเนินการอย่างไรจึงจะถูกต้อง
1. แถลงวิธีหาเงินส่วนที่เกินดุลต่อรัฐสภา
2. แถลงวิธีจัดการส่วนที่ขาดดุลต่อรัฐสภา
3. แถลงวิธีหาเงินส่วนที่ขาดดุล
4. แถลงวิธีจัดการส่วนที่เกินดุล
ตอบ 3. แถลงวิธีหาเงินส่วนที่ขาดดุล


ข้อ 6. ข้อใดมิใช่การจำแนกประเภทงบประมาณรายจ่าย
1. งบประมาณรายจ่ายงบกลาง
2. งบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย
3. งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
4. งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ
ตอบ 3. งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม

ข้อ 7. จำนวนเงินอย่างสูงที่อนุญาตให้จ่ายหรือให้ก่อหนี้ผูกพันได้ตามวัตถุประสงค์และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย เป็นความหมายของข้อใด
1. งบประมาณรายจ่าย
2. งบประมาณรายจ่ายข้ามปี
3. งบประมาณเหลื่อมปี
4. งบประมาณจัดสรร
ตอบ 1. งบประมาณรายจ่าย

ข้อ 8. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ
1. แผนงานบูรณาการได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
2. ใช้สำหรับกลุ่มจังหวัดเพื่อบูรณาการตามนโยบายรัฐบาล
3. มีหน่วยรับงบประมาณตั้งแต่ 2 หน่วยงานขึ้นไปร่วมกันรับผิดชอบ
4. งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับแผนงานบูรณาการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
ตอบ 2. ใช้สำหรับกลุ่มจังหวัดเพื่อบูรณาการตามนโยบายรัฐบาล


ข้อ 9. ผู้อำนวยการตามบทนิยามศัพท์แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 หมายถึงใคร
1. ผู้อำนวยการสำนักบูรณาการและยุทธศาสตร์ชาติ
2. ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
4. ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ตอบ 3. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ


ข้อ 10. กรณีตามข้อใดไม่สามารถดำเนินการโอนงบประมาณรายจ่ายได้
1. ตราพระราชกฤษฎีกาโอนส่วนราชการเข้าด้วยกัน
2. โอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการภายใต้แผนงานบูรณาการเดียวกัน
3. โอนงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
4. โอนงบประมาณรายจ่ายบุคคลกรภายใต้แผนงานบุคลากรภาครัฐ
ตอบ 3. โอนงบประมาณรายจ่ายงบกลาง


ข้อ 11. งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้เพื่อจัดสรรให้แก่หน่วยรับงบประมาณใช้จ่าย โดยแยกต่างหากจากงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ และให้มีรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นด้วย คือความหมายในข้อใด
1. งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ
2. งบประมาณรายจ่ายข้ามปี
3. งบประมาณรายจ่ายงบกลาง
4. งบประมาณรายจ่ายบุคลากร
ตอบ  3. งบประมาณรายจ่ายงบกลาง

 


ข้อ 12. ข้อใดมิใช่ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ กรณีจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 หรือระเบียบที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ 
1. ความรับผิดทางอาญา
2. ความรับผิดทางวินัย
3. ต้องชดใช้เงินคืนหน่วยงาน
4. ถูกขึ้นบัญชีแบล็คลิส
ตอบ 4. ถูกขึ้นบัญชีแบล็คลิส

ข้อ 13. เงินทุนสำรองจ่าย มีจำนวนเท่าใด
1. ห้าสิบล้านบาท
2. ห้าร้อยล้านบาท
3. ห้าพันล้านบาท
4. ห้าหมื่นล้านบาท
ตอบ 4. ห้าหมื่นล้านบาท


ข้อ 14. จากตัวเลือกในข้อ 13. เมื่อได้จ่ายไปแล้ว จะต้องดำเนินการอย่างไร
1. ขออนุมัติคณะรัฐมนตรี
2. ตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้ 
3. แถลงวิธีจัดการเงิน
4. นำไปชดใช้คืนงนงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
ตอบ 2. ตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้ 


ข้อ 15. การรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีที่สิ้นสุดและเงินทุนสำรองจ่าย จะต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในระยะเวลาใดนับแต่สิ้นปีงบประมาณ
1. 30 วัน
2. 60 วัน
3. 90 วัน
4. 120 วัน
ตอบ 2. 60 วัน

