รีวิวหนังสือ ' The Power of Output ศิลปะของการปล่อยของ' หนังสือที่ต้องอ่านในศตวรรษนี้

สวัสดีค่ะทุกคน เฟิร์นเชื่อว่าทุกคนอยากเป็นคนเก่งที่ประสบความสำเร็จกันใช่ไหมคะ แต่มันไม่ได้ง่ายแบบนั้น ไม่อย่างนั้นเราก็ทำได้ทุกคนแล้ว วันนี้เรามีหนังสือแนวพัฒนาตัวเองที่ทำได้จริงมาแนะนำ เขียนโดยจิตแพทย์ชาวญี่ปุ่นชื่อ 'ชิออนคาบาซาวะ' เขียนหนังสือมาแล้วหลายเล่มอย่าง 'เทคนิคอ่านให้ไม่ลืม' และ 'เทคนิคจำแบบไม่ต้องจำ' ว้าว ดูจากชื่อหนังสือแต่ละเล่ม คุณหมอมีประสบการณ์การทำ output มากว่า 40 ปีแล้วค่ะ

หลายคนสงสัยว่าที่พูด output บ่อย ๆ นี่มันอะไร output ก็คือผลลัพธ์หรือความสำเร็จจากการพากเพียรของตัวเราเองค่ะ เรามีเป้าหมายอะไรแล้วทำมันออกมา มันก็คือ output ของตัวเรานะคะ เป็นสิ่งที่ตกผลึกจากสมองของเราเป็นการคิด การพูด การเขียน และการทำค่ะ

คุณหมอบอกว่าคนจำนวนมากอ่านหนังสือเยอะ แต่รู้สึกว่าอ่านไม่เข้าหัว ไม่ค่อยได้ประโยชน์ เพราะเราไม่รู้วิธีเอาความรู้ไปใช้ค่ะ ก็เหมือนหนังสือเล่มจำคือคุณหมอก็อ้างอิงหนังสือเทคนิคจำและอ่านให้ไม่ลืม 2 เล่มก่อนของตัวเองด้วย คือ การจะเกิด output ได้ ต้องเริ่มจากจำความรู้ได้ก่อนค่ะ ไม่แม่นแล้วจะเอาไปปฏิบัติได้ยังไงล่ะ จริงไหมคะ คุณหมอบอกให้เราทบทวนความรู้ใหม่ที่เราเพิ่งอ่านมา 3 ครั้งต่อสัปดาห์ มันจะไปกระตุ้นสมองเราให้เปลี่ยนความจำระยะสั้นเป็นความจำระยะยาวระดับจิตใต้สำนึก ทำให้เราจำได้อีกนานหลายปีเลย

แล้วก็แค่อ่านไม่พอนะคะ เพราะนักคิดในหัวก็คงไม่สามารถพัฒนาชาติ หรือทำอะไรให้เกิดประโยชน์กับคนอื่นได้ เราต้องแสดงออกค่ะ เริ่มจากสิ่งที่ง่ายที่สุดก็คือการพูด เวลาที่เราไปอ่านหนังสือ ลองเล่าให้คนใกล้ตัวฟัง ถ้าเราทำให้เขาเข้าใจเหมือนอ่านเองได้ เราสอบผ่านทักษะการอธิบาย และตัวเราก็เข้าใจถ่องแท้ เฟิร์นเป็นคนไม่ชอบพูด อ่านแล้วยังรู้สึกว่าต้องพูดบ้าง ไลน์ไปคุยกับเพื่อนเรื่องหนัง หรือทวิตคุยกับตัวเอง มันเป็นวิธีเก็บสลักข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมาก ๆ ไอ้การเม้าท์มอยเนี่ย

หนังสือดีมาก เขาบอกว่าเราพูดเฉย ๆ ยังไม่เก่งพอ ต้องเขียนด้วย การเขียนมันต้องมีการวางเค้าโครงและเกลาภาษา จึงเป็นการฝึกสมองที่ดูแลด้านภาษาและชุดคำด้วย ฝึกการวางแผนให้เป็นระบบ พูดตรง ๆ ก็คือการเขียนใช้มัดกล้ามเนื้อมากกว่าพูด แต่การพูดจะค่อนข้างเป็นความรู้สึกจริง ๆ มากกว่าเหตุผล เราต้องฝึกตัวเองให้กลั่นกรองข้อมูล ตกผลึก เขียนอะไรก็ต้องฝึกอ้างอิงให้เป็นนิสัย ฝึกวิจารณ์ แสดงความเห็นส่วนตัวเข้าไป ไม่ใช้เอาข้อมูลดิบมาใส่ห้วน ๆ เช่น ไปเอาประวัติดาราจากวิกิพีเดียมาย่อใส่เข้าไปในบทความ เท่ากับไม่ให้เกียรติคนอื่น แล้วยังไม่ให้เกียรติตัวเอง เพราะไม่เชื่อว่าตัวเองจะเขียนเองได้ อีกทั้งแสดงให้เห็นว่าตัวเองไม่สามารถจะกรองข้อมูลที่จริงหรือเท็จที่ปน ๆ มาจากเว็บไซต์ที่คนเข้าไปแก้เองได้ตามใจชอบแบบวิกิพีเดีย การเขียนจะดีได้เกิดจากการใช้ข้อมูลที่ถูกต้องจากแหล่งที่เชื่อถือได้

แล้วที่ดร.คาบาซาวะย้ำนักย้ำหนาว่า คิดมาก พูดมาก เขียนมาก แต่ถ้าไม่ทำ ก็เปล่าประโยชน์ ยกตัวอย่างตัวเราก็ได้ คิดอยากลดความอ้วน คุยกับเพื่อนว่าจะลดความอ้วน เขียนบทความเกี่ยวกับการกินอาหารและออกกำลังกาย โห output มาสุด ๆ แต่ชีวิตจริงไม่ทำไรเลย กินเท่าเดิม ไม่ค่อยออกกำลังกาย นั่งโต๊ะแปะอยู่กับที่ มันจะทำให้น้ำหนักลงไหม ชีวิตจริงเปลี่ยนไหม การเปลี่ยนในอุดมคติในหัวของเรามันไม่ได้เปลี่ยนแปลงให้เราผอมได้ เพราะฉะนั้นต้องทำ ถ้าเราทำ แต่เราไม่คิด ไม่พูด ไม่เขียน ก็เกิด output คือผอมแล้ว แต่จะเกิดประโยชน์น้อยกว่าทำครบวงจร การพูดและเขียนเทคนิคให้คนอื่นได้รู้ เป็นประโยชน์ในวงกว้าง ให้คนอื่นได้ทำตามกันเป็นแถบ ๆ

หลังจากอ่านจบ วิธีการเยอะมาก ถ้าเราเอาวิธีไปใช้สัก 2-3 วิธี มันก็เปลี่ยนชีวิตแล้ว ขอให้ทำจริง ๆ เถอะ

บรรณานุกรม

ชิออน คาบาซาวะ. หนังสือ The Power of Output (ศิลปะของการปล่อยของ) แปลโดย อาคิรา รัตนาภิรัต.สำนักพิมพ์ Sandclock Books,ตุลาคม 2564. พิมพ์ครั้งที่ 7.

ภาพถ่ายหนังสือถ่ายโดย ศลิล ตันวิสุทธิ์

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน
บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์