ThinkPad : จากแป้นพิมพ์ผีเสื้อ สู่แล็ปท็อปทนดั่งปูน สุดยอดแล็ปท็อปมาตรฐานที่ใครๆ ก็บอกว่า "แข็งแกร่ง"

แล็ปท็อป คอมพิวเตอร์พกพาขวัญใจนักธุรกิจมาช้านาน ด้วยความสะดวกสบายในการพกพาไปไหนก็ได้  ไม่ต้องเอาคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ออกไป แล็ปท็อปจึงได้ครอบครองหัวใจนักธุรกิจมาตั้งแต่นั้นมา

 

ผ่านมาตั้งแต่ Epson ผลิตคอมพิวเตอร์พกพาเครื่องแรกในโลกในปี 1980 และวางขายปีต่อมา ประชาชนก็ได้เบิกตาสู่ความสะดวกสบายที่กำลังจะเกิดขึ้นในหลายสิบปีข้างหน้า จากนั้น ทุกบริษัทที่ผลิตสินค้าเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ต้องผลิตออกมาให้ประชาชนได้จับต้องได้

 

หนึ่งในบริษัทที่กำลังจ้องจะรุกตลาดแล็ปท็อปนั้นคือ ไอบีเอ็ม มือเด็ดด้านคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่ยุคคุณปู่ ที่กำลังบุกเกมแห่งขายแล็ปท็อปด้วยฝีเท้าใหญ่ เหยียบลงแล้วสนั่นทั่วเมือง ด้วยแล็ปท็อปที่จะกลายเป็นมาตรฐาน นั้นคือ ThinkPad

 

ThinkPad คือแล็ปท็อปสำหรับธุรกิจ คิดค้นครั้งแรกโดย โรงงานผลิต ไอบีเอ็ม ยามาโตะ ประเทศญี่ปุ่น ในปี 1990 และวางขายปี 1992

 

เรื่องราวมีอยู่ว่า ไอบีเอ็มต้องการผลิต ThinkPad เพี่อดวลหมัดกับโตชิบาและคอมแพค ที่ผลิตแล็ปท็อปขายดีในประเทศ งานใหญ่ยักษ์จึงมาตกกับ อาริมาสะ ไนโอะ วิศวกรของไอบีเอ็มที่ทำงานมานานตั้งแต่ช่วงปี 1970's 

 

ชื่อของ ThinkPad นั้นมากจากสโลแกนของไอบีเอ็ม โดยสโลแกนว่า "THINK" ซึ่ง โทมัส เจ วัตสัน เป็นผู้นำเสนอสโลแกนมาตั้งแต่ยุด 1920's 

 

โดยไอบีเอ็มมักจะมอบสมุดจดบันทึกหนังสือน้ำตาลขนาดเล็ก และมีคำว่า "THINK" ประทับไว้บนปก ให้กับลูกค้าและพนักงาน และชื่อ "ThinkPad" มาจากพนักงานของไอบีเอ็มที่มีนามว่า เด็นนี่ เวนไวท์ ที่ได้ความคิดชื่อจากสมุดจดที่ไอบีเอ็มแจกให้ แต่เกือบไม่ได้ใช้ เพราะฝ่ายคิดชื่อของไอบีเอ็มไม่ค่อยชอบเท่าไร เพราะยุคนั้นไอบีเอ็มมักจะชอบตั้งชื่อคอมพิวเตอร์ที่ผลิตเป็นตัวเลข

 

ในเดือนเมษายน ปี 1992  ไอบีเอ็มได้ประกาศการวางขายของ ThinkPad รุ่นแรก คือ ThinkPad เดอะ 700 และเปลี่ยนชื่อเป็น 700T หลังจากปล่อย 3 โมเดลใหม่เช่น เดอะ 300 รุ่น 700(ใหม่) และ 700C  

 

และไอบีเอ็มได้นำนวัตกรรมเคอร์เซอร์ในแป้นพิมพ์ โดยเป็นจุดสีแดงที่อยู่ะหว่าง ตัวอักษร G H และ B ชึ่งทำหน้าที่แทนเมาส์ และกลายเป็นอีกหนึ่งสิ่ง ที่ทุกคนมักจะนึกถึง ThinkPad

 

นอกจากเคอร์เซอร์แล้ว ThinkPad 701 เป็นแล็ปท็อปตัวเดียวของไอบีเอ็ม ที่มีแป้นพิมพ์ที่สามารถขยายตัวได้เมื่อเปิดฝาแล็ปท็อป และจะเก็บตอนปิดฝา เพราะด้วยขนาดของตัวแล็ปท็อปที่เล็ก และไม่สามารถหาแป้นพิมพ์ที่มีขนาดเท่ากันได้

 

ThinkPad คือแล็ปท็อปที่ผลิตโดยไอบีเอ็มโฉมใหม่ที่มีชื่อว่า บุคลิกผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง โดยกลยุทธ์การตลาดนี้ มาจากการร่วมมือของ ริกซาร์ด แช็ปเปอร์ นักออกแบบชาวอิตาลี และ ทอม ฮาร์ดี้ หัวหน้าฝ่ายออกแบบของไอบีเอ็ม และญี่ปุ่น

 

