เทคนิคติดรอบพอร์ต ทำไว้ไม่พลาดแน่!

ทริคติดรอบพอร์ต ทำไว้ไม่พลาดแน่

ใกล้เทศกาลทำพอร์ตกันแล้วใช่ไหม วันนี้พี่ในฐานะเด็กที่ติดรอบพอร์ตจะมาแชร์ทริคติดพอร์ตให้ฟังกันค่ะ แต่ว่าขอไม่บอกนะว่าติดปีไหน 5555 เดี๋ยวจะรู้กันหมดว่าเป็นพี่ปีแก่แล้ว แต่ว่าถึงจะผ่านมานานแล้วแต่ก็ยังคงเป็นทริคที่ใช่ได้จริงนะ !

เทคนิคแปดแสนประการที่ควรรู้ไว้ก่อนยื่นพอร์ต!!

       1. ใส่รายละเอียดให้ชัดเจนแต่ไม่เวิ่นเว้อ

ด้วยความที่รอบพอร์ตเนี่ยมีจำนวนหน้าจำกัด จึงควรใส่รายละเอียดเท่าที่จำเป็นค่ะ จริง ๆ พี่เห็นหลายคนที่มักจะบรรยายเยอะ ๆ เกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำไปในหน้าพอร์ตโฟลิโอ เช่น เล่าถึงความประทับใจบลา ๆ ว่าไปกิจกรรมนั่นนี่มา ประทับใจมาก ได้ประสบการณ์บลา ๆ  เพราะเชื่อว่ากรรมการจะอ่านและเข้าใจ รู้จักความเป็นตัวตนเราจริง ๆ แต่อันที่จริงแล้วการเขียนเยอะเกินไปทำให้กรรมการไม่อ่านค่ะ เพราะว่าคนยื่นรอบพอร์ตเยอะมาก อย่างปีพี่เองยื่นกันพันกว่าคนรับแค่ 60 คนเท่านั้น ดังนั้นเพื่อให้กรรมการสามารถอ่านพอร์ตได้ครบทุกเล่ม ทันเวลาที่กำหนดกรรมการไม่สามารถอ่าน ทุกตัวอักษร ทุกบรรทัดได้ค่ะ ดังนั้นสิ่งที่กรรมการจะทำคือการกวาดสายตานั่นเอง

คณะกรรมการจะพยายามกวาดสายตามองหาคีย์เวิร์ดสำคัญ จนบางครั้งจะพลาดข้อมูลที่เราอยากจะสื่อสารจริง ๆ ดังนั้นจึงควรใส่รายละเอียดให้ชัดเจน แต่ไม่เวิ่นเว้อ นั่นเองค่ะ

เช่น กิจกรรมชื่ออะไร , เรามีบทบาทอะไรในกิจกรรม (เป็นผู้เข้าร่วม, เบื้องหลังการจัดกิจกรรม ตำแหน่งอะไร เป็่นต้น)

นอกเหนือจากนี้แล้วยังมีข้อมูลบางอย่างที่พี่คิดว่าไม่ควรใส่ (บางคณะที่ไม่ขอให้เราใส่มา) คือ “แรงบันดาลใจ” ค่ะ อย่างเพื่อนพี่เองก็เขียนบรรยายไปเลยเต็ม ๆ 1 หน้ากระดาษ พอถึงตอนสัมภาษณ์จริง ๆ คณะกรรมการก็ถามใหม่ค่ะ เพราะไม่ได้อ่าน เพราะอย่างที่บอกว่าคนยื่นรอบพอร์ตเยอะจริง ๆ ดังนั้นเก็บสิ่งเหล่านี้ไว้ในใจ แล้วเตรียมพร้อมไปเล่าให้กรรมการฟังด้วยตัวเองจะดีกว่านะคะ กรรมการจะได้อยากรู้จักเรามากขึ้นด้วย เราจะได้เก็บหน้านี้ไว้ใส่เนื้อหาอย่างอื่นต่อ

         2. ไปดูรายละเอียดและข้อบังคับที่ชัดเจนของมหาลัยให้ดี !

