โกโก้ไทย

   โกโก้ มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณเขตร้อนชื้นของทวีปอเมริกา โดยเฉพาะแถบลุ่มแม่น้ำอเมซอน และบางส่วนในทวีปอเมริกากลาง อินเดียนเป็นพวกแรกที่ทำการปลูกโกโก้และนำเมล็ดมาทำเครื่องดื่มที่รู้จักกันว่าเป็นเครื่องดื่มของพระเจ้า ทั้งยังใช้เมล็ดโกโก้แลกเปลี่ยนสินค้ายังชีพอื่นๆ ระหว่างกันพวกอินเดียนเรียกเมล็ดโกโก้ว่า “Cacahualt” ต่อมาผันเป็นชื่อ “Cacao” ส่วนเครื่องดื่มที่ผลิตได้จากเมล็ดโกโก้ เรียกว่า “Xocoatl”ต่อมาผันเป็นชื่อ “Chocolate” ชาวสเปนเป็นชาติแรกที่เริ่มทำเครื่องดื่มจากเมล็ดโกโก้ผสมกับน้ำตาลจากอ้อย และได้เริ่มปลูกโกโก้อย่างจริงจังในแถบร้อนชื้นของทวีปอเมริกา ในประเทศโคลัมเบีย เวเนซูเอล่า แม็กซิโก ทรินิแดด และ อีเควดอร์ เป็นต้น ส่วนในทวีปเอเชียนั้น ชาวดัตซ์และสเปน ได้นำโกโก้เข้ามาปลูกในอินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ เป็นเวลานานก่อนที่จะมีการนำเข้ามาปลูกในประเทศมาเลเซียต่อมา สำหรับในประเทศไทยโกโก้นำเข้ามาปลูกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2446 โดยหลวงราชเคนิกร  แต่ไม่ได้ปลูกกันแพร่หลายและถูกละเลยในเวลาต่อมา ด้วยไม่ทราบถึงการนำไปใช้ประโยชน์ ต่อมาในปี 2515 จึงได้เริ่มมีการนำโกโก้จากต่างประเทศเข้ามาปลูกศึกษาอย่างจริงจัง ในหน่วยงานภาครัฐ ทั้งที่สถานที่ทดลองยางในช่อง จ.กระบี่ และสถานีทดลองพืชสวนสวี จ.ชุมพร และขยายไปปลูกอย่างแพร่หลายตามจังหวัดต่างๆ ทั้งในภาคใต้ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกในปัจจุบัน

ลำต้นโกโก้

 

 

    โกโก้เป็นไม้พุ่มขนาดใหญสูงประมาณ 4-20 เมตร ในสภาพธรรมชาติและ 3-6 เมตร เมื่อนำมาปลูกในลักษณะแปลงปลูกปกติแล้วเมื่อยังเปนกล้าโกโก้อยู่นั้นจะไม่มีกิ่งแขนงลักษณะใบบนต้นจะเรียงตัวแบบบันไดเวียน (Spiral) เมื่อเจริญเติบโตได้สูงประมาณ 1-2 เมตร ตาที่ยอดจะพัฒนาเติบโตเปนกิ่งขาง 3-5 กิ่ง ซึ่งจุดที่เปนจุดศูนย์รวมของการแตกกิ่งขางนี้เรียกว่าคาคบ (Jorquette) นอกจากคาคบแลวบริเวณลำตนจะมีตาที่สามารถเจริญเติบเปนกิ่งกระโดงไดซึ่งเรียกว่า Chupon โดยในแต่ละลำต้นจะมี Chupon มากมายซึ่งตองคอยตัดแตงทิ้งสำหรับใบบนกิ่งขางหรือ Fanbranch นี้จะมีการเรียงตัวแบบตรงข้ามสลับกัน(alternate)นอกจากนี้บริเวณลำต้นยังมีปุมตาดอก(Flower chusion) อยู่กระจายไปทั่วลำต้น

 

รากโกโก้ 

 

                     

 

