รีวิว ตำแหน่ง “วิศวกรกระบวนการผลิต (Process Engineer)” มีหน้าที่หลักๆ ทำอะไรบ้าง? มีความก้าวหน้าอย่างไรบ้าง? มีรายได้ต่อเดือนเป็นอย่างไรบ้าง?

รีวิว ตำแหน่ง “วิศวกรกระบวนการผลิต (Process Engineer)” มีหน้าที่หลักๆ ทำอะไรบ้าง? มีความก้าวหน้าอย่างไรบ้าง? มีรายได้ต่อเดือนเป็นอย่างไรบ้าง?

 

มีเพื่อนๆ หลายคนที่มีความสับสนกัน ระหว่าง “วิศวกรกระบวนการผลิต หรือ Process Engineer” กับ “วิศวกรฝ่ายผลิต หรือ Production Engineer” เกี่ยวกับ หน้าที่การทำงาน หน้าที่รับผิดชอบ หรือ Scope การทำงาน รวมไปถึงหลายๆ บริษัทด้วยเช่นกันนะครับ ที่มีความสับสน อยู่มาก

 

ผมจึงอยากจะมาอธิบายให้เพื่อนๆ ได้รับรู้กันนะครับว่า จริงๆ แล้ว “วิศวกรกระบวนการผลิต หรือ Process Engineer” นั้นมีบทบาทหน้าที่ในองค์กรอย่างไรบ้าง มีหน้าที่หลักๆ ต้องทำอะไรบ้าง และความแตกต่างกันระว่าง “วิศวกรกระบวนการผลิต หรือ Process Engineer” กับ “วิศวกรฝ่ายผลิต หรือ Production Engineer” เป็นอย่างไรบ้าง มีความก้าวหน้าไหม และมีพื้นฐานเงินเดือนอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่

สำหรับการ รีวิวตำแหน่งงาน “วิศวกรฝ่ายผลิต หรือ Production Engineer” เพื่อนๆ สามารถไปเข้าไปอ่านดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตาม ลิ้งนี้ได้เลยนะครับ >>> https://article.in.th/production-engineer-427 รีวิว ตำแหน่ง “วิศวกรฝ่ายผลิต (Production Engineer)” มีหน้าที่หลักๆ ทำอะไรบ้าง? มีความก้าวหน้าอย่างไรบ้าง? มีรายได้ต่อเดือนเป็นอย่างไรบ้าง?

 

อย่างที่บอกไว้ขั้นต้นนะครับ “วิศวกรกระบวนการผลิต หรือ Process Engineer” ในแต่ละองค์กร ก็จะมีหน้าที่รับผิดชอบที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับแต่ละแห่งจะทำการ Set Up ขึ้นมานะครับ แต่โดยหลักๆ แล้ว “วิศวกรกระบวนการผลิต หรือ Process Engineer” ก็จะมีหน้าที่รับผิดชอบหลักๆ ที่เหมือนกัน ไม่แตกต่างกันมากนัก

หน้าที่รับผิดชอบหลักๆ ของ “วิศวกรกระบวนการผลิต หรือ Process Engineer”

 

จะมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดเตรียม “กระบวนการผลิต หรือ Process” ให้กับ “ฝ่ายผลิต หรือ Production” ให้มีความพร้อมมากที่สุด เพื่อให้ทาง ฝ่ายผลิต ได้ทำการผลิตสินค้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ให้ได้ผลผลิตสูงสุด ได้กำไรสูงสุด นั้นเองครับผม

 

การจัดเตรียม “กระบวนการผลิต หรือ Process” นั้น ไม่ได้หมายถึงเฉพาะ กระบวนการวิธีการทำงาน เท่านั้นนะครับ ในที่นี้หมายถึง ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น เครื่องมือต่างๆ เครื่องจักรต่างๆ Jig Fixture เครื่องมือวัดต่างๆ อุปกรณ์ต่างๆ เอกสารต่างๆ มาตรฐานการทำงาน วิธีการตรวจสอบ วิธีการทดสอบ และอื่นๆ ทั้งหมด ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึง การจัดการโครงการ และงบประมาณ ด้วยเช่นกัน นะครับ

 

