วิธีคำนวณภาษีและลดหย่อนภาษีประจำปี 2565 ตอนที่ 2

วิธีคำนวณภาษีและลดหย่อนภาษีประจำปี 2565 ตอนที่ 2

การลดหย่อนภาษี กลุ่มประกันชีวิต การออมและการลงทุน

1.ประกันสังคม

จำนวน ลดหย่อนได้ตามจริง โดยผู้ประกันตนมาตรา 33 สามารถลดหย่อนได้สูงสุดถึง 5,100 บาท

2.ประกันชีวิตทั่วไปหรือเงินฝากเพื่อการสงเคราะห์ชีวิต

จำนวน ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

เงื่อนไขประกันชีวิต

-ต้องเป็นประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

-หากเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี ถือว่าผิดเงื่อนไข จะไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

-ต้องเป็นกรมธรรม์ที่ซื้อจากบริษัทประกันชีวิตที่ดำเนินกิจการในไทย

-มีผลตอบแทนคืนไม่เกิน 20% ของเบี้ยสะสม

เงื่อนไขเงินฝากเพื่อสงเคราะห์ชีวิต

-ต้องเปิดบัญชีเงินฝากเพื่อสงเคราะห์ชีวิต

-ฝากเงินตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

-หักลดหย่อนได้ตามจำนวนเงินที่ฝากจริง แต่เมื่อรวมกับเงินที่ได้จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแล้ว ต้องไปเกิน 100,000 บาท

-มีหลักฐานจากธนาคารผู้รับฝากเงิน

-กรณีรับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนทุกปี ต้องไม่เกิน 20% ของเงินฝากรายปี

3.ประกันชีวิตคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้

จำนวน หักตามจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

เงื่อนไข

-ต้องเป็นสามี-ภรรยา ตลอดทั้งปีภาษี ดังนั้นหากเพิ่งแต่งงานกันภายใน 1 ปี จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ เพราะความเป็นสามี-ภรรยา ไม่ได้มีอยู่ตลอดทั้งปี

-ต้องเป็นการซื้อประกันชีวิตคู่สมรสตามกฏหมายที่ไม่มีรายได้

4.ประกันสุขภาพตัวเอง

จำนวน ลดหย่อนได้ไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี แต่เมื่อรวมเบี้ยประกันชีวิตและเงินฝากเพื่อสงเคราะห์ชีวิตแล้ว ต้องไปเกิน 100,000 บาท

เงื่อนไข ประกันสุขภาพที่นำมาลดหย่อนได้ มีดังต่อไปนี้

-ประกันภัยการดูแลระยะยาว

-ประกันภัยโรคร้ายแรง

-ประกันอุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก

-ประกันให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพ และการสูญเสียอวัยวะเนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ

5.ประกันสุขภาพบิดา-มารดา

จำนวน ลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

เงื่อนไข

-บิดา-มารดา ต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนเกิน 30,000 บาทขึ้นไป

-บิดาหรือมารดาต้องอยู่ในไทยไม่ต่ำกว่า 180 วัน ในปีภาษีนั้น

-ลูกที่จะใช้สิทธิ์ต้องเป็นบุตรตามกฎหมายเท่านั้น บุตรบุญธรรมใช้สิทธิ์ไม่ได้

-ลูกสามารถใช้สิทธิ์ได้หลายคน โดยหารเฉลี่ยกัน

6.ประกันชีวิตบำนาญ

จำนวน 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

เงื่อนไข

-จ่ายผลตอบแทนให้ผู้เอาประกันตั้งแต่อายุ 55 ปี ต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 85 ปี หรือมากกว่านั้น

-ต้องเป็นกรมธรรม์ที่ซื้อจากบริษัทประกันชีวิตที่ดำเนินกิจการในไทย

-ต้องเป็นประกันที่มีระยะเวลาเอาประกัน 10 ปีขึ้นไป

-หากมีประกันชีวิตแบบทั่วไปอยู่แล้ว แต่ยังไม่ครบ 100,000 บาท สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปรวมกับสิทธิ์ลดหย่อนประกันชีวิตแบบทั่วไปให้ครบ 100,000 บาทก่อน ส่วนที่เหลือก็ยังสามารถนำมาลดหย่อนโดยใช้สิทธิ์เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้ 15% ของเงินที่ได้เสียภาษี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

7.กองทุนรวมเพื่อการออม หรือ กองทุนรวม SSF

จำนวน สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

เงื่อนไข

-ต้องซื้อระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ของปีภาษีนั้น จึงจะใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้

-ต้องถือครองอย่างน้อย 10 ปี โดยไม่สามารถขายได้ หากขายก่อนครบกำหนด จะถือว่าทำผิดเงื่อนไขลดหย่อนภาษี และต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับการยกเว้น

-จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน SSF เมื่อรวมกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF), กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนครูครูโรงเรียนเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญต้องไปเกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี

8.กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

จำนวน หักลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของเงินพึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

เงื่อนไข

-ต้องลงทุนอย่างน้อย 5 ปีเต็ม นับจากวันที่ลงทุนวันแรก โดยนับเฉพาะปีที่มีการซื้อหน่วยลงทุน

-ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยปีเว้นปี

-ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ

-เมื่อซื้อ RMF รวมกับกองทุนรวม SSF+ กบข. + กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ + กองทุนครูโรงเรียนเอกชน + ประกันชีวิตแบบบำนาญ + กองทุนการออมแห่งชาติ ต้องไปเกิน 500,000 บาท

