ว่าด้วยเรื่อง "Term limit" การหมดวาระของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

การจำกัดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งเป็นกลไกหนึ่งในทางการเมืองที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อควบคุมการ "ผูกขาด" อำนาจจากการดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นประมุขแห่งรัฐ เช่น ประธานาธิบดีหรือแม้กระทั่งกษัตริย์หรือสุลต่าน รวมถึงประมุขฝ่ายนิติบัญญัติในบางประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาดอำนาจจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

ซึ่งการไม่มีกลไกดังกล่าวก็ทำให้บางประเทศเกิดตำแหน่งที่เรียกว่า "President for life" หรือ "ประธานาธิบดีตลอดชีวิต" เช่น เติร์กเมนิสถานและเกาหลีเหนือและเพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศตกอยู่ภายใต้ความเป็นเผด็จการหรือเกิดอำนาจเบ็ดเสร็จในทางพฤตินัย

ลักษณะการจำกัดระยะเวลานั้นมี 2 รูปแบบที่เด่นชัด ได้แก่

1. จำกัดระยะเวลาในลักษณะของการห้ามดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกำหนด แต่สามารถกลับมาดำรงตำแหน่งเดิมได้หากมีการผลัดเปลี่ยนตัวบุคคล ตัวอย่างสถานการณ์ คือ นาย A ดำรงตำแหน่งครบ 8 ปี แล้วลงจากตำแหน่งให้นาย B ดำรงตำแหน่งต่อไปอีก 4 ปี ก่อนที่ให้นาย A กลับมาดำรงตำแหน่งได้อีก 8 ปี หรือก็คือมีการรีเซ็ตลิมิตของแต่ละบุคคลนั่นเอง

ตัวอย่างที่สำคัญคือลักษณะการผลัดเปลี่ยนตำแหน่งประธานาธิบดี - นายกรัฐมนตรีรัสเซียของ Vladimir Putin กับ Dmitry Medvedev ในปี 2008 พบว่าปูตินดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมาตั้งแต่ปี 2000 จนถึงลิมิตตามรัฐธรรมนูญที่ 8 ปี จึงต้องหยุดการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีและมอบให้บุคคลใกล้ชิดอย่างเมดเวเดฟลงสมัครเลือกตั้งในปี 2008 ส่วนตัวปูตินเองก็ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีเมดเวเดฟ ให้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนเมดเวเดฟจนกระทั่งหมดวาระกันทั้งคู่ในปี 2012 ปูตินก็กลับไปลงชิงสมัครเลือกตั้งในนั้น

2. จำกัดระยะเวลาในลักษณะของการห้ามดำรงตำแหน่งเกินกำหนดไปตลอดชีวิต โดยไม่สามารถกลับมาเป็นได้อีกไม่ว่าจะช่วงเวลาใดก็ตาม ตัวอย่างสถานการณ์ คือ นาย A ดำรงตำแหน่งครบ 8 ปี แล้วต้องลงจากตำแหน่งและไม่สามารถกลับมาดำรงตำแหน่งในอนาคตได้อีก ไม่ว่าจะช่วงเวลาใดก็ตาม ไม่มีการรีเซ็ตลิมิต

ตัวอย่างที่สำคัญคือวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ซึ่งตัวบุคคลเมื่อดำรงตำแหน่งจนครบ 2 วาระ 8 ปีแล้ว จะไม่สามารถกลับไปลงชิงตำแหน่งได้อีกตลอดชีวิต ความแตกต่างที่ชัดเจนคือการดำรงตำแหน่งครบ 8 ปีของบารัค โอบามา และการดำรงตำแหน่งเพียง 4 ปีของโดนัล ทรัมป์ ซึ่งทรัมป์สามารถกลับไปลงชิงตำแหน่งได้ในปี 2024 แต่ไม่ใช่สำหรับโอบามา

 

โดยส่วนใหญ่ ประเทศที่นำระบบจำกัดวาระมาใช้มักจะเป็นประเทศที่ปกครองโดยประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและ/หรืออาจเป็นประมุขฝ่ายบริหารด้วย ซึ่งมีอำนาจมากเมื่อเทียบกับประมุขฝ่ายบริหารเพียงตำแหน่งเดียว (ประธานาธิบดีส่วนใหญ่มักจะมีอำนาจมากกว่านายกรัฐมนตรีและประเทศที่มีประธานาธิบดีส่วนใหญ่มักจะไม่มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรี)

ซึ่งในประเทศที่ปกครองด้วยระบบรัฐสภา มีประมุขฝ่ายบริหารมาจากรัฐสภา คือ มีนายกรัฐมนตรี จะไม่นิยมนำระบบจำกัดวาระมาใช้ เนื่องจากนายกรัฐมนตรีไม่มีอำนาจมากเหมือนประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี(ฝ่ายบริหารจะถูกตรวจสอบถ่วงดุลโดยฝ่ายค้านและสภาสูงอยู่แล้ว ซึ่งทั้งคู่ก็มีกลไกในการยุติอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารได้ เช่น การลงมติไม่ไว้วางใจ การไม่อนุมัติกฎหมายต่างๆ ทำให้กฎหมายเป็นอันต้องตกไปจากการพิจารณา ส่งผลให้ฝ่ายบริหารจำเป็นต้องลาออกเพื่อรับผิดชอบ เป็นการสิ้นสุดอำนาจของฝ่ายบริหารโดยง่าย

ซึ่งสิ่งเหล่านี้รัฐสภาไม่สามารถทำได้กับประธานาธิบดีซึ่งเป็นประมุขแห่งรัฐ แต่ก็มีกลไกการ "ถอดถอน" ซึ่งรัฐสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติอาจร่วมมือกับศาลหรือฝ่ายตุลาการในการดำเนินการถอดถอนประธานาธิบดีหรือฝ่ายบริหารได้ แต่ก็เป็นเพียงวิธีเดียวที่ชัดเจนที่สุดและทรงประสิทธิภาพที่สุดที่มี จึงจำเป็นต้องนำระบบจำกัดวาระมาใช้กับตำแหน่งประธานาธิบดีเพื่อแก้ไขปัญหาการผูกขาดอำนาจอีกทางหนึ่ง

ไปดูกันว่า ประเทศใดใช้ระบบจำกัดวาระแบบใดและมีกำหนดระยะเวลาไว้เท่าไรกันบ้าง

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน

โลกใบใหญ่ เฟ้นหาบทความมาเขียนให้อ่าน เกาะติดสถานการณ์โลก แสดงความเห็นไปด้วยกัน มีหลากหลายช่องทางทั้ง Facebook - โลกใบใหญ่ / Twitter - โลกใบใหญ่ / Blockdit - โลกใบใหญ่ / Youtube - โลกใบใหญ่

บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์