แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 พร้อมเฉลยจำนวน 56 ข้อ และมี 9 เทคนิคดีๆที่ใช้สอบได้คะแนนดี

ก่อนจะอ่านแนวข้อสอบทางผู้เขียนมี  9 เทคนิคดีๆและประสบการณ์ที่ใช้สอบได้คะแนนดีให้อ่านคะ

 

    สอบอย่างไรให้ได้คะแนนดี

           เชื่อว่าหลายๆท่านอาจจะเคยพบเจอปัญหาหลายๆอย่างก่อนสอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเวลาน้อย เตรียมตัวไม่ทัน หรือไม่มีสมาธิในการอ่านหนังสือ นอกจากทำงานประจำแล้วยังต้องมีเวลาให้กับครอบครัวและยิ่งคุณผู้หญิงทั้งลูกทั้งสามีทั้งงานบ้าน ทางผู้เขียนเองก็เช่นกัน ดังนั้นการสอบในแต่ละครั้ง สามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้ เตรียมตัวก่อนสอบ ได้นะคะ

 1.  ทบทวนเนื้อหา

การทบทวนเนื้อหาเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ทุกครั้งที่ อ่านหนังสือไม่ว่าจะในร้านคาเฟ่ ที่บ้าน หลังเลิกงานควรใช้เวลาอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงในการทบทวนเนื้อหาที่จะสอบไปในแต่วัน เพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาที่อ่านมา หรือถ้าเราไม่เข้าใจ ก็ การทบทวนบทข้อสอบจะทำให้เราจำได้ง่ายและเข้าใจได้เร็ว

2. วางแผนการอ่านหนังสือ

เราจะมีเวลาให้อ่านหนังสือก่อนสอบ ดังนั้นเราต้องวางแผนดีๆ ในการอ่านแต่ละ พ.ร.บ.เราอาจจะแบ่งเป็นภาค ก.  วันละ พ.ร.บ.หรือเฉพาะตำแหน่งวันละ 30-40 ข้อต่อวัน ซึ่งอยู่ที่เรากำหนด อย่างเช่นวันนี้เราจะอ่าน พรบ.ที่จะเข้าครั้งนี้ แล้วอ่านตามเวลาที่เรากำหนด เพียงเท่านี้ก็ทำตามแผนที่วางไว้ได้แล้ว

3. มีความตั้งใจอย่างแท้จริง

การอ่านหนังสือเพื่อ เตรียมตัวก่อนสอบ หากเรามีความตั้งใจจริง เราจะอ่านและพยายามทำความเข้าใจเนื้อหา แนะนำให้หาสถานที่เงียบๆ อ่าน เพราะจะมีสมาธิในการอ่านมากขึ้น และควรเตรียมน้ำเตรียมขนมเพื่อทานบำรุงสมองในการอ่าน หากอ่านหนังสือแบบหักโหมเกินไป เดี๋ยวสมองและร่างกายเราจะไม่ไหวเอา

4. พักผ่อนให้เพียงพอ

เราอาจจะทั้งทำงาน ไหนจะโอที และต้องแก้ไขปัญหาต่างๆนาๆหน้างาน หรืออ่านหนังสือสอบ

ถึงเวลาที่ร่างกายและสมองต้องพักบ้าง ควรให้ความสำคัญกับการพักผ่อนมากๆเหมือนกัน เพราะถ้าเรานอนไม่เพียงพอ เราจะไม่มีแรงอ่านหนังสือสอบ ส่งผลให้ทำข้อสอบได้ไม่เต็มที่ ทำให้สอบไม่ผ่าน กลับกันหากเราพักผ่อนเต็มที่ นอนให้พอ เราก็จะรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า มีแรงอ่านหนังสือ

