วิธีคำนวณภาษีและลดหย่อนภาษีประจำปี 2565 ตอนที่ 1

วิธีคำนวณภาษีและลดหย่อนภาษีประจำปี 2565

ใกล้จะสิ้นปี 2564 แล้ว วันนี้ทางผู้เขียนนำวิธีคำนวณภาษีในปี 2564 เพื่อนำไปจ่ายในปี 2565 และวิธีลดหย่อนภาษีที่หลายคนอาจมองข้ามได้

สำหรับวิธีคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา มีดังนี้

1.นำรายได้ทั้งหมดในนั้นมารวมกัน

2.นำค่าลดหย่อนต่างๆมาลบออกจากรายได้ในข้อ 1. เช่น

-กรณีเป็นเงินที่ได้จากเงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยเลี้ยง เงินที่ได้จากหน้าท่หรือตำแหน่ง หรือจากการรับทำงานให้ ค่าธรรมเนียม นายหน้า เป็นต้น สามารถหักค่าใช้จ่าย 50%ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

-หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท

-หักค่าลดหย่อนภาษีอื่นๆ ตามที่เรามี (จะพูดหลังจากนี้)

3.หลังจากนำค่าลดหย่อนทั้งหมดมาลบออกจากรายได้แล้ว เงินที่เหลือจะเรียกว่า “เงิรได้สุทธิ” ซึ่งจะต้องนำเงินจำนวนนี้ไปคำนวนภาษี  เพื่อเสียภาษีตามขั้นบันได 5-35% ดังนั้น

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

รายได้สุทธิต่อปี

ฐานภาษีเงินได้

ไม่เกิน 150,000 บาท

ยกเว้นภาษี

300,001-300,000 บาท

5%

300,001-500,000 บาท

10%

500,001-750,000 บาท

15%

750,001-1,000,000 บาท

20%

1,000,000-2,000,000 บาท

25%

2,000,001-5,000,000 บาท

30%

5,000,000 บาทขึ้นไป

35%

 

สำหรับการลดหย่อยภาษีมีหลายช่องทาง มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

1.ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล

จำนวน 60,000 บาท

เงื่อนไข

-ลดหย่อนภาษีได้ทันทีที่ยื่นแบบ

2.ค่าลดหย่อนจากคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้

จำนวน 60,000 บาท

เงื่อนไข

-สำหรับสามี-ภรรยาที่จดทะเบียนสมรส

-คู่สมรสต้องไม่มีเงินได้หรือมีเงินได้แต่เลือกนำมาคำนวณภาษีพร้อมกัน ไม่ได้แยกยื่นแบบ

3.ลดหย่อนบุตร

จำนวน ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท (ไม่จำกัดจำนวนบุตร)

เงื่อนไข

-หากเป็นบุตรตามกฎหมาย สามารถนำมาหักลดหย่อยได้ ไม่จำกัดจำนวนบุตร

-หากเป็นบุตรบุญธรรม สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน

-หากมีบุตรบุญธรรมและบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้นำบุตรชอบด้วยกฎหมายทั้งหมดมาหักก่อน แล้วจึงนำบุตรบุญธรรมมาหัก รวมกันได้ไม่เกิน 3 คน ตามเงื่อนไขที่ 2

-กรณีบุตรชอบด้วยกฎหมายที่มีชีวิตอยู่รวมเป็นจำนวนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จะนำบุตรบุญธรรมมาหักไม่ได้

4.ค่าลดหย่อนบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป

จำนวน 30,000 บาทต่อคน

เงื่อนไข

-ต้องเป็นบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไปที่คลอดตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป

-ต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

-นับลำดับของบุตรทุกคน ไม่ว่าจะมีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ตาม

5.ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร

จำนวน หักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาทต่อปี

เงื่อนไข

-ต้องเป็นค่าใช้จ่ายฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรในช่วง 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2564

-กรณีคลอดบุตรแฝด สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 60,000 บาท

-สามีสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีค่าคลอดบุตรได้ไม่เกิน 60,000 บาท หากภรรยาไม่มีเงินได้

6.ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา

จำนวน ลดหย่อนจากบิดา-มารดา (ตัวเอง) และบิดา-มารดาคู่สมรส ได้คนละ 30,000 บาท

เงื่อนไข

-บิดา-มารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ในภาษีในปีภาษีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท

-หากเป็นบิดา-มารดาของคู่สมรส จะใช้ลดหย่อนภาษีได้ก็ต่อเมื่อคู่สมรสต้องไม่มีรายได้

-บิดา-มารดาออกหนังสือรับรองเลี้ยงดู (ลย.03) ให้กับบุตรที่ขอลดหย่อนภาษีด้วย

-หากมีลูกหลายคน สามารถใช้สิทธิ์ได้เพียงคนเดียวเท่านั้น

7.ค่าอุปการะคนพิการหรือคนทุพพลภาพ

จำนวน 60,000 บาทต่อคน

เงื่อนไข

-ต้องเป็นผู้ที่ดูแลคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต

-ผู้พิการต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือเป็นคนทุพพลภาพที่มีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี

 

ยังมีการลดหย่อนภาษีในรูปแบบ ประกันชีวิต การออมและการลงทุน รวมถึงการลดหย่อนภาษีในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มเงินบริจาค โดยจะลดหย่อนภาษีได้จำนวนเงินเท่าไหร่และมีเงื่อนไขอะไรบ้าง รอติดตามได้ในบทความต่อไปนะคะ

 

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน

รอยยิ้มของมะลิจะส่งผ่านความรัก ความเมตตา ความจริงใจให้แก่ผู้อ่านทุกท่าน บทความที่ถูกรังสรรค์มาจากทุกห้วงของจิตใจ ขอให้เราเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องราวที่สวยงามของคุณ

บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์