ข้อ 16. หน่วยงานของรัฐที่ขอรับหรือได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่าย และให้หมายความรวมถึง สภากาชาดไทยด้วย คือความหมายของคำใด
1. ส่วนราชการ
2. รัฐวิสาหกิจ
3. หน่วยงานของรัฐ
4. หน่วยรับงบประมาณ
ตอบ 4. หน่วยรับงบประมาณ


ข้อ 17. การขยายเวลาขอเบิกเงินจากคลังในกรณีที่ไม่สามารถเบิกเงินจากคลังได้ภายในปีงบประมาณ สามารถดำเนินการได้ต่อเมื่อ
1. ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ และมีการกันเงินไว้ตามระเบียบ
2. ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ และไม่ได้กันเงินไว้ตามระเบียบ
3. ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ และมีเงินเหลือจ่ายเพียงพอ
4. ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ และมีความจำเป็นเร่งด่วน
ตอบ 1. ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ และมีการกันเงินไว้ตามระเบียบ

ข้อ 18. จากข้อ 17. เมื่อได้ขยายเวลาขอเบิกเงินจากคลังแล้ว ให้ขยายออกไปได้อีกเท่าไรเมื่อมีความจำเป็น
1. ไม่เกิน 3 เดือน ของปีงบประมาณถัดไป
2. ไม่เกิน 6 เดือน ของปีงบประมาณถัดไป
3. ไม่เกิน 9 เดือน ของปีงบประมาณถัดไป
4. ให้กระทรวงการคลังเป็นผู้วินิจฉัย
ตอบ 2. ไม่เกิน 6 เดือน ของปีงบประมาณถัดไป

 

ข้อ 19. จากคำตอบในข้อ 18. หากมีความจำเป็นต้องขอเบิกเงินจากคลังภายหลังเวลาดังกล่าว ต้องดำเนินการอย่างไร
1. ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง เพื่อขอขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 6 เดือน
2. ขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณและกระทรวงการคลัง เพื่อขอขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 3 เดือน
3. ขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณและกระทรวงการคลัง เพื่อขอขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 6 เดือน
4. ขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลังและคณะรัฐมนตรี เพื่อขอขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 6 เดือน
ตอบ 1. ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง เพื่อขอขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 6 เดือน


ข้อ 20. บทบัญญัติในส่วนการรายงานแห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 จัดอยู่ในหมวดใด
1. หมวดการควบคุมงบประมาณ
2. หมวดการบริหารงบประมาณรายจ่าย
3. หมวดการประเมินผลและการรายงาน
4. หมวดการรายงานติดตามผล
ตอบ 3. หมวดการประเมินผลและการรายงาน

ข้อ 21. คำชี้แจงเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้ง พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 กำหนดให้ทำคำชี้แจงในเรื่องใดเพิ่มเติม
1. แสดงผลสัมฤทธิ์ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
2. ประมาณการรายรับ
3. ความสัมพันธ์ระหว่างรายรับ และงบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้ง
4. สถานะเงินนอกงบประมาณและแผนการใช้จ่าย
ตอบ 1. แสดงผลสัมฤทธิ์ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ


ข้อ 22. การเสนองบประมาณประจำปีต่อรัฐสภา ต้องดำเนินการก่อนวันเริ่มปีงบประมาณอย่างน้อยกี่วัน
1. 2 เดือน
2. 3 เดือน
3. 4 เดือน
4. 5 เดือน
ตอบ 2. 3 เดือน

 

ข้อ 23. หากหน่วยรับงบประมาณจะต้องมีการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณมากกว่า 1 ปีงบประมาณซึ่งมีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาท ขึ้นไป จะต้องดำเนินการอย่างไรจึงจะเป็นไปตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
1. รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเสนอผู้อำนวยการสำนักงบประมาณตั้งงบประมาณ
2. รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเสนอผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ
3. หน่วยรับงบประมาณเสนอผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ
4. หน่วยรับงบประมาณเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติก่อนยื่นคำขอตั้งงบประมาณต่อผู้อำนวยการสำนักงานประมาณ
ตอบ 4. หน่วยรับงบประมาณเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติก่อนยื่นคำขอตั้งงบประมาณต่อผู้อำนวยการสำนักงานประมาณ


ข้อ 24. หน่วยงานหลักในการจัดทำงบประมาณประจำปี คือหน่วยงานใด

1. หน่วยงานของรัฐที่เสนอตั้งงบประมาณ
2. กระทรวงการคลัง
3. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
4. สำนักงานงบประมาณ
ตอบ 4. สำนักงานงบประมาณ


