วัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบญี่ปุ่น

เชื่อว่าหลายคนที่อยู่ญี่ปุ่นอาจจะกำลังปรับตัวยาก หรือคนที่มีแพลนอยากจะย้ายหรือไปเรียนต่อ เนื่องจากวัฒนธรรมของประเทศเขาแตกต่างจากบ้านเราอย่างมาก ทั้งมีขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมที่ปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน มารยาท อีกทั้งกฎระเบียบก็เคร่งเครียดตามไปด้วย ซึ่งต้องบอกเลยว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ค่อนข้างชาตินิยม ดังนั้นถ้าเราจะไปประเทศเขา ก็ควรจะเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมสักนิด ดังนั้นเนื้อหาต่อไปนี้ จะเป็นการแนะนำเกี่ยวกับวัฒนธรรมต่าง ๆ ของญี่ปุ่นอย่างละเอียด


วัฒนธรรมการแสดงออกของคนในสังคม

คนญี่ปุ่นมักจะให้ความสำคัญกับสมาชิก องค์กร  กลุ่มเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า อุชิ หากเป็นคนนอกสมาชิก นอกองค์กร ก็จะเรียกว่าโซโตะ โดยจะใช้ภาษาที่สุภาพ น่อมน้อม ถ่อมตนต่อผู้ที่เป็นผู้อื่น ซึ่งภาษาญี่ปุ่นนั้นก็มีความสุภาพหลายระดับ อะไรที่ว่าสุภาพแล้วก็คือยังมีดับเบิ้ลสุภาพของสุภาพอยู่อีก โดยเรื่องของภาษา ก็ถือเป็นตัวบ่งบอกระดับความสัมพันธ์ของคนญี่ปุ่นในสังคมได้ ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของคนญี่ปุ่นที่จะแสดงออกถึงความให้เกียรติ และการให้ความสำคัญกับบุคคล และรักษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

 

ความสำคัญเกี่ยวกับรองเท้า

มารยาทหลัก ๆ ในการไปเยือนที่ต่าง ๆ ของญี่ปุ่นเลยคือ ห้ามสวมรองเท้าเข้าบ้าน โรงแรม ร้านอาหาร ซึ่งโดยปกติจะมีการเตรียมรองเท้าแตะให้เราเปลี่ยนก่อนเข้าไป

 

กิโมโน (Kimono) 

เป็นชุดประจำชาติของญี่ปุ่นที่หลาย ๆ คนรู้อยู่แล้ว ลักษณะเป็นเสื้อคลุมขนาดยาวที่มีแขนเสื้อกว้าง และใช้สายคาดที่เรียกว่าโอบิ (Obi) รัดเสื้อคลุมให้อยู่กับตัว โดยกิโมโนแต่ละตัวก็มีลวดลายที่งดงาม และเป็นเอกลักษณ์บนเนื้อผ้าที่ถักทอมาอย่างประณีต ซึ่งมักจะนำมาใส่กันไปร่วมงานเทศกาลและพิธีสำคัญต่าง ๆ

 

ดนตรีญี่ปุ่น 

ดนตรีของประเทศญี่ปุ่น ได้รับวัฒนธรรมและอิทธิพลมาจากประเทศจีนและคาบสมุทรเกาหลี รวมทั้งจากโอะกินะวะและฮกไกโด ตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งมีเครื่องดนตรีที่ถูกนำเข้ามาจากจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 อย่าง บิวะโคะโตะ อีกทั้งดนตรีที่มีเสียงเป็นเอกลักษณ์อย่างชะมิเซ็งซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ดัดแปลงจากเครื่องดนตรีโอะกินะวะซึ่งมีจุด เริ่มต้นที่กลางพุทธศตวรรษที่ 21

 

พิธีชงชา 

พิธีชงชา หรือที่ญี่ปุ่นเรียกว่าซะโด (Sadou) หรือ ฉะโด (Chadou) เป็นพิธีที่เป็นเอกลักษณ์ของคนญี่ปุ่นอย่างมาก เนื่องจากเป็นวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นที่มีความเรียบง่าย ประณีต และพิถีพิถัน โดยมักจะนำมาทานคู่กับขนมและของว่าง

 

วัฒนธรรมการรับประทานอาหารบนโต๊ะ

คนญี่ปุ่นมักจะใช้ตะเกียบในการทานข้าว และมักจะมีธรรมเนียมการกล่าวเชิงขอบคุณ ก่อนเริ่มรับประทานอาหารเสมอ ซึ่งต้องกล่าวคำว่า いただきます Itadakimasu ก่อนรับประทานอาหาร และเมื่อรับประทานอาหารเสร็จ ก็จะต้องกล่าวคำว่า ごちそうさまでした Gochisousama deshita

 