แต่ละคณะ มีกฎและข้อบังคับที่ต่างกัน อย่างตอนพี่ยื่นในเอกสารจะมีการระบุอย่างชัดเจนว่า หน้าแรกต้องเป็นข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลส่วนตัวต้องมีอะไรบ้าง หน้าถัดไปเป็นอะไร ก่อนเข้าเนื้อหาต้องมีตารางสรุปกิจกรรมที่เรียงตามเอกสารระบุไว้ต่าง ๆ นานา ดังนั้นถ้าไม่อยากตกม้าตายให้ระวังข้อนี้ให้ ทำพอร์ตโฟลิโอให้ข้อมูลตรงตามที่มหาลัยต้องการค่ะ

         3. ยื่นเอกสารให้ครบ !

การยื่นพอร์ตโฟลิโอไม่ได้หมายความว่าต้องยื่นแค่ตัวพอร์ตอย่างเดียว ยังมีเอกสารอย่างอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่ทางมหาวิทยาลัยขอมา เช่น ปพ. หนังสือรับรองจากทางโรงเรียน อื่น ๆ ตามมหาลัยต้องการ ดังนั้นควรเตรียมเอกสารให้พร้อม เพราะถ้าตกหล่นไปแม้แต่นิดเดียวทางมหาลัยจะไม่มีการพิจารณาพอร์ตเรา เป็นอันว่าปัดตกไปค่ะ

         4. ยื่นโครงการให้ตรงผลงาน

การยื่นพอร์ตเนี่ยแต่ละมหาลัยก็จะมีโครงการต่าง ๆ ของมันอยู่ เช่น เด็กดีมีที่เรียน โครงการนักกีฬา ผู้มีความสามารถพิเศษ เราควรศึกษาข้อมูลแต่ละโครงการให้ดี และยื่นให้ตรงกับผลงานของเราค่ะ อย่างเพื่อนพี่เองก็มีคนที่พลาดเพราะยื่นไม่ตรงโครงการก็มีค่ะ

         5. อย่าใส่ตรามหาลัยบนหน้าปก

หลาย ๆ มหาลัยค่อนข้างเคร่งเรื่องนี้มาก ในกรณีที่เค้าไม่ได้ขอให้ใส่มาอย่าใส่เด็ดขาดค่ะ เพราะขนาดตัวนักศึกษาเองจะนำตรามาใช้ ต้องมีการอ่านระเบียบก่อน และศึกษาเรื่องกฎระเบียบให้ชัดเจน ดังนั้นเราที่เป็นคนนอกหลีกเลี่ยงการใช้ตรามหาลัยดีกว่านะคะ ถ้ายังไม่ได้รับอนุญาต

.

ความเชื่อที่หลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับการยื่นพอร์ต

         1. สีพอร์ตต้องตรงกับสีของทางมหาลัยและคณะ 

ผิดจ้า สีพอร์ตไม่มีผลต่อการประเมินนะคะ ดังนั้นเลือกที่ตัวเองชอบ เลือกที่มั่นใจ เลือกที่เหมาะกับผลงานและคณะได้เลยค่ะ

        2. ยื่นหลายที่ต้องทำพอร์ตหลายเล่ม

ไม่จริง!! ถ้าเราสำรวจและตรวจสอบข้อมูลแล้วว่ามหาลัยที่เรายื่น มีความต้องการข้อมูลที่ตรงกัน แบบบังคับไม่ซับซ้อนมาก ทำเล่มเดียวและยื่นหมดเลยได้ค่ะ คนเราจะทำพอร์ตหลายเล่มยังไงก็ต้องมีเล่มที่ชอบที่สุดังนั้นเลือกที่เราชอบและมั่นใจที่สุดยื่นไปเลยค่ะ

 

ทั้งหมดที่พี่กล่าวมา เพื่อเป็นการกันไม่ให้น้อง ๆ ตกม้าตายแต่เพียงเท่านั้นไม่สามารถการันตีได้หรอกนะคะว่าการทำตามที่พี่พูดทั้งหมดจะทำให้น้อง ๆ ติดรอบพอร์ตกัน 100% ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผลงาน และการสัมภาษณ์ด้วย ยังไงก็เป็นกำลังใจให้กับน้อง ๆ ที่กำลังจะยื่นพอร์ตทุกคนนะคะ ขอให้มีมหาลัยเป็นของตัวเองนะคะ สาธุ !

 

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน
บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์