4 ดอกไม้ไทย กินได้ แอนตี้ออกซิแดนท์สูง

รู้หรือไม่! นอกจากการบริโภคผักและผลไม้สดแล้ว การบริโภคดอกไม้ที่รับประทานได้ยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีต่อสุขภาพ เพราะในดอกไม้ประกอบด้วยรงควัตถุชนิดต่างๆ ที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระหรือแอนตี้ออกซิแดนท์ ซึ่งในประเทศไทยที่เป็นประเทศเมืองร้อนทำให้มีดอกไม้หลากหลายชนิด นอกจากจะให้สีสันที่สวยงาม สดใส มีกลิ่นหอมแล้ว ดอกไม้บางชนิดยังสามารถรับประทานได้แถมดีต่อสุขภาพด้วย จะมีดอกอะไรบ้างไปดูกันเลย

ดอกชบา

สำหรับดอกชบาแล้ว คนไทยมักไม่ค่อยคุ้นเคยในการใช้มารับประทานซักเท่าไหร่ แต่รู้หรือไม่คะว่าดอกชบามีสารอาหารกลุ่มปริมาณเส้นใย สารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มสารประกอบฟีนอล และวิตามินซี รวมถึงความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดในบรรดาดอกไม้ไทยทั้งหมด ซึ่งดอกชบามีคุณประโยชน์ด้านการชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ บำรุงไต และลดความดันได้ด้วย ในการรับประทานดอกชบาสามารถน้ำมารับประทานสดได้คล้ายกับดอกอัญชัน หรือนำดอกสดมาคั้นน้ำดื่ม รวมถึงสามารถทำในรูปแบบชาชงก็ได้เช่นเดียวกัน

ดอกเข็ม

ดอกเข็มจัดเป็นไม้ดอกไม้ประดับมงคลตามความเชื่อของชาวไทย นอกจากความสวยงามและคุณค่าทางความเชื่อแล้ว ดอกเข็มยังเป็นหนึ่งในดอกไม้ที่มีสรรพคุณและประโยชน์ไม่น้อย งานวิจัยพบว่าดอกเข็มมีสารอาหารกลุ่มปริมาณเส้นใย สารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มสารประกอบฟีนอล และวิตามินซีสูงในระดับใกล้เคียงกับดอกชบาเลยทีเดียว  ดอกเข็มมีสรรพคุณแก้ไอเรื้อรัง แก้ท้องเสีย ช่วยเจริญอาหาร และช่วยชะลอวัยได้ดีทีเดียว การรับประทานดอกเข็มสามารถทานสดพร้อมสลัด หรือชุบแป้งทอดจิ้มน้ำพริกก็อร่อยไม่แพ้กัน

ดอกอัญชัน

ดอกอัญชัญมีสรรพคุณเด่นด้านช่วยบำรุงสายตา ป้องกันอาการตาฝ้าฟาง และป้องกันโรคต้อกระจก ช่วยลดน้ำตาลในเลือด เพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต่อต้านโรคมะเร็งได้ ชะลอริ้วรอย และดูแลผิวพรรณให้เต่งตึงกระชับ จะรับประทานสดแบบผักจิ้มน้ำพริก หรือนำมาทำเป็นสลัดก็ได้ นอกจากนี้ยังนิยมทำเป็นเครื่องดื่มอีกด้วย

ดอกดาวเรือง

ดอกดาวเรืองเป็นดอกไม้ที่เติบโตง่าย มีรสขมเผ็ดนิดหน่อย มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ดีต่อปอด และตับ บำรุงสายตา ประเทศไทยยังไม่นิยมรับประทานดอกดาวเรืองเท่าใดนัก แต่ในอินเดียนิยมใช้น้ำคั้นดอกดาวเรืองเป็นยาฟอกเลือด นำดอกดาวเรืองมาต้มใส่น้ำตาลเล็กน้อย ดื่มเป็นยาแก้หลอดลมอักเสบหรือระบบทางเดินหายใจติดเชื้อได้ และด้วยดอกดาวเรืองมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงจึงมีผลช่วยต่อต้านความชราได้ด้วย

ถึงแม้ว่าการบริโภคดอกไม้จะเต็มไปด้วยประโยชน์และสรรพคุณมากมาย แต่ข้อควรระวังอย่างยิ่งคือไม่ควรนำดอกไม้ตามท้องตลาดทั่วไปมารับประทาน เนื่องจากส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อใช้จัดแต่งดอกไม้ในโอกาสต่างๆ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีการใช้สารเคมีพ่นหรือเคลือบเพื่อรักษาสภาพดอกไม้ไว้ หากนำมารับประทานอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เพื่อให้มั่นใจและปลอดภัย ควรใช้ดอกไม้ที่ปลูกเองหรือนำมาจากแหล่งที่มั่นใจว่าไร้สารเคมี

 

ภาพประกอบจาก Canva

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน

เภสัชกรแม่ลูกหนึ่ง ผู้ที่จะมาแบ่งปันความรู้ด้านสุขภาพ และไลฟ์สไตล์แม่และเด็ก

บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์