ธาเลส Thales บิดาแห่งวิชาปรัชญา

 

โอโฮ ทำไมอากาศมันถึงได้ร้อนขนาดนี้ ร้อนจนทำอะไรไม่รู้เรื่องเลย ยิ่งเวลาเดินกลางแดดนี่กระเบื้องอย่างกับเตาอบ ก็จะให้ทำยังไงก็ตอนนี้มันหน้าร้อนของเมืองไทยนี่ รู้ไหมประเทศไทยเด่วนี้ร้อนเพิ่มขึ้นทุกปี ไม่รู้ว่าร้อนแบบนี่มันจะมีประโยชน์อะไรกันหนา ใครว่าแสงแดดไม่มีประโยชน์กับคณิตศาสตร์ เพราะมันทำให้เกิดเงาในสมัยกรีกมีการใช้ประโยชน์จากเงาในการวัดความสูงของพิระมิด ใครรู้ไหม เฉลยเลยล่ะกันขี้เกียจรอคำตอบ นั่นคือ ธาเลสนั่นเอง 

เมื่อประมาณ 620 ปีก่อนคริสตกาล เมือง ไมเลตุสอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศตุรกี เป็นสถานที่ให้กำเนิดนักปรัชญาคนสำคัญที่ต่อมาได้รับยกย่องให้เป็นบิดาของวิชาปรัชญา นั่นคือ ธาเลส  ต่อมาเติบโตเป็น 1 ใน 7บัณฑิตผู้เลิศทางปัญญาในยุคโบราณผู้ปราดเปรื่องทั้งวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ รวมถึงปรัชญาด้วย ในวัยหนุ่มทาเลสได้เดินทางไปอิยิปส์และบาบิโลนและทำให้มีโอกาสได้เรียนวิชาดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ ทำให้ธาเลสมีแนวคิดและวิธีแสวงหาความรู้ที่แตกต่างไปจากคววามเชื่อของชาวกรีกในสัมัยนั้นเกี่ยวกับการอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการบัลดาลของเทพเจ้าทำให้การอธิบายดังกล่าวเป็นสิ่งที่ใช้เหตุและผลมากขึ้น 

เชื่อกันว่าธาเลสเป็นบุคคลแรกที่เสนอว่าปฐมธาตุแรกของโลกนั้นคือน้ำ และในทางดาราศาสตร์ท่านยังทำนายปรากฏการณ์การเกิดสุริยุปราคาเมื่อ 580 ปีที่แล้วไว้ได้อนย่างแม่นยำ  และในทางด้านไฟฟ้ายท่านยังเป็นผู้เสนอเรื่องการเกิดไฟฟ้าสถิตเป็นคนแรกโดนชการนำผ้าขนสัตว์มาพันกับแท่งอำพันที่สามารถดึงดูดให้ขนนกสามารถลอยขึ้นมาได้และนอกจากนี้เขายังได้ทำนายฤดูกาลและผลผลิตมะกอกเพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ทางการค้าและการเกษตร และที่สำคัญเชื่อกันว่าท่านเป็นนักคณิตศาสตร์คนแรกของโลกที่ให้เหตุผลแบบนิรนัย เพื่อพิสูจน์ทฤษฏีบททางคณิตศาสตร์ ผลการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ของธาเลสนั้นมีอยู่มากมาย เช่น มุมที่ฐานรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาดเท่ากัน เมื่อเส้นตรงสองเส้นตัดกันมุมตรงข้ามย่อมเท่ากัน เป็นต้น ธาเลสได้ตั้งสำนักศึกษาไอโอเนียน ที่เมืองไมเลตุส เชื่อว่าครั้งหนึ่งพิธากอรัสได้เข้ามาศึกษาในสำนักนี้ด้วย ทำให้พิธากอรัสได้รับแนวความคิดลายอย่างไปจากธาเลส  ธาเลสวัดแสงเงาองพิระมิดและใช้ความรู้เรื่องคุณสมบัติของรูปสามเหลี่ยม ผลงานชิ้นนี้เองที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขา

เรื่องหนึ่งเล่าว่าทาเลสมีอาชีพอีกอาชีพหนึ่ง คือ การทำเหมืองเกลือซึ่งเขาจะใช้ฝูงลาบรรทุกเกลือไปขายครั้งหนึ่ง ลาตัวหนึ่งพลาดล้มลงตรงแม่น้ำทำให้เกลือละลายและทำให้น้ำหนักที่บรรทุกมานั้นลดลง ตั้งแต่นั้นมาเมื่อถึงแม่น้ำแห่งนี้ลาจะแกล้งล้มลงเพื่อให้น้ำหนักบรรทุกนั้นเบาลง ภายหลังเมื่อเรื่องทราบถึงธาเลส เขาจึงให้ลาบรรทุกฝ้ายแทน ทำให้น้ำหนักฝ้ายที่โดนน้ำหนึกขึ้นทำให้ลานั้นเข็ดหลาบ

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน
บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์