6 ขั้นตอนการจัดฟันใส ทำอะไรบ้าง มาดูก่อนตัดสินใจ!

หลายคนอาจมองว่าแค่การแปรงฟันให้สะอาดนั้นเพียงพอต่อการดูแลฟันให้มีสุขภาพดี คำตอบคือ ใช่...หากคุณไม่ใช่คนที่มีปัญหาเรื่องฟัน แต่ความจริงแล้วคนส่วนใหญ่มักมีปัญหาโครงสร้างฟันที่เกิดขึ้นได้ปกติตามธรรมชาติ ที่ซึ่งหากละเลยการแก้ไขอาจนำไปสู่โรคทางทันตกรรมที่รุนแรงขึ้นในอนาคต การจัดฟัน เป็นวิธีแก้ปัญหาฟันเก ฟันซ้อนเรียงไม่เป็นระเบียบ และการสบฟันลึกที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างขากรรไกรในช่องปาก จึงกลายเป็นการรักษายอดนิยมอย่างไม่ต้องสงสัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘การจัดฟันแบบใส’ ที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความกังวลเรื่องภาพลักษณ์ระหว่างการรักษา การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยอาจฟังดูซับซ้อน สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่าการจัดฟันใสมีขั้นตอนการรักษาอย่างไร บทความนี้เรารวบรวมคำตอบมาให้แล้ว

OwFetqEJwvT0g_CQrETWiy3_2LOwPBPfUhT7jcPVBRBw_qZUsw2DeYflbmcqzwX5ZEtNk6Ag6GUFUQUrG53V8lQKEJE9vz5Ggg4ijmTK3E8j1hENmspO88XWYQKPYVgoKNcCPvWvJAnAKWG-nqrP2tePi1hfRXxpYNreqc57Y6ssnTujtDNgNCmimg


1.ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
อันดับแรกก่อนเริ่มตัดสินใจทำการรักษาใดๆ ควรเข้าพบ ‘ทันตแพทย์จัดฟัน’ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่ต่างจาก ‘ทันตแพทย์’ สำหรับการรักษาฟันทั่วๆไป เพื่อทำการเอ็กซเรย์และตรวจสอบโครงสร้างฟันอย่างละเอียด เลือกทันตแพทย์จัดฟันใสที่ถูกจัดอันดับ Invisalign Tier ในชั้นสูงซึ่งหมายถึงการรับรองว่าแพทย์มีประสบการณ์สูง ผู้เชี่ยวชาญจะให้คำแนะนำว่าเรา ‘เหมาะสมหรือไม่?’ ในการจัดฟันใส เพราะไม่ใช่ทุกคนที่สามารถจัดฟันใสได้ โดยเฉพาะการมีวินัยที่ถือเป็นหัวใจสำคัญ

2.วางแผนการรักษา
หากแพทย์ประเมินว่าคนไข้ควรได้รับการแก้ไขปัญหาทันตกรรมด้วยการจัดฟันใส ขั้นตอนต่อมาจะเป็นการวิเคราะห์ว่าปัญหาฟันมีความซับซ้อนมากเพียงใด ควรใช้เครื่องมือกี่ชิ้น ขอบเขตเวลารักษาโดยประมาณยาวนานแค่ไหน ควรเข้าพบแพทย์บ่อยแค่ไหนในการตรวจเชค ซึ่งการจัดฟันใสเป็นเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำสูง จึงทำให้คุณสามารถเดินตามแผนการรักษาเพื่อผลลัพธ์ที่ต้องการได้ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด

3.การออกแบบเครื่องมือ & พิมพ์ฟัน
การจัดฟันใสใช้เทคโนโลยี smart 3D scan ที่จำลองโครงสร้างฟันแบบดิจิทัล พร้อมทั้งถ่ายภาพ และฟิล์มเอกซเรย์ประกอบกันเพื่อนำส่งแลปไปสร้างเครื่องมือจัดฟันใสที่ออกแบบมาเพื่อฟันของแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ จึงมั่นใจได้ว่าฟันจะได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด เครื่องมือจะถูกผลิตตามจำนวนชิ้นที่ได้มีการวิเคราะห์ไว้ตามแผนและเตรียมพร้อมสำหรับการส่งมอบ

4.ทดลองสวมเครื่องมือ
หลังจากเครื่องมือถูกผลิตขึ้น ผู้เชี่ยวชาญจะนัดหมายคนไข้อีกครั้งเพื่อเข้ามาทดลองใส่ชิ้นเครื่องมือ และตรวจสอบความเรียบร้อยต่างๆ แนะนำการดูแลตนเอง ทั้งนี้อาจมีการเสริมอุปกรณ์พิเศษบางชิ้นตามแต่ละเคสในกรณีที่จำเป็น คนไข้สามารถนำชิ้นอุปกรณ์ทั้งหมดกลับบ้านหรือฝากไว้ที่คลินิกได้เพื่อความสะดวกในการดูแลรักษา

5.ตรวจเชคฟัน
จริงที่ว่าการจัดฟันใสไม่จำเป็นต้องพบแพทย์บ่อยเหมือนการจัดฟันทั่วๆไป เพราะคนไข้สามารถใส่-ถอดเครื่องมือได้เอง อย่างไรก็ตามการจัดฟันใสควรเข้ามาพบแพทย์ทุกๆ 1.5 - 2 เดือน เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหรือหากมีอะไรผิดปกติจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที

6.เผยผลลัพธ์
เมื่อทำการรักษาเสร็จสิ้นตามแผนที่วางไว้ ก็ถึงเวลาที่คนไข้พร้อมอวดรอยยิ้มที่สดใสอย่างมั่นใจ เพื่อที่จะคงผลลัพธ์ที่ดีให้อยู่กับเราไปนานๆ ก็อย่าลืมที่จะใส่รีเทนเนอร์เพื่อช่วยคงสภาพฟันให้ดีอย่างต่อเนื่องนั่นเอง

สรุป

การจัดฟันใสไม่ได้เป็นเรื่องยุ่งยากอย่างที่คิด ควรมีการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนการตัดสินใจไม่ว่าจะเป็นเลือกแพทย์รักษาที่มีประสบการณ์สูงเชี่ยวชาญด้านการจัดฟันใสโดยเฉพาะ สถานบริการที่สะอาดปลอดภัย รวมถึงความมีวินัยในตนเองเพื่อผลลัพธ์ที่น่าพอใจ

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน
บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์