ต้นไม้ฟอกอากาศ ฟอกได้เหมือนชื่อ... หรือจกตา??

ประมาณสองสามปีที่แล้ว กระแส PM 2.5 มาแรงมาก และพ่วงเอาความแรงของกระแสต้นไม้ฟอกอากาศ ต้นไม้ดูดสารพิษเข้ามาด้วย บวกกับกระแสการตกแต่งบ้านสไตล์มินิมอล ทำให้ต้นไม้แนวนี้กลายเป็นไอเทมสามัญประจำบ้านและออฟฟิศ และยิ่งตอกย้ำความนิยมแบบปังๆ เมื่อโควิด-19 มาเยือน การอยู่บ้าน หยุดเชื้อเพื่อชาติ ทำให้ยอดขายต้นไม้ตระกูลนี้พรุ่งกระฉูด ทั้งจำนวนและมูลค่า

แต่กลับมีบทความที่เขียนโดย 2 นักวิชาการจากสหรัฐอเมริกา (Bryan E. Cummings & Michael S. Waring) มาสร้างความสงสัยให้กับผม ชื่อ Potted plants do not improve indoor air quality: a review and analysis of reported VOC removal efficiencies. บทความนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Exposure Science & Environmental Epidemiology ฉบับที่ 30 ปี 2020

สรุปใจความได้ว่า ต้นไม้กระถางที่สามารถกำจัดสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile organic Compounds (VOCs)) ในภาชนะขนาดเล็กที่ปิดสนิท ได้ในเวลาหลายชั่วโมงหรือหลายวัน (ซึ่งศึกษาโดยนาซ่าเมื่อนานมาแล้ว) ถูกนำมาอ้างเพื่อแนะนำว่าต้นไม้กระถางเหล่านี้จะช่วยลดปริมาณของสารที่มีผลเสียต่อสุขภาพเหล่านี้ ที่พบภายในอาคารบ้านเรือนได้ด้วยเช่นกัน

ซึ่งแน่นอนว่าช่วยลดได้ แต่ต้องวางต้นไม้เป็นร้อยเป็นพันต้นในพื้นที่ของอาคาร ตรงจุดนี้คงต้องศึกษากันต่อไป แต่สำหรับตัวผมเองและเพื่อนๆที่รักต้นไม้ ผมเชื่อว่าพวกเราก็ยังชื่นชอบและหามาปลูกกันต่อไปอย่างไม่ลดละ ที่เห็นได้ชัดกว่าอากาศดี คือบรรยากาศดีขึ้นมากๆเลยครับ ดีแบบไม่จกตาแน่นอน!!

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน

ชายวัยกลางคน หัวหน้าครอบครัวที่มีแมวสี่ตัว, Work from home ยาวๆ

บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์