ข้อ 25. ปีงบประมาณ 2563 มีระยะเวลาตามตัวเลือกในข้อใด
1. 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
2. 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
3. 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2564
4. 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2562
ตอบ  2. 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
ข้อ 26. พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณมอบหมาย ถือเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายใด
1. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
2. ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
3. ประมวลกฎหมายอาญา
4. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ตอบ 3. ประมวลกฎหมายอาญา


ข้อ 27. พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ 26. มีหน้าที่และอำนาจดำเนินการต่างๆ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 ยกเว้นข้อใด
1. เข้าตรวจสรรพสมุดของหน่วยรับงบประมาณ
2. เรียกให้หน่วยรับงบประมาณชี้แจงข้อเท็จจริง
3. ตรวจเอกสารหลักฐานของหน่วยรับงบประมาณ
4. ตรวจบัญชีของหน่วยรับงบประมาณ
ตอบ 2. เรียกให้หน่วยรับงบประมาณชี้แจงข้อเท็จจริง

 
ข้อ 28. รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือกำกับควบคุมหน่วยรับงบประมาณ มีหน้าที่รับผิดชอบในการยื่นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณต่อใคร
1. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
2. สำนักงบประมาณ
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
4. คณะรัฐมนตรี
ตอบ 1. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ


ข้อ 29. การให้ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลางก่อน จะกระทำได้ในกรณีใด
1. คณะรัฐมนตรีบริหารการงบประมาณผิดพลาด
2. รัฐสภาไม่รับกฎหมายไว้พิจารณา
3. มีความจำเป็นในสถานการณ์ฉุกเฉิน
4. พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีออกใช้ไม่ทันปีงบประมาณใหม่
ตอบ 4. พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีออกใช้ไม่ทันปีงบประมาณใหม่


ข้อ 30. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลางก่อน
1. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกำหนด โดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
2. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกำหนด โดยได้รับอนุมัติจากนายกรัฐมนตรี
3. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกำหนด โดยได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลัง
4. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกำหนด 
ตอบ 2. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกำหนด โดยได้รับอนุมัติจากนายกรัฐมนตรี


ข้อ 31. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำงบประมาณรายจ่ายข้ามปี
1. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกำหนด โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
2. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกำหนด โดยได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรี
3.ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกำหนด โดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
4.ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกำหนด 
ตอบ 1. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกำหนด โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี


ข้อ 32. การกำหนดกรอบประมาณการรายจ่าย ประมาณการรายรับ และฐานะการคลังของรัฐบาล ต้องทำล่วงหน้าเป็นระยะเวลาเท่าใด
1. ไม่น้อยกว่า 1 ปี
2. ไม่น้อยกว่า 3 ปี
3. ไม่น้อยกว่า 5 ปี
4. ไม่น้อยกว่า 7 ปี
ตอบ 2. ไม่น้อยกว่า 3 ปี


ข้อ 33. กรณีกลุ่มจังหวัด ผู้ใดมีหน้าที่รวบรวมคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายยื่นต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อเสนอผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
1. รองผู้ว่าราชการจังหวัด
2. ผู้ว่าราชการจังหวัด
3. ผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นหัวหน้ากลุ่มจังหวัด
4. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ตอบ 3. ผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นหัวหน้ากลุ่มจังหวัด


ข้อ 34. การขอตั้งงบประมาณรายจ่ายของศาลยุติธรรม จะต้องยื่นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายต่อใคร
1. นายกรัฐมนตรี
2. คณะรัฐมนตรี
3. สภาผู้แทนราษฎร
4. รัฐสภา
ตอบ 2. คณะรัฐมนตรี


ข้อ 35. ระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประกอบด้วยระบบใดบ้าง
1. ติดตามและประเมินผลประจำปี
2. ติดตามและประเมินผลแผนงานยุทธศาสตร์ชาติ
3. ติดตามและประเมินผลก่อนจัดสรรงบประมาณ และหลังการใช้จ่ายงบประมาณ
4. ติดตามและประเมินผลก่อนจัดสรรงบประมาณ ระหว่างและหลังการใช้จ่ายงบประมาณ
ตอบ 4. ติดตามและประเมินผลก่อนจัดสรรงบประมาณ ระหว่างและหลังการใช้จ่ายงบประมาณ


ข้อ 36. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 กำหนดว่าภายใน 5 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีการปรับปรุงหรือแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องใด
1. บทนิยามคำว่า "รัฐวิสาหกิจ"
2. ทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย
3. ปรับปรุงยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ
4. ปรับปรุงขั้นตอนการยื่นคำขอตั้งงบประมาณ
ตอบ 1. บทนิยามคำว่า "รัฐวิสาหกิจ"


