เลือกชนิดของสารให้ความหวานเพื่อการลดน้ำหนักและสุขภาพ (บางชนิดมีโทษกว่าที่คิด)

อย่างที่ทุกคนู้กันเลยค่ะว่า น้ำตาล เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวที่ให้พลังงาน และสามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว หากทานเกินความจำเป็นของร่างกาย ร่างกายก็สามารถเก็บสะสมในรูปของไขมันได้ และนำไปสู่การที่ทำให้น้ำหนักเพิ่ม ภาวะอ้วนและโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ไขมันสูง ฯลฯ

ในปัจจุบันได้มีการผลิตสารให้ความหวานที่ใช้แทนน้ำตาลเป็นจำนวนมาก แบ่งได้ 2 ประเภท คือ

1.สารให้ความหวานที่ให้พลังงาน เช่น ฟรุกโตส (น้ำตาลที่มาจากผลไม้) มอลทินอล ซอร์บิทอล และไซลิทอล สารให้ความหวานกลุ่มนี้ ยังให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่จะน้อยกว่า น้ำตาลที่เราบริโภคปกติ

2.สารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงาน ได้แก่ ซูคราโลส สตีเวีย หรือสารสกัดหญ้าหวาน แอสปาแตม อะซิซัลเฟรม-เค แซคคารีน

JCJVLTjA7H69yPGalPXKd2c2e-1jJppOGV8LpnP-vGb9YDj7NIn_9uf49HVl3BfKWxG5f-zZrwSeHm7lknhquOFYW5CrCOgrBbNguuZC-lAl7FPpnJgFabIHG9R6e_BD3IgHKGIX=s0

สารให้ความหวานแทนน้ำตาลดีจริงหรือ

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานและผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก อาจจะตัดสินใจเลือกใช้ารให้ความหวานแทนน้ำตาล โดยที่นิยมก็จะมี 4 ชนิด ด้วยกัน ได้แก่

1. สารแซคคารีน (Saccharin) สารตัวนี้มีรสชาติหวานแต่ให้พลังงานต่ำมาก และร่างกายไม่สามารถย่อยสลายได้ และเมื่อใช้มากก็จะให้รสขม ซึ่งได้มีรายงานการวิจัยว่าการรับประทานแซคคารีนในจำนวนมากอาจจะมีผลก่อให้เกิดโรคมะเร็งบางชนิดได้ในสัตว์ทดลอง เช่น มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งผิวหนังและอวัยวะอื่น ๆ ดังนั้นจึงแนะนำให้ทานเพียงปริมาณเล็กน้อย เพราะถ้าหากรับประทานต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ๆ ในปริมาณสูง ก็อาจจะมีผลเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้

2. (Aspartame) เป็นสารที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 180-200 เท่า มีรสชาติใกล้เคียงกับน้ำตาลทรายมากที่สุด โดยมีข้อดีคือไม่ก่อให้ให้เกิดอาการฟันผุและไม่กระตุ้นน้ำตาลในเลือด จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในเครื่องดื่มน้ำอัดลมและคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งมีสารประกอยสำคัญดังนี้

- สารเฟนนิลอะลานิน (Phenylalanine) 50% เป็นกรดอะมิโนธรรมชาติ ซึ่งในคนไข้ที่เป็นโรคฟินิลคีโตนูเรียจะไม่สามารถย่อยสลายกรดอะมิโนชนิดนี้ได้ จึงจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงสารทดแทนความหวานแอสพาร์แตมทุกกรณี นอกจากนี้เฟนนิลอะลานินยังไปกระตุ้นการสร้างกรดอะมิโนไทโรซิน (Tyrosine) และสารสื่อนำสมองอื่น ๆ ซึ่งถ้าหากได้รับในปริมาณมากเกินไปก่อให้เกิดสารพิษตกค้างในสมอง และมีการทำงานของระบบประสาทที่ผิดปกติ