สำหรับ ขอบเขตการรับผิดชอบของ “วิศวกรกระบวนการผลิต หรือ Process Engineer” นั้น จะอยู่ระหว่าง “แผนกพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือ R&D Department” กับ “แผนกฝ่ายผลิต หรือ Production Department”

“วิศวกรกระบวนการผลิต หรือ Process Engineer” โดยทั่วไปแล้วจะถูกแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ เป็นไปตาม กระบวนการผลิต หรือ Process ขององค์กร นั้นๆ นะครับ ยกตัวอย่างเช่น Casting Engineer, Stamping Engineer, Painting Engineer หรือ อื่นๆ เป็นต้น ครับผม

 

และเช่นเดียวกันนะครับ ในแต่ละกระบวนการก็จะมี “วิศวกรฝ่ายผลิต หรือ Production Engineer” ประจำอยู่ ซึ่งต้องทำงานร่วมกัน นะครับผม เพราะหลังจากที่ “วิศวกรกระบวนการผลิต หรือ Process Engineer” ทำการเตรียมพร้อมทุกอย่าง เรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นก็จะต้องทำการโอนถ่ายทุกๆ อย่างให้กับ “วิศวกรฝ่ายผลิต หรือ Production Engineer” รับผิดชอบ และดูแลพัฒนาต่อไป ครับผม

บ้างองค์กร ก็ได้มีการกำหนดไว้เหมือนกันนะครับว่า หลังจากที่ “วิศวกรกระบวนการผลิต หรือ Process Engineer” โอนถ่ายงานทั้งหมดให้กับ “วิศวกรฝ่ายผลิต หรือ Production Engineer” แล้วนั้น ทาง “วิศวกรกระบวนการผลิต หรือ Process Engineer” ต้องทำการดูแล และ Support ทาง “วิศวกรฝ่ายผลิต หรือ Production Engineer” ต่อไปอีกสักประมาณ 3 – 6 เดือน แล้วแต่ละองค์กร จะตั้งนโยบายมานะครับ เพื่อทำให้ระบบการผลิตมีความเสถียร มากขึ้น มีประสิทธิภาพสูงสุด นั้นเองครับผม

 

นอกจากนี้ “วิศวกรกระบวนการผลิต หรือ Process Engineer” ยังต้องเป็น Leader ในการทำ Projects ต่างๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น Projects ที่เกี่ยวกับ ด้านคุณภาพ หรือ Quality ด้านต้นทุน หรือ Cost ด้านการจัดส่ง หรือ Delivery ด้านความปลอดภัย หรือ Safety และด้านอื่นๆ เช่น 5S หรือ 5ส เป็นต้น ที่อยู่ในพื้นที่ ที่ตัวเองรับผิดชอบอยู่นะครับผม

สำหรับความสามารถพื้นฐาน หรือ Skills ที่สำคัญๆ ที่ทาง “วิศวกรกระบวนการผลิต หรือ Process Engineer” ต้องมีนั้น ได้แก่

 

1. Engineering Skills หรือ ความสามารถทางด้านวิศวกรรมศาสตร์

2. Technical Skills หรือ ความสามารถทางด้านเทคนิคในกระบวนการที่รับผิดชอบ

3. Management Skills หรือ ความสามารถทางด้ารการจัดการ

4. Presentation Skills หรือ ความสามารถในการนำเสนองาน

5. Computer Skills หรือ ความสามารถด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ

6. Negotiation Skills หรือ ความสามารถในการเจรจาต่อรอง

7. Communication Skills หรือ ความสามารถในการสื่อสาร

8. Other Skills หรือ ความสามารถด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานที่รับผิดชอบ เป็นต้น

 

และที่สำคัญมากๆ อีกความสามารถหนึ่งนั้นก็คือ ความสามารถทางด้านภาษา นั้นเอง เพราะส่วนใหญ่แล้ว “วิศวกรกระบวนการผลิต หรือ Process Engineer” ต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารเครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ หรือแม้แต่เวลาที่ต้องประชุมงานสื่อสาร ส่วนใหญ่ก็ต้องใช้ ภาษาอังกฤษ นะครับผม