5. สร้างกำลังใจให้ตัวเอง

ทุกอย่างเริ่มต้นที่ตัวเรา การให้กำลังใจตัวเองก็เป็นอีกวิธีในการเตรียมตัวก่อนสอบที่ทำให้เราก้าวข้ามผ่านอุปสรรคต่างๆไปได้ ต้องคิดเสมอว่าเราทำได้ หากเราท้อให้มองภาพอนาคตเข้าไว้ นึกถึงวันที่เราสอบเข้าได้ นึกถึงวันที่เราบรรจุรับราชการและนึกถึงวันที่เรานั่งโต๊ะทำงานออฟฟิศแอร์เย็นๆ เป็นวันที่เราภูมิใจมากที่สุด ต้องสร้างกำลังใจให้ตัวเองในทุกๆวัน

6. แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนๆ

นอกจากการที่เราอ่านหนังสือและทบทวนเองแล้ว ควรแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนๆ ด้วย เป็นการติวให้กันและกันไปในตัว เนื้อหาที่เพื่อนรู้อาจเป็นเนื้อหาที่เรายังไม่รู้ และเนื้อหาของเราอาจเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ดังนั้นการติวและการแลกเปลี่ยนความรู้กันจะช่วยทำให้ เก่งขึ้น และจดจำเนื้อหาได้แม่นยำมากขึ้น

7.จดโน้ตเพิ่มเติม

ข้อนี้สำคัญมากสำหรับผู้เขียน เวลาอ่านหนังสือสอบ ถ้าต้องการให้ได้ประสิทธิภาพ ควรจดโน้ตระหว่างการอ่านกันด้วย เราควรจดเนื้อหาที่เราคิดว่าสำคัญ จดให้ตัวเองอ่านแล้วเข้าใจ เพราะมันจะทำให้เราจำได้เวลาเรากลับมาอ่าน เมื่อเราจดสิ่งที่คิดว่าสำคัญไว้แล้ว เวลาใกล้สอบเราสามารถกลับมาอ่านโน้ตของเราโดยที่ไม่จำเป็นต้องอ่านเนื้อหาทั้งหมดอีก เป็นการเตรียมตัวก่อนสอบที่ได้ผลมากครับ

8. จำให้เป็นภาพ

ลองใช้เทคนิคแปลจากข้อความไปเป็นรูปภาพกันดูนะ จะช่วยทำให้เราจำได้ง่ายขึ้น เพราะรูปภาพนั้นมีรูปลักษณ์ชัดเจน แล้วโยงกับความคิดเราได้ดี เราอาจจะใช้รูปภาพแทนคำพูดบางส่วนเวลาเราจดโน้ต พอถึงเวลาที่ทำข้อสอบ ก็แปลจากรูปภาพที่จำมาเป็นตัวอักษรได้ไม่ยาก

9. ฝึกทำโจทย์

การฝึกทำโจทย์บ่อยๆเป็นการ เตรียมตัวก่อนสอบ ที่จะช่วยให้ทำข้อสอบได้แน่นอน มันเหมือนเรามีภูมิต้านทานมาแล้วระดับหนึ่ง พอถึงเวลาสอบจริง เราจะตื่นเต้นน้อยลง และเมื่อเจอข้อสอบที่คล้ายๆกันก็สามารถทำข้อสอบได้อย่างสบายๆ เพราะคุ้นเคยและผ่านตามาแล้วนั่นเอง สำหรับท่านที่กำลังสอบหน่วยงานราชการ แล้วไม่รู้แนวข้อสอบก็สามารถอ่านเป็นแนวตามด้านล่างนี้ได้นะคะรับรองว่าจะได้เทคนิคการทำข้อสอบเพิ่มขึ้นแน่นอน

เป็นยังไงกันบ้างกับเทคนิคทั้ง 9 ข้อ อย่าลืมนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้กันนะ หากเรา เตรียมตัวก่อนสอบ ดีๆ รับรองว่าสามารถทำข้อสอบได้ผ่านแน่นอน

 

                                  แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติ

                      ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 พร้อมเฉลยจำนวน 56 ข้อ

บทนำ 

          แนวข้อสอบ “พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ”  เพื่อให้ผู้ที่สนใจสอบราชการ อ่านเป็นแนวทางในการสอบและได้ทดสอบก่อนสอบจริง เพื่อให้ผู้อ่านได้แนวทางที่เหมาะสมและครบถ้วน ทั้งนี้เนื้อหาในข้อสอบนี้มีการอธิบายเพิ่มเติมแต่ละคำตอบ และผู้เขียนได้รวบรวมสาระสำคัญของ และความยากของ “พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ” ไว้ในนี้แล้ว