ข้อ 37. การโอนหรือนำงบประมาณรายจ่ายไปใช้ในแผนงานหรือรายการอื่นจะกระทำมิได้ เว้นแต่ได้รับอนุมัติจากใคร
1. คณะรัฐมนตรี
2. นายกรัฐมนตรี
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
4. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
ตอบ 4. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ

ข้อ 38. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะยื่นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายต่อใคร
1. ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
3. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ตอบ 4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย


ข้อ 39. ข้อผูกพันที่จะต้องจ่ายเป็นสิ่งของอันเกิดจากการจ้างโดยใช้เครดิต อยู่ในข่ายตามความหมายในข้อใด
1. หนี้
2. เงินจัดสรร
3. เงินชดใช้
4. เงินคงคลัง
ตอบ 1. หนี้


ข้อ 40. บุคคลใดไม่อยู่ในข่ายต้องรับผิดชดใช้เงินคืนหน่วยรับงบประมาณที่ได้จ่ายไปโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
1. นาย ก. เจตนาก่อหนี้ผูกพันโดยฝ่าฝืนระเบียบที่ออกตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
2. นาย ข. ยินยอมให้นาย ก. กระทำการตามตัวเลือกในข้อ 1.
3. นาย ค. ทักท้วงคำสั่งของนาย ก. และนาย ข. ในการกระทำตามตัวเลือกในข้อ 1. 
4. นาย ง. ผู้รับจ้างซึ่งได้รับประโยชน์ตามสัญญาผูกพันดังกล่าวทราบการกระทำตามตัวเลือกในข้อ 1. 
ตอบ 3. นาย ค. ทักท้วงคำสั่งของนาย ก. และนาย ข. ในการกระทำตามตัวเลือกในข้อ 1. 

ข้อ 41. ผู้รับสนองพระราชโองการพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 คือผู้ใด
1. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
2. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
3. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และนายกรัฐมนตรี
4. นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ตอบ 2. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี


ข้อ 42. กระทรวงการคลังมีหน้าที่นำเงินทุนสำรองจ่ายตามมาตรา 29 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโอยพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2503 ส่งคลังให้แล้วเสร็จภายในกี่วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 ใช้บังคับ
1. 30 วัน
2. 45 วัน
3. 60 วัน
4. 90 วัน
ตอบ 1. 30 วัน

ข้อ 43. การจัดสรรงบประมาณอุดหนุดสำหรับการดำเนินการทั่วไปขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องคำนึงถึงเรื่องใด
1. สอดคล้องกับนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. สอดคล้องกับนโยบายการเลือกตั้งท้องถิ่น
3. สอดคล้องตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4. สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ
ตอบ 3. สอดคล้องตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ข้อ 44. หน่วยรับงบประมาณต้องรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณ และผลการปฏิบัติงานต่อผู้อำนวยการสำนักงบประมาณอย่างไร
1. ภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ เพื่อผู้อำนวยการสำนักงบประมาณจัดทำรายงานเสนอคณะรัฐมนตรีภายใน 60 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ
2. ภายใน 45 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ เพื่อผู้อำนวยการสำนักงบประมาณจัดทำรายงานเสนอคณะรัฐมนตรีภายใน 90 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ
3. ภายใน 60 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ เพื่อผู้อำนวยการสำนักงบประมาณจัดทำรายงานเสนอคณะรัฐมนตรีภายใน 90 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ
4. ภายใน 60 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ เพื่อผู้อำนวยการสำนักงบประมาณจัดทำรายงานเสนอคณะรัฐมนตรีภายใน 120 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ
ตอบ 2. ภายใน 45 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ เพื่อผู้อำนวยการสำนักงบประมาณจัดทำรายงานเสนอคณะรัฐมนตรีภายใน 90 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ


ข้อ 45. ขั้นตอนใดถูกต้องในการเสนองบประมาณประจำปี
1. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอรัฐสภา
2. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอรัฐสภา
3. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อคณะรัฐมนตรีเสนอรัฐสภา
4. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอรัฐสภา
ตอบ 3. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อคณะรัฐมนตรีเสนอรัฐสภา


ข้อ 46. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณต้องดำเนินการในข้อใด หากการประเมินผลสัมฤทธิ์การใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณไม่ได้ตามเป้าหมายหรือตัวชี้วัดที่กำหนด
1. เสนอแนะการปรับปรุงแก้ไข
2. เสนอแนะการปรับปรุงแก้ไข และรายงานรัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบ
3. เสนอแนะการปรับปรุงแก้ไข รายงานรัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบ และพิจารณาตัดงบประมาณในปีงบประมาณถัดไป
4. รายงานรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อสั่งการตามที่เห็นสมควร
ตอบ 2. เสนอแนะการปรับปรุงแก้ไข และรายงานรัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบ

ข้อ 47. ข้อใดคือวัตถุประสงค์ในการกำหนดยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี
1. เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณใช้เป็นแนวทางในการจัดทำคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี
2. เพื่อเป็นกรอบประมาณการรายจ่าย
3. เพื่อกำหนดระยะเวลาของเงินจัดสรร
4. เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณ
ตอบ 1. เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณใช้เป็นแนวทางในการจัดทำคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี


ข้อ 48. เมื่อกำหนดนโยบายงบประมาณประจำปี ประมาณการรายได้ วงเงินงบประมาณรายจ่าย และวิธีการชดเชยการขาดดุลหรือการจัดการกรณีประมาณการรายได้สูงกว่าวงเงินงบประมาณเสร็จแล้ว ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณต้องเสนอขอความเห็นชอบต่อใคร
1. นายกรัฐมนตรี
2. คณะรัฐมนตรี
3. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
4. กระทรวงการคลัง
ตอบ 2. คณะรัฐมนตรี

ข้อ 49. กรณีที่คาดว่าจะใช้งบประมาณรายจ่ายให้เสร็จทันภายในปีงบประมาณไม่ได้ ต้องดำเนินการในข้อใด
1. จัดทำงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
2. จัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
3. จัดทำงบประมาณรายจ่ายข้ามปี
4. จัดทำงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ
ตอบ 3. จัดทำงบประมาณรายจ่ายข้ามปี


ข้อ 50. การเปรียบเทียบรายรับรายจ่ายเพื่อประกอบการเสนอของบประมาณจะต้องพิจารณาในข้อใด 
1. ขาดดุล-สมดุล-เกินดุล
2. ขาดดุล-เกินดุล
3. ปีที่ล่วงมาแล้ว-ปีปัจจุบัน-ปีที่ขอตั้งงบประมาณ
4. ปีที่ล่วงมาแล้ว-ปีที่ขอตั้งงบประมาณ
ตอบ 3. ปีที่ล่วงมาแล้ว-ปีปัจจุบัน-ปีที่ขอตั้งงบประมาณ


ข้อ 51. ตามบทเฉพาะกาล กำหนดว่ากรณีที่มีการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ประเภทงบกลาง ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยให้ก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2562 และดำเนินการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายในกำหนดใด
1. 29 ธันวาคม 2562
2. 30 ธันวาคม 2562
3. 31 ธันวาคม 2562
4. 30 กันยายน 2563
ตอบ 4. 30 กันยายน 2563
ข้อ 52. การโอนหรือนำงบประมาณรายจ่ายไปใช้ในแผนงานหรือรายการอื่นที่มีผลเป็นการเพิ่มรายจ่ายประเภทเงินราชการลับ หรือเป็นแผนงานหรือโครงการใหม่ ต้องได้รับอนุมัติจากใครจึงจะดำเนินการได้
1. รัฐสภา
2. คณะรัฐมนตรี
3. นายกรัฐมนตรี
4. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
ตอบ 2. คณะรัฐมนตรี

ข้อ 53. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ
1. การจัดทำแผนงานบูรณาการ ต้องประหยัด รวดเร็ว ลดความซ้ำซ้อน
2. การจัดทำแผนงานบูรณาการ ต้องสามารถวัดผลสัมฤทธิ์ได้
3. การจัดทำแผนงานบูรณาการเมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว การจัดทำงบประมาณรายจ่ายต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกำหนด
4. การจัดทำแผนงานบูรณาการ ต้องผนวกไว้ในงบกลางเพื่อประสิทธิภาพ
ตอบ 4. การจัดทำแผนงานบูรณาการ ต้องผนวกไว้ในงบกลางเพื่อประสิทธิภาพ


ข้อ 54. หลักการใช้จ่ายงบประมาณที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 คือข้อใด
1. ต้องเป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ
2. ต้องเป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3. ต้องคำนึงถึงความผาสุกของประชาชน
4. ต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
ตอบ 4. ต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน


ข้อ 55. ผู้ใดมีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับหรือควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
1. ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงาน
2. ประธานรัฐสภา
3. ผู้รักษาการตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรอิสระนั้นๆ
4. คณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรอิสระนั้นๆ
ตอบ 3. ผู้รักษาการตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรอิสระนั้นๆ

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน
บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์