อยากรู้ใช่ไหม!!? สมองของคุณกำลังซ่อนความลับอะไรไว้บ้างนะ?

                                             

        1. จุดเริ่มต้นของความเจ็บปวด

       ทำไมการเป็นวัยรุ่นจึงมักหัวร้อนและอารมณ์รุนแรงได้ง่าย นักวิชาการชาวอังกฤษ Sarah-Jayne Blackmore (Sarah-Jayne Blackmore) ได้เขียนหนังสือ(Inventing Ourselves: The Secret Life of the Teenage Brainเล่มนี้ขึ้นมาเป็นพิเศษ โดยพยายามค้นหาคำตอบสำหรับคำถามที่ทำให้มนุษยชาติงงงวยมานับไม่ถ้วนและไขปริศนาสำหรับคนรุ่นต่อๆ ไป  มุมมองของเธอสามารถสรุปได้ดังนี้: หลังจากเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น สมองของมนุษย์จะเริ่มต้นสู่การเจริญเติบโตและการพัฒนาที่ไม่เคยมีมาก่อนในเชิงลึกอย่างกว้างขวาง ในช่วงเวลานี้ วัยรุ่นส่วนใหญ่จะเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์อย่างโดดเด่นพร้อมๆกับอารมณ์อ่อนไหวและเปราะบางอย่างมาก อีกทั้ยังถุกทำร้ายและกระทบกระเทือนจิตใจได้อย่างง่ายดายด้วย

เธอกล่าวว่า "สมองในช่วงวัยรุ่นนั้นต้องการการดูแลเอาใจใส่และการชื่นชม"

ผลวิจัยกล่าวว่า ในช่วงอายุ 10-19 ปี วัยรุ่นมักจะเต็มไปด้วยความดื้อรั้นต่อต้านต่อสิ่งต่างๆรอบตัว แต่เมื่อผ่านช่วงอายุนี้ไปก็จะเปลี่ยนเป็นเข้าใจและเชื่อฟังมากขึ้น 

มีคำอธิบายกล่าวอ้างมากมายเกี่ยวกับมุมมองต่อเด็กวัยรุ่นรวมถึงเรื่องของฮอร์โมนกับการเปลี่ยนแปลง และหนึ่งในนั้นได้กล่าวว่าว่าหนูและลิงก็มี  "วิวัฒนาการเจริญพันธุ์ช่วงวัยรุ่น" ที่คล้ายคลึงกัน

                                                     

 

                                               

 

2. ฟีเนียส เกจ (Phineas Gage )ชายผู้สมองทะลุแต่กลับไม่ถึงแก่ความตาย

      สมองตายแล้ว สมองถูกทำลายสาหัส นั่นอาจไม่ได้หมายความว่ามนุษย์เราจะเสียชีวิตตามสมองเราเสมอไป 

ในปี ค.ศ. 1848 ฟีเนียส เกจ ซึ่งทำงานระเบิดหินที่เขตก่อสร้างวางรางรถไฟ เขาได้ประสบเข้ากับอุบัติเหตุแปลกประหลาดรุนแรงที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของชีวิตเขา

ในขณะนั้น เขากำลังบรรจุแท่งเหล็กลงในวัตถุระเบิด ทันใดนั้นวัตถุระเบิดถูกจุดไฟและระเบิดประกายไฟออกมาอย่างรุนแรง แท่งเหล็กพุ่งขึ้นมาเจาะเข้ากับกะโหลกศีรษะของเขาจากใต้โหนกแก้มทะลุไปยังเหนือกระดูกคิ้วซ้ายของเขา เขาไม่เสียชีวิต เและยังใช้ชีวิตอยู่ต่ออีก 13 ปี วงการแพทย์ได้บันทึกเหตุการณ์อันน่าสะเทือนกลัวของเขาลงใน

"สิบอันดับคนตายฟื้นชีพ"

       เกจรอดชีวิตและหลังจากที่เขาออกจากโรงพยาบาลแล้ว ตาเขาบอดหนึ่งข้างและมีรูที่กะโหลกศรีษระของเขา แม้ผู้คนสังเกตว่าการเดิน การพูด และการใช้ชีวิตประจำวันของเขาไม่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ อย่างไรก็ตาม คนที่ใกล้ชิดเขานั้นสังเกตได้ว่าบุคลิกภาพและพฤติกรรมของเขา "ไม่ใช่เกจคนเดิมอีกต่อไป"

เดิมทีเขาเป็นคนมีความสามารถ เก่ง มีไหวพริบ เฉลียวฉลาด ถ่อมตน และสุภาพ แต่ต่อมาเขาก็กลายเป็นคนใจร้อน

ดื้อรั้น และขาดการวางแผน 

 

กรณีของเขามีประโยชน์ต่อวงการแพทย์แผนปัจจุบันอย่างมาก นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้กรณีของเขาเพื่อศึกษาบทบาทที่แท้จริงของสมอง และเพื่อยืนยันาว่าความเสียหายที่เกิดกับบริเวณนี้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมได้อย่างไรกันแน่

                                                 

 

3. ในสมองคนเรามี 3 ความทรงจำซ่อนอยู่

     นักเขียนหนังสือวิทยาศาสตร์ เฮเลน ธอมสัน (Helen Thomson) กล่าวไว้ในหนังสือ "สำรวจความมหัศจรรย์ของสมองอันยากจินตนาการที่สุดในโลก" ว่าสมองของมนุษย์มีประเภทความทรงจำอยู่สามประเภทหรือสามระยะของ

ความทรงจำ:

ความทรงจำในระยะการรับรู้: ระยะแรกที่การมองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การชิมรสชาติ และการสัมผัสเข้าสู่สมองเพื่อสร้างความทรงจำทางประสาทสัมผัสนั้นจะเกิดขึ้นเพียงชั่วครู่ แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้สมองรับรู้ถึงสิ่งรอบตัวในทันท่วงที