1.พระราชบัญญัติให้ไว้เมื่อใด  : ให้ไว้ ณ. วันที่  23  มกราคม พ.ศ. 2551

ก.วันที่  23  มกราคม พ.ศ. 2551

ข.วันที่  23  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2551

ค.วันที่  23  มีนาคม  พ.ศ. 2551

ง.วันที่  23  เมษายน  พ.ศ. 2551

ตอบ  ก.

2.ข้อใดไม่ใช่ “รัฐมนตรีเจ้าสังกัด”

ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

ข.รัฐมนตรีว่าการทบวง

ค.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ง.นายกรัฐมนตรี

ตอบ  ค.

3.ข้อใดไม่ใช่ “ส่วนราชการ” ตามระเบียบนี้

ก.กระทรวง

ข.เมืองพัทยา

ค.ทบวง

ง.กรม

ตอบ  ข.

4.ให้ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

ข.รัฐมนตรีว่าการทบวง

ค.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ง.นายกรัฐมนตรี

ตอบ ง.

5.ข้อใดไม่ใช่ “คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน”

ก.ปลัดกระทรวงการคลัง

ข.ปลัดกระทรวงสำนักงบประมาณ

ค.ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ

ง.เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ตอบ  ข.

6. “คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน” อยู่ในตำแหน่งได้คราวละ สามปี

ก.สองปี

ข.สามปี

ค.สี่ปี

ง.หกปี

ตอบ ข.

7.วาระของกรรมการข้าราชการพลเรือนเหลือไม่ถึงกี่วันจะไม่แต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้

ก.หนึ่งร้อยยี่สิบวัน

ข.หนึ่งร้อยสี่สิบวัน

ค.หนึ่งร้อยหกสิบวัน

ง.หนึ่งร้อยแปดสิบวัน

ตอบ  ง.

8.เมื่อตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดให้ ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการแทนภายในกี่วัน

ก.เจ็ดวัน

ข.สิบห้าวัน

ค.สามสิบวัน

ง.หกสิบวัน

ตอบ  ค.

9. ใครเป็นคน รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาปรับปรุงเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งเงินเพิ่มค่าครองชีพ สวัสดิการ หรือประโยชน์เกื้อกูลอื่นสำหรับข้าราชการฝ่ายพลเรือนให้เหมาะสม

ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

ข.รัฐมนตรีว่าการทบวง

ค.คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.

อธิบายเพิ่มเติม  มาตรา 8 ก.พ. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1) เสนอแนะและให้ คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหาร ทรัพยากรบุคคลภาครัฐในการดำเนินมาตรฐานค่าตอบแทน การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล รวมตลอดทั้งการวางแผนกำลังคนและด้าน

อื่น ๆ เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ

(2) รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาปรับปรุงเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งเงินเพิ่มค่าครองชีพ สวัสดิการ หรือประโยชน์เกื้อกูลอื่นสำหรับข้าราชการฝ่ายพลเรือนให้เหมาะสม

(3) กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และมาตรฐานการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของ ข้าราชการพลเรือน เพื่อส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ

(4) ให้ ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลังของส่วนราชการ

(5) ออกกฎ ก.พ. และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัตินี้ รวมตลอดทั้งการให้คำแนะนำหรือวางแนวทางในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ ก.พ. เมื่อได้ รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้ บังคับได้

(6) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้ บังคับพระราชบัญญัตินี้รวมตลอดทั้ง กำหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่เป็นปัญหา มติของ ก.พ. ตามข้อนี้เมื่อได้ รับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ใช้ บังคับได้ ตามกฎหมาย

(7) กำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของ ข้าราชการพลเรือนในกระทรวงและกรม เพื่อรักษาความเป็นธรรมและมาตรฐานด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคล รวมทั้งตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ในการนี้ ให้ มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานจากส่วนราชการ หรือให้ ผู้แทนส่วนราชการ ข้าราชการหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงข้อเท็จจริง และให้ มีอำนาจออกระเบียบให้ กระทรวง และกรมรายงานเกี่ยวกับการบริหาร ทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ไปยัง ก.พ.

