การล่มสลายของมหาวิทยาลัยนาลันทา ในสายตาของข้าพเจ้า

หากกล่าวถึงมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในสมัยโบราณหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะไม่กล่าวถึงมหาวิทยาลัย แห่งหนึ่งที่เคยเจริญรุ่งเรืองมากในอดีตนั้นก็คือ มหาวิทยาลัยนาลันทา ( นาลันทา มาจากคำว่า นาลัน แปลว่า ดอกบัว และ ทา แปลว่าการให้ รวมกันจึงหมายถึง ให้ดอกบัว และอีกความหมายหนึ่ง นาลันทา มาจากคำว่า น+อลัง+ทา หมายถึง ให้ไม่รู้จักพอ )

   มหาวิทยาลัยนาลันทา ตั้งอยู่รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เมื่อในอดีตเคยเป็นมหาวิทยาลัยที่เจริญรุ่งเรืองมากในหลายศาสตร์ แต่จะมีบางศาสตร์ที่เด่นมากโดยเฉพาะในด้านการศึกษาพระพุทธศาสนา มีการดูแลนิสิตมหาวิทยาลัยเป็นอย่างดีรับนิสิตนักศึกษาได้เรือนหมื่น มีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญถึง 1,500 คนในการดูแลเรื่องการเรียน การสอน แม้พระถังซัมจั๋ง หรือ สมณะเสวียนจั้งก็เคยเดินทางข้ามทะเลทรายด้วยความลำบากเพื่อมาศึกษาที่นี่ ถึงแม้จะยิ่งใหญ่ในอดีตมาก แต่ในท้ายที่สุดก็ถูกทำลายลงโดยกองทัพทหารชาวมุสลิมเตริกส์ ซึ่งนำทัพโดย บักตยาร์ ขัลจิ บุกฆ่าพระ องค์แล้วองค์เล่า บางแหล่งเล่าถึงเหตุการณ์เมื่อมาถึงมหาวิทยาลัยนาลันทาว่า ได้มาถึงป้อมปราการแห่งนี้แล้ว เห็นแต่ผู้ที่ใส่ชุดเหลืองนั่งสงบนิ่ง เราเลยฆ่าด้วยมีดดาบคนแล้วคนเล่า แต่ไม่มีใครสู้ และไม่มีใครร้องครวญครางเลย เราจึงฟันคอจนตายหมด

   ในบันทึกบางแห่งกล่าวว่า พอกองทัพมุสลิมกลับไปแล้ว พระนักศึกษา พระอาจารย์รวม 70 รูปได้ออกมาจากที่ซ่อน หาของที่พอจะซ่อมแซมที่อยู่ ซอมแซมมหาวิทยาลัยให้พอใช้สอยได้ ต่อมาทางรัฐมนตรีของพระราชาแคว้นมคธได้ส่งทรัพย์ไปช่วยซ่อมแซม แต่ก็ทำได้เพียงบางส่วน  หลังจากนั้นมีปริพาชก หรือนักบวชนอกพระพุทธศาสนา คนได้เข้ามาประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของตน และต้องการจะอยู่ที่นี่ต่อได้ทำการขว้างปา ไม้ที่ติดไฟไปรอบ ๆ จนกระทั้งมหาวิทยาลัยมอดไหม้ไปจนหมดสิ้นหลังจากนั้นข้อมูลอีกแห่งกล่าวว่ากองทัพมุสลิมหลังจากฆ่าพระแล้ว ได้ทำการเผาคัมภีร์ที่มหาวิทยาลัยนาลันทาจนหมดใช้เวลาทั้งสิ้น เดือนเพราะพระคัมภีร์เยอะมาก ซึ่งถูกเก็บไว้ในหอสมุดสูงถึง ชั้น แต่ทั้งนี้ก็มีแหล่งข้อมูลบางแหล่งอ้างว่ามีคัมภีร์เหลือรอดก่อนหน้านั้นก็มี เช่น คัมภีร์อัษฎาสาหัสริกา ปรัชญาปารมิตาเป็นต้น แต่อยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์

 

ส่วนสถาบัน The Central Institute of Higher Tibetan Studies CIHTS ) ก็กำลังทำการแปลต้นฉบับคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่เหลือรอดจากมหาวิทยาลันนาลันทาก่อนโดนทำลายอีกหลายร้อยฉบับ ซึ่งกำลังกำลังดำเนินการแปลออกมาจากภาษาสันสกฤตมาให้เราทราบในอีก ปีข้างหน้าเช่นกัน ในปีที่มหาวิทยาลัยนาลันทาถูกทำลายก็เป็นปีราว ๆ การก่อตั้งมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด จนถึงการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์พอดี 