9.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

จำนวน ลดหย่อนได้ตามจริงที่จ่าย แต่ไม่เกินปีละ 10,000 บาท ส่วนจำนวนเงินที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้ และไม่เกิน 490,000 บาท จะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องนำไปรวมกับเงินได้ที่ต้องเสียภาษี

เงื่อนไข

-เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อรวมกับกองทุนรวม SSF, กองทุนรวม RMF, กบข., กองทุนครูโรงเรียนเอกชน, ประกันชีวิตแบบบำนาญ, กองทุนการออมแห่งชาติ ต้องไปเกิน 500,000 บาท

10.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

จำนวน ลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี

เงื่อนไข

-เมื่อรวมกับกองทุนรวม SSF, RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนครูโรงเรียนเอกชน, ประกันชีวิตแบบบำนาญ, กองทุนการออมแห่งชาติ ต้องไปเกิน 500,000 บาท

11.กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน

จำนวน ลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี

เงื่อนไข

-เมื่อรวมกับกองทุนรวม SSF, กบข., RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, ประกันชีวิตแบบบำนาญ, กองทุนการออมแห่งชาติ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

12.กองทุกการออมแห่งชาติ (กอช.)

จำนวน ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดปีละ 13,200 บาท

เงื่อนไข

-เมื่อรวมกับกองทุนรวม SSF, RMF, กบข., กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, ประกันชีวิตแบบบำนาญ, กองทุนครูโรงเรียนเอกชน ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

การลดหย่อนภาษี กลุ่มอสังหาริมทรัพย์

ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัย

จำนวน ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

เงื่อนไข

-เป็นดอกเบี้ยจากการเงินกู้การเช่าซื้อบ้าน คอนโด หรือที่อยู่อาศัย โดยเราต้องอาศัยในบ้านหลังดังกล่าวด้วย

-ต้องเป็นการกู้เพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่บนที่ดินของตัวเอง หรือกู้เพื่อซื้อคอนโดมิเนียม

-ต้องเป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินภายในประเทศ

-หากมีการกู้สำหรับอยู่อาศัยมากกว่า 1 แห่ง สามารถใช้ลดหย่อนรวมกันได้ทุกแห่ง แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท

-กรณีกุ้ร่วมกันหลายคน ก็ให้แบ่งดอกเบี้ยคนละเท่าๆ กัน โดยไม่สนใจว่าผู้กู้ร่วมมีรายได้ที่จะเสียภาษีหรือไม่ และรวมกันแล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาท

การลดหย่อนภาษี กลุ่มเงินบริจาค

1.เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา

จำนวน 2 เท่าของจำนวนเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่นก่อนหักลดหย่อนเงินบรจาค

เงื่อนไข

-ต้องเป็นสถานศึกษาที่ ศธ. กำหนด

-ต้องบริจาคและบันทึกข้อมูลผ่านระบบ e-Donation เท่านั้น

2.เงินบริจาคให้แก่สถานพยาบาลของรัฐ

จำนวน 2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาแล้ว ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนอื่นๆแล้ว

เงื่อนไข

-เป็นการบริจาคให้สถานพยาบาลต่างๆของราชการ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา องค์การมหาชน หรือหน่วยงานต่างๆ

-ต้องมีหลักฐานใบเสร็จรับเงิน หรือมีการบันทึกข้อมูลการบริจาคผ่าน e-Donation ซึ่งส่งข้อมูลถึงกรมสรรพากรโดยตรง

-การบริจาคเงินให้สภากาชาดไทยผ่านระบบอิเล้กทรอนิกส์ สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า

3.เงินบริจาคสนับสนุนการกีฬา

จำนวน 2 เท่าของเงินที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาแล้ว ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินหลักหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนอื่นๆ แล้ว

เงื่อนไข

-เป็นการบริจาคเงินให้หน่วยงานด้านกีฬาที่สังกัดสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย

-มีหลักฐานใบเสร็จรับเงิน หรือมีการบันทึกข้อมูลบริจาคผ่านระบบ e-Donation ซึ่งส่งข้อมูลถึงกรมสรรพากรโดยตรง

4.เงินบริจาคเพื่อการพัฒนาสังคม

เงินบริจาคส่วนนี้มีหลายอย่าง เช่น กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งขึ้น, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเด็กเล็ก, กองทุนยุติธรรม และอีกหลากหลาย

จำนวน 2 เท่าของจำนวนเที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคเพื่อการสนับสนุนการศึกษาแล้ว ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนอื่นๆ แล้ว

5.เงินบริจาคทั่วไป

จำนวน ตามที่บริจาคจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและลดหย่อนอย่างอื่น

เงื่อนไข

-เป็นการบริจาคเพื่อสาธารณกุศล ให้แก่วัดวาอาราม มูลนิธิ สมาคม สถานสาธารณกุศล สถานสงเคราะห์

6.เงินบริจาคให้พรรคการเมือง

จำนวน ตามจำนวนที่บริจาคจริง แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 10,000 บาท

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน

รอยยิ้มของมะลิจะส่งผ่านความรัก ความเมตตา ความจริงใจให้แก่ผู้อ่านทุกท่าน บทความที่ถูกรังสรรค์มาจากทุกห้วงของจิตใจ ขอให้เราเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องราวที่สวยงามของคุณ

บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์