(8) กำหนดนโยบายและออกระเบียบเกี่ยวกับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนของรัฐบาล ให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน ตลอดจนจัดสรร ผู้ รับทุนที่สำเร็จการศึกษาแล้วเข้ารับราชการในกระทรวงและกรมหรือหน่วยงานของรัฐ

(9) ออกข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดการการศึกษาและควบคุมดูแลและการให้ ความช่วยเหลือบุคลากรภาครัฐ นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง นักเรียนทุนของรัฐบาล และนักเรียนทุนส่วนตัวที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. ตลอดจนการเก็บเงินชดเชยค่าใช้ จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษา ทั้งนี้ให้ถือว่า เงินชดเชยค่าใช้ จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษาเป็นเงินรายรับของส่วนราชการที่เป็นสถานอำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ ตามความหมายในกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ

(10) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อรับรองคุณวุฒิของผู้ได้ รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน และการกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน รวมทั้งระดับตำแหน่งและประเภทตำแหน่งสำหรับคุณวุฒิดังกล่าว

(11) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลตาม พระราชบัญญัตินี้

(12) พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวัน เดือน ปีเกิด และการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน

(13) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น

10.ใครเป็นคน จัดทำยุทธศาสตร์ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของ ข้าราชการฝ่ายพลเรือน

ก.ปลัดกระทรวงการคลัง

ข.ปลัดกระทรวงสำนักงบประมาณ

ค.ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ

ง.สำนักงานข้าราชการพลเรือน

ตอบ  ง.

11.จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือนเสนอต่อ ใครคณะรัฐมนตรี

ก.นายกรัฐมนตรี

ข.คณะรัฐมนตรี

ค.กระทรวงการคลัง

ง.กรมบัญชีกลาง

ตอบ  ข.

12.ใครเป็นคนเสนอแนะและให้ คำปรึกษาแก่กระทรวง กรม เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทาง การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ

ก.ปลัดกระทรวงการคลัง

ข.ปลัดกระทรวงสำนักงบประมาณ

ค.ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ

ง.สำนักงานข้าราชการพลเรือน

ตอบ  ง.

13.ใครเป็นประธาน อ.ก.พ.กระทรวง

ก.อธิบดี

ข.ผู้ว่าราชการจังหวัด

ค.รัฐมนตรีเจ้าสังกัด

ง.ปลัดกระทรวงการคลัง

ตอบ  ค.

14.ใครเป็นผู้พิจารณากำหนดนโยบายระบบ และระเบียบวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลในกระทรวง ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานที่ ก.พ. กำหนด

ก.คณะอนุกรรมการสามัญ

ข.คณะอนุกรรมการสามัญ ประจำกระทรวง

ค.คณะอนุกรรมการสามัญ ประจำกรม

ง.คณะอนุกรรมการสามัญ ประจำจังหวัด

ตอบ  ข.

15.ใครเป็นประธาน อ.ก.พ. กรม

ก.อธิบดี

ข.ผู้ว่าราชการจังหวัด

ค.รัฐมนตรีเจ้าสังกัด

ง.ปลัดกระทรวงการคลัง

ตอบ ก.

16.ในกรณีส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวง อยู่ในบังคับบัญชาของใคร

ก.นายกรัฐมนตรี

ข.รัฐมนตรี

ค.คณะรัฐมนตรี

ง.ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.

ตอบ  ง.

17 “ก.พ.ค.” หมายถึงข้อใด

ก. คณะกรรมการพัฒนาบุคลากร

ข.คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม

ค.คณะกรรมการพัฒนาระบบคุณธรรม

ง.ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ ข.

18.คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมมีกรรมการจำนวนกี่คน

ก.สามคน

ข.ห้าคน

ค.เจ็ดคน

ง.สิบเอ็ดคน

ตอบ  ค.

