RCEP คืออะไร แล้วประเทศไทยได้ประโยชน์อะไรบ้าง?

RCEP คืออะไร แล้วประเทศไทยได้ประโยชน์อะไรบ้าง?

RCEP คือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ (Regional Comprehensive Economic Partnership) ประกอบไปด้วยสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ 10 ประเทศ สมาชิก อาเซียน คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา และ 5 ประเทศคู่เจรจา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ได้ทำการร่วมลงนามเรียบร้อยแล้วในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2020 ที่ผ่านมา ซึ่งถือว่า เป็นพื้นที่การค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ ตอนนี้เลยทีเดียว

RCEP ถือเป็นหนึ่งในความตกลงพันธมิตรทางการค้าระดับภูมิภาคที่เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่ง RCEP นับเป็นกรอบการค้าเสรีที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก คิดเป็น 31% ของ GDP โลก และยังมีขนาดตลาดผู้บริโภคใหญ่ที่สุดด้วยจำนวนประชากรรวมกันราว 2.3 พันล้านคน ความตกลงนี้ยังต้องรอให้รัฐสภาของชาติในหลายๆ ประเทศให้สัตยาบันก่อน ถึงจะมีผลบังคับใช้ได้ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564

แล้วประเทศไทย ได้รับผลกระทบอะไรบ้าง กับ RCEP?

สิ่งแรกที่จะกระทบกับ ไทยก็คือ การลดภาษีสินค้า ให้ได้สูงสุด อาจจะถึง 99% ของสินค้าทั้งหมดเลยทีเดียว ซึ่งปกติ สินค้าไทย ส่งออกไปสู่ตลาดเหล่านี้ อยู่ที่ 9.18 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนถึง 53% ของสินค้าส่งออกทั้งหมด

สิ่งที่สองคือ RCEP จะช่วยสร้างสมดุลทางการค้าการลงทุนในระหว่างภูมิภาคของโลก โดยการผนึกกำลังครั้งสำคัญของประเทศในเอเชีย โดยมี จีน เป็นแกนนำความตกลง เพื่อให้ภูมิภาคนี้ มีบทบาทมากขึ้นในเวทีโลก สามารถช่วยคานอิทธิพลชาติตะวันตกที่มีต่อประเทศสมาชิกได้ โดยเฉพาะประเทศในอาเซียน 

ซึ่งไทยเองมีความสัมพันธ์ทางการค้าการลงทุนที่เหนียวแน่นกับประเทศสมาชิก RCEP อยู่แล้ว ไทยจะได้รับอานิสงส์ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน

การลดกำแพงภาษีในครั้งนี้ จะส่งผลให้ประเทศสมาชิกมีผลประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ไทยยังคงมีความได้เปรียบในด้านการผลิตและส่งออก เช่น ยานยนต์ และชิ้นส่วน เม็ดพลาสติก และผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ ยางพารา และผลิตภัณฑ์ยาง ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์

แต่อย่างไรก็ตาม ข้อตกลง RCEP อาจเอื้อประโยชน์ทางการค้าการลงทุนระหว่างประเทศในกลุ่ม Plus 5 มากกว่า คือ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์

นอกจากนี้การที่อินเดียยังไม่เข้าร่วมความตกลง RCEP ทำให้ข้อตกลงนี้มีความน่าสนใจน้อยลงในสายตาของนักลงทุนต่างชาตินอกกลุ่ม RCEP ซึ่งต้องรอดูว่าอินเดียจะตัดสินใจกลับเข้ามาร่วมกับกรอบความตกลงนี้อีกครั้งหรือไม่

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน

Engineering Knowledge Learning Center [EKLC]

บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์