 รากแก้วของต้นกล้าโกโก้จะงอกลงไปในดินตามแนวดิ่งประมาณ 2 เมตร ส่วนรากแขนงยาวประมาณ 5-6 เมตร ส่วนมากพบว่าจะเจริญเติบโตลึกจากผิวดินประมาณ15-20 เซนติเมตร การเจริญเติบโตของรากโกโก้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ คือ ดิน น้ำอากาศ ดินที่มีการระบายน้ำไม่ดี เช่น ดินเหนียว ระดับน้ าสูง อากาศ มีออกซิเจนน้อย รากแก้วของโกโก้จะลงไม่ลึกเกิน 45 เซนติเมตร แต่ถ้าดินร่วน น้ าน้อย รากแก้วจะเจริญเติบโตลงลึกมากต้นโกโก้ที่ปลูกโดยเมล็ดจะมีรากแก้ว แต่ถ้าต้นโกโก้ที่เจริญเติบโตจากการตัดกิ่งจะไม่มีรากแก้ว แต่จะมีรากที่พัฒนาขึ้นมาจากรากแขนงประมาณ 2-3 ราก ทำหน้าที่คล้ายรากแก้วจะงอกลงดินตามแนวดิ่งทำหน้าที่ยึดลำต้น สำหรับรากแขนงทั่วไปจะทำหน้าที่ดูดน้ำและแร่ธาตุในดิน

 

ใบโกโก้ 

  

                      

 

ใบที่เกิดบริเวณกิ่งกระโดง (Chupon) จะมีลักษณะก้านใบยาว แต่ใบที่เกิดบริเวณกิ่งข้าง (Fan branch) จะมีก้านใบสั้นกว่า ใบที่เกิดบริเวณกิ่งข้างจะมีจำนวนพอๆ กันตาที่ปลายกิ่งข้างจะผลิใบใหม่อีก การแตกใบใหม่ของโกโก้แต่ละครั้งจำเป็นต้องใช้ธาตุอาหารเพิ่มขึ้นโดยดึงธาตุอาหารจากใบแก่ทำให้ใบแก่ร่วงหล่นโกโกที่ต้นสมบูรณ์ใบแก่จะร่วงหล่นน้อยแต่ถ้าต้นโกโก้ไม่สมบูรณ์การผลิตใบอ่อนจะส่งผลให้ใบแก่ร่วงหล่นมาก ใบโกโก้มีปากใบอยู่ใต้ใบ จำนวนปากใบต่อหน่วยพื้นที่ขึ้นกับความเข้มของแสงที่ได้รับความเข้มของแสงยังมีผลต่อขนาดของใบ และความหนาของใบโกโก้รวมทั้งปริมาณคลอโรฟิลในใบโกโก้ใบโกโก้ที่อยู่ใต้ร่มเงาหนาทึบ ใบจะมีขนาดใหญ่และมีสีเขียวเข้มกว่าใบโกโก้ที่ได้รับแสงเต็มที่

 

 

ดอกโกโก้

 

                         

 

โกโก้ออกดอกตามต้น (Auliflower) หรือตามกิ่ง(Ramiflower) นับเป็นลักษณะพิเศษของโกโก้ฐานรองดอกมี 5 แฉก เป็นสีชมพูและมีกลีบดอกสีขาวเหลืองเป็นรูปถุง 5 ถุง จากจำนวนละอองเกสร 10 อัน มีอยู่ 5 อันที่เป็นละอองเกสรตัวผู้ที่ผสมได้(Stamen) โดยมีอับละอองเกสรตัวผู้ซึ่งอยู่ในถุงของกลีบดอกจากฐานรองดอก (Receptacle) 5 แฉก มีเกสรตัวเมีย (Pistil) ยื่นมาข้างบน 1 อัน ที่ปลายมี5 แฉก เป็นที่รับละอองเกสรตัวผู้โดยทั่วไปการผสมเกสรจะเกิดจากแมลง หรือลมพัดพาแต่จะมีจำนวนน้อยมากแต่จากการที่อับละอองเกสรตัวผู้ (Anther) หลบอยู่ในถุงของกลีบดอก จึงทำให้ไม่มีการผสมตัวเองในโกโก้บางชนิด เช่น พวก Upper Amazon ในปีหนึ่งๆ โกโก้สามารถออกดอกได้มากกว่า 10,000 ดอกแต่โดยเฉลี่ยจะมีการผสมของดอกเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ และเจริญจนเก็บเกี่ยวได้เหลือเพียง 0.5-0.7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นโดยปกติแล้วดอกโกโก้จะร่วงเมื่อไม่ได้รับการผสมเกสรภายใน 1 วัน