19.ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ คุณสมบัติของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม

ก.อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี

ข.เป็นหรือเคยเป็นกรรมการกฤษฎีกา

ค.รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอัยการพิเศษประจำเขตหรือเทียบเท่า

ง.รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้ พิพากษาศาลอุทธรณ์หรือ เทียบเท่า

ตอบ ก.

20.ข้อใดเป็นลักษณะต้องห้าม กรรมการ ก.พ.ค.

ก.เป็นข้าราชการ

ข.เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ

ค.เป็นกรรมการในองค์กรกลางบริหารงานบุคคลในหน่วยงานของรัฐ

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา  27  กรรมการ ก.พ.ค. ต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(1) เป็นข้าราชการ

(2) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลใด

(3) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการ บริหารพรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง

(4) เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ

(5) เป็นกรรมการในองค์กรกลางบริหารงานบุคคลในหน่วยงานของรัฐ

(6) ประกอบอาชีพหรือ วิชาชีพอย่างอื่นหรือดำรงตำแหน่งหรือประกอบการใด ๆ หรือเป็น กรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน อันขัดต้องการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดดำรงตำแหน่งกี่ปี นับแต่วันที่ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง

ก. สองปี

ข.สามปี

ค.สี่ปี

ง.หกปี

ตอบ  ง.

22.กรรมการ ก.พ.ค.ดำรงตำแหน่งได้กี่วาระ

ก.วาระเดียว

ข.สองวาระ

ค.สามวาระ

ง.สี่วาระ

ตอบ  ก.

23.ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “การพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ก.พ.ค.

ก.มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์

ข.ตาย

ค.ลาออก

ง.ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ จำคุก

ตอบ  ก.

24.ใครเป็นคนเสนอแนะต่อ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น เพื่อให้ ก.พ. หรือองค์กรกลาง บริหารงานบุคคลอื่น ดำเนินการจัดให้ มีหรือปรับปรุงนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนที่ เกี่ยวกับการพิทักษ์ระบบคุณธรรม

ก.คณะกรรมการคัดเลือกกรรมการ

ข.คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

ค.คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม

ง.คณะอนุกรรมการสามัญ

ตอบ  ก.

25.การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนต้องเป็นไปตามข้อใด

ก.ผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

ข.มีประสิทธิภาพ

ค.ความคุ้มค่า

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.

26.ข้าราชการพลเรือนมีกี่ ประเภท

ก. 2 ประเภท

ข. 3 ประเภท

ค.4 ประเภท

ง. 5 ประเภท

ตอบ  ก.

อธิบายเพิ่มเติม  มาตรา 35  ข้าราชการพลเรือนมี 2 ประเภท คือ

(1) ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้ แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้ รับบรรจุแต่งตั้ง ตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ

(2) ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้ แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้ รับ บรรจุแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

27.วันเวลาทำงานวันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปีและ การลาหยุดราชการของข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามที่ใครกำหนด

ก.นายกรัฐมนตรี

ข.คณะรัฐมนตรี

ค.ปลัดกระทรวงการคลัง

ง.คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

ตอบ  ข.

28.การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คำนึงถึงระบบคุณธรรมตามข้อใด

ก.ความรู้ความสามารถของบุคคล ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และประโยชน์ของทางราชการ

ข.ผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพตำแหน่ง

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.

อธิบายเพิ่มเติม   มาตรา 42 การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ คำนึงถึงระบบคุณธรรมดังต่อไปนี้

(1) การรับบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคล ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และประโยชน์ของทางราชการ

(2) การบริหารทรัพยากรบุคคล ต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพขององค์กรและ ลักษณะของงาน โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม

(3) การพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนตำแหน่งและการให้ประโยชน์อื่นแก่ข้าราชการ ต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรมโดยพิจารณาจากผลงาน ศักยภาพ และความประพฤติ และจะนำความคิดเห็นทางการเมืองหรือสังกัดพรรคการเมืองมาประกอบการพิจารณามิได้

(4) การดำเนินการทางวินัย ต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ

(5) การบริหารทรัพยากรบุคคลต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง

29.ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมีกี่ ประเภทอะไรบ้าง

ก.2 ประเภท  ตำแหน่งประเภทบริหาร  ตำแหน่งประเภทอำนวยการ

ข.3 ประเภท  ตำแหน่งประเภทบริหาร  ตำแหน่งประเภทอำนวยการ  ตำแหน่งประเภทวิชาการ

ค.4 ประเภท ตำแหน่งประเภทบริหาร  ตำแหน่งประเภทอำนวยการ  ตำแหน่งประเภทวิชาการ  ตำแหนงประเภททั่วไป

ง.5 ประเภท  ตำแหน่งประเภทบริหาร  ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ตำแหน่งประเภทวิชาการ  ตำแหนงประเภททั่วไป  ตำแหน่งประเภทบริหารงบประมาณ

ตอบ  ค.

30.หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม อยู่ในประเภทตำแหน่งใด

ก.ตำแหน่งประเภทบริหาร 

ข.ตำแหน่งประเภทอำนวยการ

ค.ตำแหน่งประเภทวิชาการ

ง.ตำแหน่งประเภททั่วไป

ตอบ  ข.

31.ตำแหน่งประเภทอำนวยการ  อยู่ในประเภทตำแหน่งใด

ก.ตำแหน่งประเภทบริหาร 

ข.ตำแหน่งประเภทอำนวยการ

ค.ตำแหน่งประเภทวิชาการ

ง.ตำแหน่งประเภททั่วไป

ตอบ  ง.

32.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับ “ระดับตำแหน่งประเภทบริหาร”

ก.ระดับสูง

ข.ระดับกลาง

ค.ระดับชำนาญการ

ง.ระดับเชี่ยวชาญ

ตอบ  ก.

33.ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “ระดับตำแหน่งประเภทวิชาการ”

ก.ระดับปฏิบัติการ

ข.ระดับเชี่ยวชาญ

ค.ระดับปฏิบัติการ

ง.ระดับสูง

ตอบ  ง.

34.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับ “ระดับตำแหน่งประเภททั่วไป”

ก.ระดับชำนาญงาน

ข.ระดับอาวุโส

ค.ระดับทักษะพิเศษ

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.

35.การสรรหาเพื่อให้ได้ บุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคำนึงถึงข้อใด

ก.พฤติกรรมทางจริยธรรม ของบุคคล

ข.ประโยชน์ของทางราชการ

ค.ประสิทธิภาพของบุคคล

ง.ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข.

ตอบ  ง.

36.การบรรจุและแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ ระดับกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณีให้ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำเสนอใคร เพื่อพิจารณาอนุมัติ

ก.นายกรัฐมนตรี

ข.คณะรัฐมนตรี

ค.คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

ง.ปลัดกระทรวง

ตอบ  ข.

37.การบรรจุและแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นขึ้นตรงต่อใคร

ก.นายกรัฐมนตรี

ข.คณะรัฐมนตรี

ค.คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

ง.ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.

ตอบ  ง.

38.ใครมีอำนาจบรรจุแต่งตั้งแต่ตำแหน่งประเทศอำนวยการ ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ และประเภททั่วไปในสำนักงานรัฐมนตรี

ก.นายกรัฐมนตรี

ข.คณะรัฐมนตรี

ค.คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

ง.รัฐมนตรี

ตอบ  ง.

39.ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ เดียวติดต่อกันเป็นเวลาครบสี่ปีต้องดำเนินการตามข้อใด

ก.สับเปลี่ยนหน้าที่

ข.ย้าย

ค. โอนปฏิบัติหน้าที่อื่น

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.

อธิบายเพิ่มเติม   มาตรา 58 ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ ติดต่อกันเป็นเวลาครบสี่ปี ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57  ดำเนินการให้ มี การสับเปลี่ยนหน้าที่ ย้าย หรือโอนไปปฏิบัติหน้าที่อื่น เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของ ทางราชการจะขออนุมัติคณะรัฐมนตรีให้ คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่เดิมต่อไปเป็นเวลาไม่เกินสองปีก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.กำหนด

40.ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้ ผู้ บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ ผู้นั้นเป็นกรณีเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญหรือให้ได้ รับสิทธิประโยชน์อื่นตามระเบียบที่ใครกำหนด

ก.นายกรัฐมนตรี

ข.คณะรัฐมนตรี

ค.ข้าราชการพลเรือน

ง.ปลัดกระทรวงการคลัง

ตอบ  ข.

41. ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประพฤติตนอยู่ในจรรยาและระเบียบวินัย และปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ ผู้ บังคับบัญชาพิจารณาตามข้อใด

ก.เลื่อนตำแหน่ง

ข.คำชมเชย

ค.เลื่อนเงินเดือน

ง.เครื่องเชิดชูเกียรติ

ตอบ ค.

42.ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาจรรยาข้าราชการตามข้อใด

ก.มุ่งประสงค์ให้เป็นข้าราชการที่ดี

ข.มีเกียรติ

ค.มีศักดิ์ศรีความเป็นข้าราชการ

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.

43.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับ “จรรยาข้าราชการพลเรือนสามัญ”

ก.การยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง

ข.ความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบ

ค.การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.

อธิบายเพิ่มเติม  มาตรา 78 ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาจรรยาข้าราชการตามที่ส่วนราชการกำหนดไว้โดยมุ่งประสงค์ให้เป็นข้าราชการที่ดี มีเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นข้าราชการ โดยเฉพาะในเรื่อง ดังต่อไปนี้

(1) การยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง

(2) ความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบ

(3) การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้

(4) การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม

(5) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน

44.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับ “ข้อปฏิบัติข้าราชการพลเรือนสามัญ”

ก. ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม

ข.ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความตั้งใจ อุตสาหะ เอาใจใส่ และรักษาประโยชน์ของทางราชการ

ค.ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและ ระเบียบของทางราชการ

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 82  ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องกระทำการอันเป็นข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้

(1) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม

(2) ต้อองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ มติของ คณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ

(3) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความตั้งใจ อุตสาหะ เอาใจใส่ และรักษาประโยชน์ของทางราชการ

(4) ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและ ระเบียบของทางราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหาย แก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่ รักษาประโยชน์ของทางราชการจะต้องเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันทีเพื่อให้ ผู้ บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้นและเมื่อได้เสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้ บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติ ตามคำสั่งเดิมผู้อยู่ใต้ บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม

(5) ต้องอุทิศเวลาของตนให้ แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้

(6) ต้องรักษาความลับของทางราชการ

(7) ต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคีและต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการ ระหว่างข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ

(8) ต้องต้อนรับให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชน ผู้ ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน

(9) ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ราชการและในการปฏิบัติการอื่น ที่เกี่ยวข้องกับประชาชน กับจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยมารยาททางการเมือง ของข้าราชการด้วย

(10) ต้องรักษาชื่อเสียงของตน และรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้ เสื่อมเสีย

(11) กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดกฎหมายก.พ.

45.ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “ข้อห้ามของข้าราชการพลเรือน”

ก.ต้องไม่รักษาชื่อเสียงของตน และรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้ เสื่อมเสีย

ข.ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้ บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้งถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย

ค.ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ

ง.ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ ติดต่อราชการ

ตอบ  ก.

อธิบายเพิ่มเติม  มาตรา 83   ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการใดอันเป็นข้อห้ามดังต่อไปนี้

(1) ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้ บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้ง ถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย

(2) ต้องไม่ปฏิบัติราชการอันเป็นการกระทำการข้ามผู้ บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ ผู้ บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้ กระทำหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว

(3) ต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ ผู้ อื่นอาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ให้ แก่ ตนเองหรือผู้ อื่น

(4) ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ

(5) ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ ผู้ อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรม หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน

(6) ต้องไม่เป็นกรรมการผู้ จัดการ หรือผู้ จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงาน คล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท

(7) ต้องไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้ง กดขี่ หรือข่มเหงกันในการปฏิบัติราชการ

(8) ต้องไม่กระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศตามที่กำหนดกฎ  ก.พ.

