สาระน่ารู้ ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส ประโยชน์หรือโทษมากกว่ากัน

ในอดีตรัฐบาลสมัยก่อนๆ ก็ได้เคยส่งเสริมการปลูกมาแล้วและผลที่เห็นก็คือคุณภาพดินแย่ลง ซึ่งผลดังกล่าว

ยังคงปรากฏให้เห็นจนถึงปัจจุบันในหลายพื้นที่ และเมื่อมีการนำโครงการส่งเสริมการปลูกยูคาลิปตัสมาปัดฝุ่นอีกครั้ง เราในฐานะประชาชนต้องหันมาคิดแบบวิทยาศาสตร์กันสักหน่อย

ถึงผลได้ผลเสียที่จะเกิดขึ้นตามมา ก่อนที่จะลงมือทำอะไรลงไป

และวิธีที่ดีที่สุดและทำได้ง่ายที่สุด ก็คือ ต้องพยายามหาข้อมูลงานวิจัยมาสนับสนุน

หรือคัดค้านแนวคิดของตัวเองก่อนที่จะตัดสินใจปลูก

และยังเป็นข้อมูลที่จะแสดงให้เห็นว่าการปลูกยูคาลิปตัส พืชนำเข้าจากประเทศออสเตรเลียนั้นมีประโยชน์หรือเป็นโทษกันแน่

เบื้องต้น เราควรมาทำความรู้จักต้นยูคาลิปตัสกันก่อนว่ามีความเป็นมาอย่างไร

ต้นยูคาลิปตัสจะมีมากมายหลายสายพันธุ์ และมีมากกว่า 700 ชนิดเลยทีเดียว

ส่วนใหญ่พบเป็นพืชประจำถิ่นของออสเตรเลีย มีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่พบได้ในบริเวณใกล้เคียงกับออสเตรเลีย เช่น

พบในนิวกินี อินโดนีเซียและเกาะทางเหนือของหมู่เกาะฟิลิปปินส์อีกหนึ่งเกาะ ต่อมาจึงมีการนำมาปลูกในหลายพื้นที่ของโลก

ไม่ว่าจะเป็นในประเทศสหรัฐอเมริกา แอฟริกา อิสราเอล อเมริกาใต้ อินเดีย และจีน เป็นต้น

เพื่อจุดประสงค์หลักอย่างเดียวก็คือเพื่อประโยชน์ทางการค้า เนื่องจากเป็นไม้ที่เจริญเติบโตได้เร็ว และสามารถดำรงชีวิตในที่แห้งแล้งได้ดี

ปัจจุบันนี้ แนวคิดในเรื่องนี้ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญทางด้านป่าไม้

กับผู้เชี่ยวชาญทางด้านพฤกษศาสตร์  บ้างก็กล่าวว่ายูคาลิปตัสเป็นไม้โตเร็วที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ขณะที่ฝ่ายตรงข้ามก็นำเสนอข้อมูลงานวิจัยอีกด้านเพื่อนำมาเป็นข้อโต้แย้งในหลายประเด็น อาทิ เช่น

ใบของต้นยูคาลิปตัสจะมีน้ำมันที่เมื่อร่วงหล่นลงสู่พื้นดินจะทำให้คุณภาพดินเสียไป

และต้นยูคาลิปตัสเองยังเป็นพืชที่ใช้น้ำในดินปริมาณมากสำหรับการเจริญเติบโต

ดังนั้นในเรื่องของการส่งเสริมการปลูก จึงเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างระมัดระวัง

เพราะจากการนำยูคาลิปตัสเข้ามาปลูกในประเทศไทยเมื่อกว่า 30 ปีจะเห็นได้ว่ายูคาลิปตัส

จะทำให้คุณภาพดินและระบบนิเวศเสียไปมากกว่าที่จะทำให้ดีขึ้น

หลังจากที่มีการทดลองนำเอายูคาลิปตัสไปปลูกในทะเลทรายในอิสราเอล

ก็พบว่ายูคาลิปตัสเติบโตได้เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ จากนั้นก็เกิดคำถามว่า….”ทำไม?”

จึงมีการศึกษาในเรื่องนี้เพื่อดูการใช้น้ำในการเจริญเติบโตของพืชชนิดนี้

พบว่าระบบรากของยูคาลิปตัสสามารถที่จะชอนไชไปดึงน้ำที่ถูกเก็บไว้ใต้ดินหรือตามซอกหินมาใช้ได้ดีกว่าพืชชนิดอื่น

การศึกษาในครั้งนี้จึงเป็นการให้ข้อมูลยืนยันว่า ยูคาลิปตัสเป็นพืชที่มีระบบรากและระบบการดูดซึมน้ำที่ดี

ซึ่งจากข้อได้เปรียบในเรื่องที่มันเป็นพืชที่มีความสามารถในการดำรงชีวิตในเขตแห้งแล้งนี่เอง

จึงเป็นข้อควรระวังในการนำเข้ามาปลูกในพื้นที่ที่มีพืชประจำถิ่นอยู่

เพราะจะทำให้พืชประจำถิ่นไม่สามารถแข่งขันได้และตายไปในที่สุด

สรุป อีกครั้งสำหรับเป็นแนวทางในการตัดสินใจที่จะปลูกยูคาลิปตัส

มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ คุณภาพดิน ถ้ามั่นใจว่า

ดินบริเวณนั้นมีคุณภาพต่ำจนไม่สามารถปลูกพืชชนิดอื่นได้

ก็สามารถปลูกยูคาลิปตัสได้ เพราะยูคาลิปตัสเป็นพืชที่ทนต่อสภาวะแวดล้อมที่แย่ๆ ได้ดี

แต่ถ้ายังมีทางเลือกที่จะปลูกพืชชนิดอื่น ก็ขอให้คิดให้รอบคอบว่ามันคุ้มกันไหมกับสิ่งที่จะได้มา

และสิ่งที่จะเสียไป ซึ่งนั่นก็คือ ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินที่ใช้ในการปลูกพืชนั่นเองค่ะ

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน
บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์