ความทรงจำระยะสั้น: ในเนื้อหากล่าวว่า ความทรงจำมีขีดจำกัด และสามารถจำได้สูงสุด 7 เรื่อง เป็นเวลาเพียง15-30 วินาทีเท่านั้น

ความทรงจำระยะยาว: ความทรงจำในระยะนี้ทำให้สมองมนุษย์จดจำเรื่องราวในอดีตได้ อีกทั้งสามารถประมวลผลและแยกแยะประสบการณ์ในอดีต ตัดสินใจในสิ่งต่างๆรอบตัว และคิดคำนวณเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

       หนังสือของทอมสันกล่าวถึงกรณีของ หญิงสาวที่ชื่อจิลล์ ไพรซ์ เธอจดจำทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในทุกๆวันตั้งแต่จำความได้อย่างละเอียด ในทางการแพทย์เรียกว่า "ความทรงจำมากเกินไป" ซึ่งเป็นภาวะทางพยาธิวิทยา

แต่คนธรรมดาที่ไม่มีโรคนี้ก็สามารถพัฒนาความสามารถในการจำได้ด้วยวิธีบางอย่าง เช่น การสร้าง

"คลังสะสมแห่งความทรงจำ" ที่กล่าวถึงในหนังสือ

ซึ่งวิธีฝึกความจำนี้มีมานานแล้ว ให้คุณลองนึกภาพบ้าน หรือสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง แล้วจินตนาการว่าคุณกำลังเดินเข้าไปในที่แห่งนั้น เช่นเดินเข้าประตูบ้านไป จากนั้นทำการวางความทรงจำที่คุณต้องการจะเก็บสะสมไว้ในสถานที่แห่งนั้น ซึ่งการคิดเป็นภาพมีส่วนช่วยเพิ่มความจำได้ดีมากๆทีเดียว

                                                     

                                                     

 

4. การฟื้นฟูตัวเองอย่างดีเยี่ยมของสมองมนุษย์

       ผู้คนมักคิดมานานแล้วว่าสมอง รวมถึงจำนวนเซลล์และวงจรประสาทนั้นถูกกำหนดขึ้นโดยพ่อแม่เท่านั้น 

อย่างไรก็ตาม จากการวิจัยพบว่าไม่เป็นความจริงทั้งหมด 

ซึ่งจริงๆ แล้ว สมองมีพลังในการพัฒนาตัวเอง ปรับเปลี่ยนเส้นประสาทและรักษาตัวเองได้ 

นั่นเป็นเพราะ "การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาท" ที่ทำให้สมองมนุษย์สามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ และกระจายเซลล์สมองใหม่ขึ้นมาได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในสมองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระหว่างพักฟื้นหรือแม้กระทั่งการเปรียบเทียบวงจรประสาทในผู้ติดยาเสพติดก่อนและหลังการบำบัดก็สามารถเป็นหลักฐานยืนยันได้ดีมาก

จากการศึกษาพบว่าหากเส้นประสาทสมองเสียหายก่อนอายุ 5 ขวบ ความสามารถในการจัดระเบียบตัวเองใหม่ของสมองก็จะยิ่งแข็งแกร่งขึ้นอีกด้วย

 

                                                   

 

5. สมองคนเราก้อนซับซ้อนอันปราศจากความเห็นใจ

       หากไม่มี "เซลล์สมองกระจกเงา" คนเราอาจไม่สามารถมีความเห็นอกเห็นใจ เอาใจใส่ต่อผู้อื่นได้เลย

เมื่อดูการแข่งขันฟุตบอลอันดุเดือด ในขณะนั้นคุณก็เคยเผลอออกมายิ้มโดยไม่ได้ตั้งใจใช่หรือไม่?

คุณรู้สึกเศร้าตามเล็กน้อยเมื่อเห็นคนอื่นร้องไห้ใช่หรือไม่? อาการทางจิตใต้สำนึกเหล่านี้มีรากฐานมาจาก

"เซลล์สมองกระจกเงา" ที่อยู่ในสมองของมนุษย์เรา

ซึ่งมันถูกค้นพบในปี 1991 โดยนักประสาทวิทยาชาวอิตาลี Giacomo Rizzolatti

นี่ถือเป็นการค้นพบอันไม่คาดคิด ในเวลานั้น เขาทดลองกับสัตว์จำพวกลิงเพื่อทำความเข้าใจว่าเซลล์ประสาท premotor cortex ที่อยู่ในสมองของลิงควบคุมการเคลื่อนไหวอย่างไร และก็ทำให้เขาได้พบเซลล์สมองกระจกเงาที่นั่น

ต่อมาก็พบในเยื่อหุ้มสมองของมนุษย์ด้วยเช่นกัน นอกจากเยื่อหุ้มสมองสั่งการแล้ว พื้นที่ของเปลือกสมองที่รับผิดชอบด้านอารมณ์ ความรู้สึก และความตั้งใจยังมีเซลล์สมองกระจกเงาอยู่อีกด้วย

เมื่อคนเราได้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือมองเห็นคนอื่นกระทำ เซลล์สมองกระจกเงาจะถูกกระตุ้นและนำไปสู่การเลียนแบบโดยไม่รู้ตัว การเลียนแบบการกระทำของผู้อื่นทำให้คนเราสามารถเข้าถึงประสบการณ์และความรู้สึกของผู้อื่นได้

ที่สำคัญเซลล์สมองกระจกเงาสามารถช่วยสะท้อนให้คนเราเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่นได้เป็นอย่างดี 

 

      อย่าลืมส่งต่อความรู้ดีๆให้แก่คนสำคัญของคุณกันนะคะ

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน
บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์