ธรรมบทบาลี โค้ชชิ่งความสำเร็จพันปีในพระพุทธศาสนา

    หากกล่าวถึงเหตุการณ์ และหลักการโค้ชชิ่งที่ดีในพระพุทธศาสนาที่ถูกบันทึกไว้ในพระไตรปิฏก และต่อมาถูกขยายความให้พิสดารมากยิ่งขึ้นด้วยพระภิกษุอัจฉริยะชาวอินเดียรูปหนึ่งเมื่อพันปีที่แล้ว นามว่าพระพุทธโฆษาจารย์ คัมภีร์ที่จะกล่าวถึงในที่นี้จะเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลยนอกจาก พระคัมภีร์ธรรมบทบาลี หากอ่านผ่าน ๆ อาจเข้าใจว่าเป็นเพียงแค่นิทานธรรมดา แต่ถ้าพิจารณาขบคิดให้ดีจะค้นพบสิ่งที่มหัศจรรย์ที่ถูกซ้อนอยู่ในนั้น

    ธรรมบทเรื่องที่ 1 เรื่องพระจักขุปาล เรื่องนี้พระพุทธเจ้าตรัส ที่เมืองสาวัตถี ประเทศอินเดีย เนื้อความโดยย่อคือ ในอดีตมีกุฎุมพี หรือชนชั้นพ่อค้ามั่งคั่ง คนเป็นพี่น้องกัน ผู้เป็นพี่ชื่อว่า มหาปาละ ผู้เป็นน้องชื่อ จุลปาละ มีวันหนึ่งชาวเมืองสาวัตถี ได้เข้าไปฟังธรรม ผู้พี่ชื่อ มหาปาละได้เข้าไปฟังกับชาวเมืองด้วย โดยพระพุทธองค์ตรัสสอนเรื่อง คุณของทาน ศีล สวรรค์ โทษของกาม และอานิสงส์ของการออกบวช เมื่อฟังจบผู้เป็นพี่มีความรู้สึกอยากจะบวช แต่พระพุทธเจ้าให้กลับไปลาญาติก่อน มหาปาละ เลยเดินทางไปลาน้องชายพร้อมยกทรัพย์สมบัติของตนทั้งหมดให้น้องชาย เมื่อเข้ามาบวชแล้วถามพระพุทธองค์ว่า กิจธุระในพระศาสนามีกี่อย่าง พระพุทธองค์ตรัสว่า อย่างคือ การศึกษาเล่าเรียนธรรม และการปฏิบัติธรรม เมื่อพระมหาปาละพิจารณาอายุของตนเห็นว่ามากแล้วเลยเลือก การปฏิบัติธรรมเพื่อให้หลุดพ้นจากอาสาวะ พร้อมกับขอพระกัมมัฏฐานกับพระพุทธเจ้า เมื่อได้แล้วก็ตั้งจิตว่า ในช่วงเข้าพรรษา จะถือเพียงอิริยาบท ในการปรารภความเพียร คือ ยืน เดิน และนั่ง จะไม่นอนเลยตลอดพรรษา เดือน หลังจากนั้นก็ปฏิบัติธรรมไป เมื่อปฏิบัติธรรมอยู่ เกิดโรคขึ้นทางตาน้ำตาไหลไม่หยุด หมอก็ปรุงยามารักษา รักษาอย่างไรก็ไม่หายเพราะยานี้ใช้หยอด จะออกฤทธิ์ได้ก็ตอนนอน แต่ท่านไม่ยอมเพราะได้ตั้งใจไว้แล้วจะไม่นอนเลยตลอดพรรษา หมอจึงเลิกรักษาโรคก็กำเริบมากขึ้น พอปฏิบัติมากเข้าวันหนึ่งหลุดพ้นจากกิเลสอาสาวะเป็นพระอรหันต์ขณะเดียวกัน นัยน์ตาก็แตกไปด้วยทำให้ตาบอดเพราะโรคกำเริบหนัก พระพุทธองค์ตรัสว่านัยน์ตาของพระมหาปาละแตก เพราะวิบากกรรมในอดีตชาติ เคยเป็นหมอแล้วปรุงยาให้เขาตาบอดตามมาส่งผลพอดี ( ความตั้งใจเป็นพื้นฐานในการทำความเพียรทำให้บรรลุธรรม วิบากกรรมเก่าในอดีตทำให้ตาแตก )

 