- กรดแอสพาร์ติค (Aspartic acid) 40% ถึงแม้ว่าจะเกิดจากกรดอะมิโนธรรมชาติและจำเป็นต่อการสร้าง DNA หรือยีน รวมถึงสารสื่อนำประสาทหลาย ๆ ชนิดในสมอง แต่หากได้ปริมาณมากเกินไปก็ก่อให้เกิดโทษได้เช่นกัน

- สารเมทานอล (Methanol) 10% แม้ว่าจะเป็นสารธรรมชาติ แต่หากได้รับสารนี้ต่อเนื่องกันนาน ๆ ก็อาจจะมีผลต่อร่างกายและจิตใจได้ หากมีการดูดซึมก็จะมีการสะสมจนถึงระดับเป็นพิษ เพราะร่างกายเราขับถ่ายเมทานอลออกไปอย่างช้า ๆ อาจจะมีการสลายเมทานอลไปเป็นสารฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่งและอาจทำให้เกิดมะเร็งในสมองได้  ซึ่งเมทานอลหากได้รับปริมาณสูงจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อ่อนเพลีย มีการบีบตัวอย่างรุนแรงของกระเพาะอาหาร หายใจลำบากหรือพูดไม่ชัด ตาพร่ามัว อาจทำให้เด็กทารกผิดปกติเพราะมีการทำลายของ DNA ได้

3. สตีเวีย (Stevia) เป็นสารธรรมชาติที่ให้ความหวานทดแทนน้ำตาลได้อย่างดีและปลอดภัย ซึ่งให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 200 เท่า และมีพลังงานน้อยมาก สตีเวียเป็นพืชธรรมชาติซึ่งใเรามักรู้จักดีในชื่อ หญ้าหวาน ซึ่งถูกใช้เป็นสมุนไพรมาตั้งเกือบ 500 ปีแล้ว แต่เพิ่งจะมีการศึกษาวิจัยกันอย่างจริงจังเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1899 และเอามาใช้เป็นสารทดแทนความหวานกันเมื่อปี ค.ศ. 1964 ข้อดีของสตีเวียก็คือ สามารถทนกรดและทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียสโดยไม่สลายตัว ซึ่งชนชาติญี่ปุ่นและเกาหลีก็ใช้กันมานานทั้งในการหมักเนื้อ หมักปลา หมักผักดอง เครื่องดื่ม ก็ใช้สตีเวียเป็นสารทดแทนความหวาน รวมไปถึงยาสีฟันที่ลดอาการฟันผุได้ด้วย โดยสรุปแล้วสตีเวียน่าจะเป็นสารทดแทนความหวานที่ปลอดภัยซึ่งยังไม่มีรายงานผลแทรกซ้อน

 

4. (Xylitol) เป็นกลุ่มของน้ำตาลแอลกอฮอล์ (sugar alcohol) ที่มีคาร์บอน 5 อะตอม ในโครงสร้าง  มักใช้ในส่วนผสมของยาที่ต้องเคี้ยว หมากฝรั่ง ยาสีฟัน โดยตัวไซลิทอลมีอยู่ในธรรมชาติ เช่น ผลไม้พวกเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ ต้นเบิร์ช เห็ด ผักกาดแก้ว รวมไปถึงข้าวโพด และร่างกายเราก็ยังสร้างสารไซลิทอลได้ด้วยตัวเองในระหว่างการสันดาปของกลูโคส ไซลิทอลนั้นมีรูปร่างหน้าตาเหมือนน้ำตาล รสชาติใกล้เคียงน้ำตาลมากที่สุดแต่ให้พลังงานเพียงแค่ 40% ของน้ำตาลธรรมชาติ ซึ่งข้อดีของสารตัวนี้คือ ช่วยลดจำนวนแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดฟันผุ ลดการเกิดหินปูน นอกจากจะช่วยป้องกันภาวะฟันผุอีกด้วย 

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน
บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์