หากถามว่าต้องเรียนจบอะไรมา ถึงจะได้มาทำงานในตำแหน่ง “วิศวกรกระบวนการผลิต หรือ Process Engineer” ได้ คำตอบก็คือ มันขึ้นอยู่กับ กระบวนการผลิต หรือ ผลิตภัณฑ์ ขององค์กร นั้นๆ มากกว่านะครับ เช่น ถ้าโรงงาน มีกระบวนการผลิตเหล็ก เป็นสินค้าหลัก คนที่จะต้องการทำงานในตำแหน่ง “วิศวกรกระบวนการผลิต หรือ Process Engineer” ก็ควรจะเรียนจบทางด้าน โลหะวิทยา, วัสดุ, อุตสาหการ หรือ เครื่องกล มานั้นเอง หรือ ถ้าสินค้าเป็น ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ คนที่มาเป็น “วิศวกรกระบวนการผลิต หรือ Process Engineer” ก็ควรจะเรียนจบทางด้าน ไฟฟ้า, อิเล็กทรอนิกส์, แมคคาทรอนิกส์ หรือ วัดคุม เป็นต้น

สำหรับเงินเดือนเริ่มต้น ของ ตำแหน่งงาน “วิศวกรกระบวนการผลิต หรือ Process Engineer” ในองค์กรระดับกลาง ก็จะมีรายละเอียดดังนี้

 

นักศึกษาเรียนจบใหม่ๆ ไม่มีประสบการณ์การทำงานเลย กลุ่มนี้ ส่วนใหญ่ก็จะได้เงินเดือนตามโครงสร้างของบริษัทที่กำหนดไว้แล้ว คือ ประมาณ 18,000 - 28,000 บาท ต่อ เดือน ขึ้นอยู่กับความสามารถพิเศษของแต่ละคนด้วยนะครับผม

 

สำหรับกลุ่มที่มีประสบการณ์ตั้งแต่ 1 – 5 ปี ส่วนใหญ่จะได้เงินเดือนตามความสามารถ ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 25,000 – 55,000 บาท ต่อ เดือน

 

และกลุ่มสุดท้าย คือ กลุ่มที่มีประสบการณ์มากกว่า 5 ปี ขึ้นไป ซึ่งกลุ่มนี้ส่วนใหญ่แล้ว ก็จะเป็นตำแหน่งผู้บริหารระดับต้นขึ้นไปแล้ว เพราะฉะนั้นความแตกต่างของเงินเดือนจะไปได้มองแค่ความสามารถในงานอย่างเดียว ยังมีการมองความสามารถในงานด้านบริหารจัดการประกอบอีกด้วย ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 50,000 – 100,000 บาท ต่อ เดือน หรือมากกว่านั้น นะครับผม

สำหรับ “วิศวกรกระบวนการผลิต หรือ Process Engineer” ก็สามารถเจริญเติบโตในองค์กร ได้ดังนี้

 

“Process Engineer -> Senior Process Engineer -> Assistant Process Engineering Manager -> Process Engineering Manager -> General Process Engineering Manager -> Plant Manager -> Factory Manager -> COO -> CEO”

 

หรือ สามารถ ออกไปดำเนินกิจการส่วนตัวได้ เพราะมีพื้นฐานความรู้ทั้งในด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านเทคนิค ด้านบริหารจัดการ และอื่นๆ เป็นต้น มีความพร้อมในการที่จะเปิดธุระกิจส่วนตัวได้แบบ สบายๆ ได้เลยครับผม ยกตัวอย่างเช่น เปิดโรงงานเกี่ยวกับงานที่ทำมา (รับพ่นสี, รับงาน Machining, รับงานติดตั้งเครื่องจักร หรือ อื่นๆ) เป็นต้น

 

หากเพื่อนๆ ต้องการที่จะทราบรายละเอียดเพิ่มเติมมากขึ้น หรือ ความรู้อื่นๆด้านวิศวกรรมศาสตร์ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติม และกดติดตามได้ใน Link นี้ได้เลยนะครับ => Engineering Knowledge Learning Center by WAND Intelligence

 

By WAND Intelligence / 2021.10.01

 

YouTube:

https://www.youtube.com/watch?v=U1iMX_VRmGU

https://www.youtube.com/watch?v=8OZnL855aLo&t=313s

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน

Engineering Knowledge Learning Center [EKLC]

บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์