 

 

ผลโกโก้

 

                  

 

   หลังเกิดการผสมเกสร ผลโกโก้จะเริ่มพัฒนาจนกระทั่งแก่ใช้ระยะเวลาประมาณ 5-6 เดือน ผลเล็กๆ ของโกโก้ที่กำลังเจริญขึ้นมาเรียกว่า “เชเรล” (Cherelle) ในช่วงระหว่าง 2-3 เดือนแรกของการเจริญของผลหากโกโก้ได้รับน้ำและสารอาหารไม่เพียงพอผลอ่อนหรือเชเรลจะแห้งและเปลี่ยนเป็นสีดำ (Cherelle wilt) บางครั้งผลแห้งอาจสูงถึง 80 % ของผลอ่อนทั้งหมดหลังจากผลเติบโตประมาณ 90 วัน ผลโกโก้ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร โกโก้จะผลิตฮอร์โมนซึ่งทำหน้าที่ช่วยให้เมล็ดโกโก้เจริญเติบโตและยับยั้งการเหี่ยวของผลอ่อน (Cherelle wilt) ผลจะเจริญเติบโตจนกระทั่งผลแก่และเก็บเกี่ยว นอกเสียจากถูกทำลายโดยโรคหรือแมลง ผลโกโก้แก่หรือที่เรียกว่า ฝักโกโก้ (Pod) มีหลายขนาดและหลายสี ขนาดความยาวของฝักตั้งแต่ 10-30 เซนติเมตร ตามปกติโดยพื้นฐานฝักจะมี 2 สี ฝักอ่อนมีสีเขียวเมื่อสุกจะมีสีเหลือง หรือฝักอ่อนสีแดงเข้มเมื่อสุกฝักจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม

 

เมล็ดโกโก้

 

                   

 

จำนวนเมล็ดโกโก้ใน 1 ฝักจะมีตั้งแต่ 20-40 เมล็ด ซึ่งเมล็ดโกโก้ไม่มีการพักตัวและเป็นพวก epigeal เมล็ดจะมีเยื่อหุ้มอีกชั้นหนึ่ง เรียกว่า mucilage เนื้อในเมล็ดมีสีขาวหรือม่วงแล้วแต่สายพันธุ์ เมล็ดโกโก้แต่ละเมล็ดจะห่อหุ้มด้วยเยื่อและเมือก (เมือกเหล่านี้จะทำให้เกิดกลิ่นหอมของช็อคโกแลตหลังจากหมักเมล็ดโกโก้เสร็จ) เมื่อผลโกโก้แก่เต็มที่เซลเนื้อเยื่อเหล่านี้จะแยกออก ทำให้เมล็ดโกโก้หลุดจากกันได้ง่าย ฝักโกโก้เมื่อสุกจะไม่แตกออกให้เมล็ดกระจายเหมือนถั่วและฝักจะไม่ร่วงหล่นลงมาจากต้น แต่โดยธรรมชาติสัตว์ต่างๆ เช่น ลิง, กระรอก, หนู และนก จะมากัดหรือเจาะฝักเพื่อดูดกินเยื่อหุ้มเมล็ดซึ่งมีรสหวานและทิ้งเมล็ดแพร่กระจายไปในที่ต่างๆ ซึ่งบางต้นอาจจะขึ้นห่างจากต้นแม่ในระยะทางห่างไกลหลายกิโลเมตร

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน
บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์