    พระคาถาประจำธรรมบทนี้คือ ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ หรือกล่าว ง่าย ๆ คือ ใจเป็นธาตุสำเร็จ เหมือนพระมหาปาละ ที่เอาความตั้งใจเป็นเบื่องต้นสุดท้ายบรรลุอรหันต์ได้ กฎที่ว่าใจเป็นธาตุสำเร็จนั้นตรงกับ กฎแห่งแรงดึงดูด ( Law of Attraction ) หรือกฏแห่งจักวาล ที่กล่าว ว่า “เราจะดึงดูดสิ่งที่ดี หรือไม่ดีก็ด้วยความคิด หรือใจของเราเอง หมายถึง เรานึก หรือปรารถนาอะไรบ่อย ๆ สิ่งนั้นก็จะมาเกิดแก่เราในอนาคตได้  ซึ่งกฎแห่งแรงดึงดูดนี้ค้นพบครั้งแรกในหนังสือของ Helena Blavatsky นักปรัชญาชาวรัสเซีย เมื่อราว พ.ศ.2420 ปัจจุบันมีการกล่าวถึงกฎแรงดึงดูดเขียนแปลเป็นไทยในหนังสือชื่อ The Secret ทั้ง ๆ ที่ในคัมภีร์ธรรมบทกล่าวถึงกฎนี้เมื่อพันกว่าปีแล้ว แต่ในปัจจุบันพึ่งทำให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้นเท่านั้นเอง ซึ่งปัจจุบันเศรษฐีหลายท่านก็ใช้กฎนี้ในการดึงดูดทรัพย์สมบัติให้มากขึ้นก็มี ในกฏใจเป็นธาตุสำเร็จนั้น จิม ดีล ( Jim Davies ) นักวิทยาศาสตร์สถาบันวิทยาการการรับรู้กล่าวว่า เพียงแค่จินตนาการ เราก็สามารถฝึกฝน และออกกำลังกายโดยที่ไม่ต้องลุกจากโซฟา อีกการทดลองหนึ่งที่น่าสนใจคือ การตีกอร์ฟในจินตนาการ มีการแบ่งกลุ่มออกเป็น กลุ่ม กลุ่มแรกตีกอร์ฟในจินตนาการ โดยนึกว่าตนเองตีลงหลุม กลุ่มที่ ไม่ต้องทำอะไร ผลการลงสนามจริงปรากฏว่า กลุ่มที่จินตนาการทำคะแนนได้ดีกว่ากลุ่มที่อยู่เฉย ๆ ไม่จินตนาการถึง 30 เปอร์เซ็นต์ นี้แสดงให้เห็นอานุภาพแห่งใจเป็นธาตุสำเร็จ ในทางพระพุทธศาสนาการทำแบบนี้เรียกการอธิษฐานจิต โดยต้องมีกำลังบุญหนุนด้วยสิ่งนั้นถึงบังเกิดเร็วกำลังบุญจะทำให้สนามพลังใจมีกำลังในการดึงดูดเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น เหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นกฏแห่งแรงดึงดูดในปัจจุบัน ที่ตรงกับกฏแห่งใจเป็นธาตุสำเร็จที่ถูกบันทึกในคัมภีร์ธรรมบทเป็นเวลานับพันปี

 

 

สรุปเนื้อหา

1)   พระมหาปาละใช้กฏใจเป็นธาตุสำเร็จในเบื่องต้นสุดท้ายบรรลุอรหันต์ด้วยความเพียรนั้น ส่วนที่ตาบอดเป็นเพราะวิบากกรรมในอดีตตามมาส่งผล

2)   กฎแห่งแรงดึงดูดค้นพบครั้งแรกประมาณ ปี 2420 ตรงกับกฏใจเป็นธาตุสำเร็จที่ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์ธรรมบทพันกว่าปีที่แล้ว

3)   กฏแห่งแรงดึงดูดกล่าวว่า เราจะดึงดูดสิ่งที่ดี หรือไม่ดีก็ด้วยความคิด หรือใจของเราเอง

4)   การทดลองตีกอร์ฟในจินตนาการสามารถทำให้มีประสิทธิภาพกว่ากลุ่มที่ไม่ได้จินตนาการ ถึง 30 เปอร์เซ็นต์

5)   การทำให้กฏแห่งแรงดึงดูดทำงานได้เร็วในพระพุทธศาสนาต้องอาศัยกำลังบุญที่ทำด้วย

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน

เปรียญธรรมประโยค 1-2 นักธรรมชั้นเอก

บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์