(9) ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ ติดต่อราชการ

(10) ไม่กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดกฎ  ก.พ.

46.การกระทำผิดวินัยข้อใดเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

ก.ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ อย่างร้ายแรง

ข.กระทำการอันได้ ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง

ค.ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง หรือทำร้ายประชาชนผู้ ติดต่อราชการอย่างร้ายแรง

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.

47.โทษทางวินัยมี มีกี่ สถาน และมีอะไรบ้าง

ก.2 สถาน  ภาคทัณฑ์   ตัดเงินเดือน

ข.3 สถาน  ภาคทัณฑ์   ตัดเงินเดือน  ลดเงินเดือน

ค.4 สถาน  ภาคทัณฑ์   ตัดเงินเดือน  ลดเงินเดือน   ปลดออก

ง.5 สถาน  ภาคทัณฑ์   ตัดเงินเดือน  ลดเงินเดือน   ปลดออก    ไล่ออก

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม   มาตรา 88   ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย จะต้องได้ รับโทษทางวินัย เว้นแต่ มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 8  การดำเนินการทางวินัย โทษทางวินัยมี 5 สถาน ดังต่อไปนี้

(1) ภาคทัณฑ์

(2) ตัดเงินเดือน

(3) ลดเงินเดือน

(4) ปลดออก

(5) ไล่ออก

48.การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสำหรับกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งต่างกันหรือต่างกรมหรือต่างกระทรวงกันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกัน(สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญในกรมเดียวกัน ที่อธิบดีหรือปลัดกระทรวงถูกกล่าวหา ว่ากระทำผิดวินัยร่วมกับผู้ อยู่ใต้ บังคับบัญชาให้ใครเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน)

ก.ปลัดกระทรวง

ข.รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

ค.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข.

ตอบ  ง.

49.ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงสั่งลงโทษตามข้อใด

ก.โทษภาคทัณฑ์

ข.ปลดออก

ค.ไล่ออก

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ   ง.

50.ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนตามข้อใด

ก.ทำเป็นหนังสือ

ข.ภาคทัณฑ์

ค.ลดเงินเดือน

ง.ตัดเงินเดือน

ตอบ ก.

51.ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “การออกจากราชการ”

ก.พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

ข.อายุครบ 55 ปี บริบูรณ์

ค.ถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก

ง.ถูกสั่งให้ ออก

ตอบ  ข.

52.ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ ยื่นหนังสือ ขอลาออกต่อผู้ บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งโดยยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่ากี่วัน

ก.สิบห้าวัน

ข.สามสิบวัน

ค.เก้าสิบวัน

ง.หนึ่งร้อยแปดสิบวัน

ตอบ  ข.

53.ในกรณีที่ผู้ บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์ แก่ราชการ จะยับยั้งการลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินกี่วันนับแต่วันขอลาออก

ก.สิบห้าวัน

ข.สามสิบวัน

ค.เก้าสิบวัน

ง.หนึ่งร้อยแปดสิบวัน

ตอบ  ค.

54. ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือถูกสั่งให้ ออกจากราชการผู้ นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค. ภายในกี่วัน นับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่ง

ก.สิบห้าวัน

ข.สามสิบวัน

ค.เก้าสิบวัน

ง.หนึ่งร้อยแปดสิบวัน

ตอบ  ข.

55.ข้อใดกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์อาจถูกคัดค้านได้

ก.รู้เห็นเหตุการณ์ในการกระทำผิดวินัยที่ผู้ อุทธรณ์ถูกลงโทษหรือการถูกสั่งให้ ออกจากราชการ

ข.มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้อุทธรณ์

ค.เป็นผู้กล่าวหา หรือเป็นหรือเคยเป็นผู้บังคับบัญชาผู้สั่งลงโทษหรือสั่งให้ ออกจากราชการ

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.

56.ข้อใดถูกต้องกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์อาจถูกคัดค้านได้

ก.มีส่วนได้เสียในเรื่องที่ร้องทุกข์

ข.มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ ร้องทุกข์

ค.เป็นผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจ

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน
บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์