ความเชื่อเกี่ยวกับการตั้งครรภ์

1. ความเชื่อ : คุณแม่ที่สะโพกใหญ่ จะคลอดลูกได้ง่าย

    ความจริง : การที่มีกระดูกสะโพกใหญ่นั้นไม่ได้มีความสอดคล้องกับขนาดของช่องคลอดเพื่อให้ทารกคลอดได้ง่าย เพราะจริงๆแล้วโครงสร้างหลักในการคลอดคือกระดูกเชิงกรานที่ห่อหุ้มช่องทางคลอดที่อยู่ตรงอุ้งเชิงกรานอีกที ในอุ้งเชิงกรานจะประกอบไปด้วย มดลูก ปากมดลูก ปีกมดลูก และรังไข่ ตามปกติแล้วในไตรมาส 3 ของการตั้งครรภ์ อุ้งเชิงกรานจะมีขนาดใหญ่ขึ้น หากคุณแม่มีอุ้งเชิงกรานที่แคบก็จะส่งผลให้การคลอดยากขึ้นนั่นเอง

2. ความเชื่อ : รูปลักษณ์ภายนอกของคุณแม่บ่งบอกถึงเพศของทารก

    ความจริง : ไม่มีผลทางวิทยาศาสตร์ใดที่บอกได้ว่าขนาดของครรภ์และตำแหน่งสะดือ จะสามารถทราบเพศของทารกได้ สิ่งที่จะพิสูจน์ได้นั้นมีตั้งแต่การอัลตร้าซาวน์ไปจนถึงการตรวจเลือด จึงจะทราบแน่ชัดได้ว่าทารกในครรภ์นั้นคือเพศอะไร

3. ความเชื่อ : น้ำมะพร้าวช่วยให้ทารกผิวขาวสวย

    ความจริง : โดยปกติแล้วทารกในครรภ์ตั้งแต่ 5 เดือนขึ้นไปจะเริ่มมีการผลิตไขมาป้องคลุมร่างกาย เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ป้องกันเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังช่วยเป็นตัวหล่อลื่นขณะคลอดด้วย ในทางการแพทย์แล้วน้ำมะพร้าวไม่ได้มีส่วนในกระบวนการผลิตไขทารกเลย แต่ในแง่โภชนาการแล้วก็ยังคงมีประโยชน์ไม่น้อยหากดื่มในปริมาณพอดีไม่เกิน 1 แก้วต่อวัน

4. ความเชื่อ : ขณะตั้งครรภ์ไม่ควรไปงานศพ

    ความจริง : สาเหตุหลักที่ไม่ควรไปร่วมงานศพก็เพราะป้องกันไม่ให้คุณแม่เกิดอารมณ์หดหู่ใจ มีความรู้สึกเศร้า และวิตกกังวล ซึ่งส่งผลเสียต่อทารกได้

5. ความเชื่อ : กลัดเข็มกลัดไว้ที่สะดือ เพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้าย

    ความจริง : การกลัดเข็มกลัดเพื่อป้องกันภูตผีอาจเป็นความเชื่อส่วนบุคคล เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ และนอกจากนี้ยังช่วยให้คนภายนอกระมัดระวังตัวคุณแม่ ไม่ให้เกิดการกระทบกระแทกได้เมื่อเดินสวนกัน

6. ความเชื่อ : ห้ามมีเพศสัมพันธ์

    ความจริง : การมีเพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ไม่ส่งผลถึงความผิดปกติใดๆของทารกในครรภ์ หากจะต้องระวังมากขึ้นในช่วงคุณแม่เพิ่งตั้งครรภ์ใหม่ที่มีอากาศแพ้ท้อง อ่อนเพลีย และช่วงใกล้คลอดที่ขนาดท้องใหญ่จนอึดอัดเท่านั้นเอง นอกจากนี้ควรเลือกท่วงท่าที่ปลอดภัยและไม่ทำให้คุณแม่เหนื่อยมากขึ้น

7. ความเชื่อ : ห้ามออกกำลังกาย

    ความจริง : การออกกำลังกายส่งผลดีขณะตั้งครรภ์ เพราะช่วยให้ผ่อนคลาย ลดอาการปวดหลัง และทำให้คลอดง่ายขึ้น แต่ต้องเพิ่มข้อควรระวังไม่ให้ออกกำลังกายในท่าที่สุ่มเสี่ยงให้เกิดแรงปะทะหรืออุบัติเหตุได้ง่าย จึงควรปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกายในหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะ

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน

Knowledge sharing

บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์