    ประเด็นของคำถามคือ เหตุใดมหาวิทยาลัยนาลันทาจึงถูกทำลายทั้ง ๆ เป็นมหาวิทยาลัยที่ยิ่งใหญ่ และมีการดูแลจากฝ่ายของราชการราชการเป็นอย่างดี เมื่อดูจากบันทึกการเดินทางผู้ยิ่งใหญ่จากจีนมาที่อินเดีย ท่านซึ่งเป็นเหมือนพงศาวดารแล้ว ก็ทำให้เริ่มเห็นเหตุแห่งความถดถอยของมหาวิทยาลัยนาลันทาได้ เช่น ในบันทึกของถังซัมจั๋ง กล่าวว่า ในสมัยนั้นมีนักศึกษาอยู่ 10,000 คน แต่หลังจากนั้นไม่นาน เมื่อพระหลวงจีนอี้จิงเดินทางมาถึงกลับพบว่า มีพระนักศึกษาเหลือเพียง 3,000 คนเท่านั้น และมีลัทธิคำสอนแปลก ๆ มีนิกายตันตระเกิดขึ้น เช่นสอนให้เสพกามได้ หรือ มีการนำลัทธิโยคะกับวิธีการบูชาบวงสรวงเข้ามาผสมด้วยเป็นต้น ประกอบกับอุบาสก อุบาสิกาเริ่มเสื่อมศรัทธาต่อคณะสงฆ์ ในพระพุทธศาสนา จึงเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์อยู่เพียงฝ่ายเดียว อันนี้เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้อ่อนแอลงจากปัจจัยภายในเอง แต่ปัจจัยภายนอก ราวพ.ศ.1742 กองทัพมุสลิมชาวเตริกส์ ได้ยกทัพมาสู้จนกระทั้งชนะอินเดียฝ่ายเหนือ แล้วครอบครองดินแดนต่าง ๆ พร้อมทั้งทำลายสถานที่ต่าง ๆ ในทางพระพุทธศาสนาอีกด้วย ก่อนหน้านั้นในบันทึกอีกแหล่งกล่าวว่า ในการเผยแผ่ศาสนาบางศาสนาใช้วิธีการมีกำลังอาวุธ โดยกล่าวว่าใครไม่นับถือศาสนาของตนจะต้องถูกทำร้าย รวมทั้งทรัพย์สินของตนด้วยเป็นต้น เหล่านี้ก็เป็นปัจจัยภายนอกที่ทำให้พระพุทธศาสนามีภัยไปด้วยเช่นกัน

       คำถามต่อมาคือเราจะป้องกันเหตุการณ์แบบนี้อีกได้อย่างไร ในพระไตรปิฎกมีเมืองหนึ่งซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ เช่น แคว้นวัชชี แต่แคว้นอื่นที่ใหญ่กว่าเช่น แคว้นมคธตีไม่แตกเลย เพราะปฏิบัติความสามัคคีกัน ในหลักธรรมชื่อ อปริหานิยธรรม อันได้แก่

1)    หมั่นประชุมกันบ่อย ๆ

2)    ประชุมพร้อมกัน เลิกพร้อมกัน ทำกิจส่วนรวมพร้อมกัน

3)    ไม่เพิ่มหลักบัญญัติ หรือหลักการที่ปฏิบัติกันอยู่ และไม่ถอนหลักบัญญัติ หรือการปฏิบัติที่มีอยู่แล้ว

4)    เคารพผู้ใหญ่ผู้เป็นประธาน ผู้บริหารหมู่คณะ และปฏิบัติตามหลักบัญญัติ

5)    ให้เกียรติสตรีเพศ ไม่ข่มเหง

6)    เคารพบูชาพระเจดีย์ 

7)    จัดการดูแลพระอริยเจ้าเป็นอย่างดี

     เหล่านี้เป็นหลักปฏิบัติของชาวแคว้นวัชชีที่แม้แต่แคว้นมคธก็ทำอะไรไม่ได้ แต่ภายหลังแคว้นวัชชีโดนตีแตกเพราะแตกความสามัคคีกันอันเกิดจากการยั่วยุจากพราหมณ์ท่านหนึ่ง ดังนั้นหากพุทธบริษัท ช่วยกัน มีความสามัคคีกัน พระพุทธศาสนาก็อยู่รอดได้ และช่วยเป็นการป้องกันภัย และบรรเทาภัยที่จะเกิดในพระพุทธศาสนาได้อีกด้วย หรือหากบ้านเมืองนำไปปฏิบัติก็จะทำให้ความเข้มแข็งในฝ่ายบ้านเมืองเกิดขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจเลยทีเดียว

 

สรุปเนื้อหา

1)   มหาวิทยาลัยนาลันทา ตั้งอยู่รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เมื่อในอดีตเคยเป็นมหาวิทยาลัยที่เจริญรุ่งเรืองมากในหลายศาสตร์ แต่จะมีบางศาสตร์ที่เด่นมากโดยเฉพาะในด้านการศึกษาพระพุทธศาสนา

2)    การล่มสลายของนาลันทาเกิดจาก ปัจจัยคือ ภัยภายในเกิดจากการย่อหย่อนของคณะสงฆ์เอง ประกอบกับอุบาสก อุบาสิกาไม่ให้ความสนใจ และปัจจัยภายนอกเกิดจากการล่าอาณานิคม ความขัดแย้งระหว่างศาสนาเป็นต้น

3)    หากปฏิบัติตามอปริหานิยธรรม ประการ สามารถทำให้เกิดความสามัคคี และช่วยบรรเทาภัยที่จะเกิดในพระพุทธศาสนาได้

 

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน

เปรียญธรรมประโยค 1-2 นักธรรมชั้นเอก

บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์