วัฒนธรรมการโค้งคำนับ

การโค้งคำนับของญี่ปุ่นนั้นมีหลายระดับมาก ดังนี้

1. การโค้งทักทาย (会釈: เอชาคุ)

วิธีการคือก้มตัวทำมุมประมาณ 15 องศา กับแนวเส้นตรง ใช้ทักทายกับผู้สนทนาในระดับเดียวกันแบบเป็นกันเอง

2. การโค้งเคารพแบบธรรมดา (敬礼 : เคเร)

วิธีการคือ ก้มตัวประมาณ 30 องศา กับแนวเส้นตรง ใช้ทักทายกับผู้สนทนาต่างระดับ อย่าง พนักงานขายกับลูกค้าหรือผู้ที่อาวุโสกว่า

3. การโค้งเคารพแบบนอบน้อม (最敬礼 : ไซเคเร)

วิธีการคือ ก้มตัวประมาณ 45 องศา กับแนวเส้นตรงใช้แสดงความขอบคุณหรือขอโทษ

 

กีฬาญี่ปุ่น

1. ยูโด (Judo) 

เป็นศิลปะการป้องกันตัวของประเทศญี่ปุ่นที่ใช้วิถีของความยืดหยุ่นมีที่มาจากศิลปะการต่อสู้ที่เรียกว่าจูจุตสึ (Jujutsu) หรือยิวยิตสู โดยนับมาดัดแปลง เน้นการใช้สมาธิและความแน่วแน่ รวมถึงการใช้พลังกายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยยูโดจะมีเทคนิคหลัก 3 แบบ คือ การทุ่ม (Nage-waza) การจับล็อกหรือทําให้จํานน (Katame-waza) และเทคนิคเกี่ยวกับการชกต่อยส่วนต่างๆของร่างกาย (Atemi-waza)

2. เคนโด้ (Kendo)

เป็นอีกหนึ่งศิลปะการป้องกันตัวของประเทศญี่ปุ่น ที่มีกระบวนการต่อสู้อย่างรวดเร็ว เด็ดขาด และต่อเนื่อง ซึ่งดัดแปลงมาจากการใช้ดาบของพวกซามูไรในสมัยก่อน อีกทั้งยังมีหลักฐานว่าเป็นการฝึกฝนกันมามากกว่าพันปี โดยอุปกรณ์ที่ต้องใช้ก็ได้แก่ ดาบไม้ ชุดฝึกที่เรียกว่าเคโคงิ (Keiko-gi) กางเกงฮากามะ (Hakama) และชุดเกราะเครื่องแบบที่ประกอบด้วยเสื้อเกราะหน้าอก หน้ากาก ที่ป้องกันแขน และที่ป้องกันสะโพก

3. คิวโด (Kyudo) 

เป็นกีฬาเกี่ยวกับการใช้ธนู เป็นการยิงธนูที่เกิดจากการฝึกฝนต่อสู้เพื่อสงครามของชาวญี่ปุ่นสมัยก่อน จนได้พัฒนามาจนถึงปัจจุบัน โดยอุปกรณ์ที่ต้องใช้ ได้แก่ คันธนูที่เรียกว่ายูมิ (Yumi) และลูกธนูไม้ไผ่ที่เรียกว่ายะ (Ya) ซึ่งกีฬาชนิดนี้ มักนำมาใช้ในการประกอบพิธีสำคัญและเทศกาลต่าง ๆ

4. ซูโม่ (Sumo) 

เป็นกีฬาประจำชาติของญี่ปุ่นเลยทีเดียว อีกทั้งกีฬายอดนิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติในญี่ปุ่น ที่หลายคนอยากไปดู ซึ่งกีฬาชนิดนี้ถูกพัฒนามาจากศิลปะการต่อสู้เก่าแก่และมีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของเทพเจ้า โดยนักกีฬาซูโม่จะต้องเป็นผู้ชายที่มีลักษณะร่างกายใหญ่โตอ้วนท้วนสมบูรณ์ และต้องทำผมทรงมัดจุกแบบสมัยเอโดะ สวมผ้าเตี่ยวที่เรียกว่ามาวาชิ (Mawashi) ต่อสู้ด้วยมือเปล่าโดยใช้คิมาริเทะ (Kimarite)

5. คาราเต้ (Karate) 

คาราเต้ (Karate) เป็นอีกหนึ่งสิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่น ที่ยผสมระหว่างการต่อสู้ของชาวโอกินาวะและการได้รับอิทธิพลจากทักษะการต่อสู้แบบจีนที่ใช้ฝ่ามือ ซึ่งหลักการต่อสู้คือต้องดึงพลังจากทั่วร่างกายมารวมให้เป็นหนึ่งก่อนทำการโจมตีโดยใช้มือและเท้าในการต่อสู้