ด้วยแล็ปท็อปที่ผลิตออกมาก่อนอินเตอร์เน็ตจะดังระเบิด การร่วมมือกันของอิตาลีและญี่ปุ่นนั้นจัดการโดยโชนี่ ที่ช่วยส่งรูปผ่านสายโทรศัพท์  โดยไอบีเอ็มนำระบบนี้ไปใช้ติดต่อกับนักออกแบบของไอบีเอ็มได้ง่ายขึ้น 

และฮาร์ดี้ได้รางวัล innovator of the Year 1992 จากนิตยสาร PC Magazine

 

นอจากแล็ปท็อปที่ผลิตออกมาแล้ว ThinkPad ได้ผลิตแท็บแล็ตออกมาด้วย โดยมีนามว่า IBM 2521 ThinkPad ผลิตออกมีจำหน่ายครั้งแรกในเดือนตุลาคม ปี 1992 

 

ไอบีเอ็มวางขาย ThinkPad ด้วยกลยุทธ์การตลาดสุดแสบเช่น pre-launch, โปรแกรมให้ยืมใช้ เพื่อให้หลากหลายอาชีพได้ทดลองยอดแล็ปท็อป 

 

ThinkPad ได้เข้าไปอยู่ในสถานการณ์หนักกับนักโบราณคดีที่เมือง เลออนโตโปลิส ประเทศ อียิปต์ โดยผลงานที่โชว์ให้นักโบราณคดีเห็นนั้น คือความทนทานต่อสภาพอากาศอันเลวร้าย และทนทานต่อการกระแทก จึงสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องแคร์อะไรเลย

 

โดยความทนทานและความแตกต่างที่ไอบีเอ็มใส่ลงไปนั้น ทำให้ไอบีเอ็มความรางวัลมากกว่า 300 รางวัลในด้านการออกแบบและคุณภาพ 

 

หลังจากที่ไอบีเอ็มบุกตลาดมานาน บริษัทเทคโนโลยีที่มีนามว่า เลโนโว่ ได้ซื้อธุรกิจคอมิวเตอร์ส่วนตัวของไอบีเอ็ม รวมถึง ThinkPad ด้วย และปัจจุบัน เลโนโว่ จะเป็นผู้ผลิตและวางจำหน่าย ในขนาดที่ไอบีเอ็มเป็นรับผิดชอบในการซ่อมแซม

 

ตลอดเวลา 31 ปีกว่า ที่ ThinkPad วางตลาดนั้น การออกแบบของตัวเครื่องนั้นยังคงเดิม แต่ปรับเปลี่ยนระบบและความแตกต่าง

 

โดยการออกแบบนั้น มาจากกล่องข้าวเบนโตะ และมีสีดำเรียบง่าย เพื่อให้ผู้ใช้ ได้ตกใจกับสิ่งที่เห็นตอนเปิดฝาแล็ปท็อปออกมา เหมือนกับกล่องข้าวเบนโตะ ที่ดุเรียบด้านนอก แต่มีสิ่งที่น่าสนในด้านใน

 

นอกจากตะลุยเมืองเลออนโตโปลิสมาแล้ว ยังเคยเดินทางปนอกโลกมาแล้ว โดยวันที่ 2 ธันวาคม ปี 1993 ThinkPad ได้เดินทางไปซ่อมแซม Hubble Space Telescope กับการทดลองของนาซ่า ที่ทดลองเกี่ยวกับรังสีและผลกระทบของรังสีต่อแล็ปท็อป และยังได้รับใบรับรองว่า สามารถใช้ได้บนสถานีอวกาศนอกโลก โดยเป็นแล็ปท็อปรุ่นเดียวที่ใบรับรองนี้ 

 

และรีวิวจากลูกค้าที่ได้ใช้ ThinkPad ที่ได้บอกเล่าเรี่องราวของความทนนทานที่ผ่านหลายสถานการณ์ที่โหดเหี้ยมสุด แล็ปท็อปอื่นๆ ไม่กล้าสู้ได้เช่น พายุอีวานที่ถล่มพร้อมกับน้ำท่วม 4 ฟุต ที่ส่ง ThinkPad จมน้ำเค็มนานหลายชั่วโมง, ผ่านเหตุไฟไหม้ที่ทำให้ตัวแล็ปท็อปละลาย, ผ่านการเหยียบโดยรถยนต์, และผ่านหลายหลากหลายภัยธรรมชาติ นานถึง 11 เดือน

 

ณ จุดนี้ หลายแล็ปท็อปคงเจ๊ง แต่กับไม่ใช่ ThinkPad ที่สามารถเปิดเครี่องได้ ในขนาดที่ตัวแล็ปท็อปโดนทำร้ายอย่างหนัก จึงทำให้ความทนทานของ ThinkPad ครองใจทุกอาชีพตลอดมา

 

จนกระทั่งปัจจุบัน ThinkPad ยังคงบุกตลาดได้อยู่เรื่อยๆ โดยตอนนี้ เลโนโว่ได้ผลิต ThinkPad ที่เป็นแท็บแล็ตผสมแล็ปท็อป ที่มีจอขนาดใหญ่ และสามารถพับได้เต็ม และแล็ปท็อปที่เบาแต่ทนทานสุด 

 

ขอคารวะความทนทาน และการออกแบบสุดเท่ ที่ทำให้ทุกงานผ่านเรียบ สำหรับ ThinkPad สัก 10 จอก

 

และหวังว่า ThinkPad จะคู่มนุษย์ตลอดไปเรื่อยๆ เพราะไม่มีใครแข็งแกร่งเกิน ThinkPad แล้วละ 

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน
บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์