 

มารยาทพื้นฐาน

1. ตรงต่อเวลา 

คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับเรื่องตรงต่อเวลามาก ๆ ไม่ว่าจะไปไหนทำอะไรก็ตาม ห้ามมาสายเด็ดขาด ห้ามมาก่อนเวลานานด้วย ให้มาก่อนเวลาใกล้ ๆ ซึ่งก็ไม่ใช่แค่ในที่ทำงาน เรียน หรือประชุม เพราะการเดินทางก็มีเวลาของมันเหมือนกัน ทั้งการขึ้นรถไฟ รถบัส จะมาตรงเวลาเป๊ะ ๆ เพราะฉะนั้นมาอยู่ที่นี่ก็ต้องเป็นคนตรงต่อเวลานะ

2. อย่าลัดคิว ผิดกฎหมาย 

การแซงคิวถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายที่ญี่ปุ่น เพราะการเข้าคิวอย่างมีระเบียบ ทั้งต่อคิวรอรถ เข้าห้องน้ำ ซื้อของ เป็นเรื่องปกติของคนญี่ปุ่นแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าไปอยู่ญี่ปุ่น อย่าแซงคิว หรือเห็นแก่ตัวเด็ดขาด ไม่งั้นเจอกฎหมายแน่ ๆ

3. ไม่ใช้มือถือในรถสาธารณะ หากจำเป็นให้พูดเบา ๆ แล้วรีบวางสาย หรือส่งข้อความแทน  

ที่ญี่ปุ่นมักจะไม่โทรศัพท์เพื่อส่งเสียงรบกวนคนรอบข้าง และมักจะปิดแจ้งเตือน เสียงไลน์ เสียงข้อความ แต่ถ้าจะฟังเพลงขนาดอยู่บนรถ ก็สามารถใช้หูฟังได้ ก็แปลกอยู่ที่ห้ามคุยมือถือในรถสาธารณะ แต่คุยกับเพื่อนข้าง ๆ ที่มาด้วยกันได้ ดังนั้น ใครมาอยู่ญี่ปุ่น ก็ต้องเห็นแก่คนรอบข้างด้วยนะคะ

การยืนบนบันไดเลื่อน 

4. คนญี่ปุ่นมักจะยืนชิดซ้าย หรือขวาของบันไดเลื่อน 

ซึ่งจะอยู่ข้างไหนขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น บางทีก็ซ้าย บางทีก็ขวา และต้องเว้นทางเดินตรงกลางด้วย

5. ห้ามเด็ดดอกซากุระ 

คนญี่ปุ่นจะชมซากุระอย่างเดียวแต่จะไม่เด็ดดอกไม้เด็ดขาด เพราะมันเป็นกฎ ซึ่งแน่นอนว่านักท่องเที่ยวหลายคนไม่รู้ ต่างก็ชอบไปเด็ด ไปจับ ไปดึง

6. ที่ญี่ปุ่นไม่มีการให้ทิป

ที่ญี่ปุ่นไม่มีการให้ทิปเพราะเนื่องจากวัฒนธรรมญี่ปุ่นถือเรื่องการบริการเป็นการทำด้วยใจ จริงใจ ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องให้ทิป ถ้าให้เขาก็ไม่เอาอยู่ดีค่ะ

7. การเปิด ปิด ลิฟต์

คนที่เข้าลิฟต์คนแรกเตรียมตัวไว้เลยค่ะ ต้องทำหน้าที่เปิดปิดลิฟต์ให้ผู้โดยสารลิฟต์คนอื่น ๆ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่น

8. รอยสัก ออนเซ็นบางที่ไม่ให้เข้า 

ในบางทีจะมีกฎห้ามให้ผู้ที่มีรอยสักเข้าร่วมช่ออนเซ็น ซึ่งเราก็ต้องดูดี ๆ ว่าที่นั่นมีกฎแบบนี้ไหม

9. การใช้ตะเกียบกลาง 

การทานอาหารจานกลางที่ญี่ปุ่น ห้ามเด็ดขาด และอย่าลืมว่าต้องใช้ตะเกียบกลาง บางคนชอบเผลอใช้ตะเกียบตัวเองด้วยความชิน เพราะปกติประเทศไทยก็จะเป็นแบบนั้น ทำให้เราอาจจะลืมตัวได้

10. ห้ามถ่ายรูปคนอื่น

ไม่ว่าจะแอบถ่ายแบบออกมาสวย น่ารัก หรือหลุด ๆ ถือว่าผิดกฎหมายญี่ปุ่น เพราะคนคนนั้นไม่ได้เต็มใจ หรืออาจจะไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นจะถ่ายใคร ก็ต้องได้รับอนุญาติจากคนนั้น ๆ ก่อน



ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน
บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์