ทำไมมีกลิ่นไอดินเวลาฝนตก

ทุกคนคงสังเกตได้ ว่าหน้าฝนทีไร เวลาฝนตก มักจะได้กลิ่นของไอดินอ่อน ๆ รอยมา กลิ่นจะออกแนวสดชื่น ๆ วันนี้เราจึงอยากพาทุกคน มาทำความรู้จักกับที่มาของมัน ว่าทำไมมีกลิ่นดินเวลาฝนตก

 

กลิ่นดินมาจากไหน ในภาษาอังกฤษมีคำเฉพาะเรียก "กลิ่นดิน" ว่า "เพทริคอร์ (Petrichor)" โดยมาจากภาษากรีกว่า Petros ที่หมายถึง หิน และคำว่า ichor ที่หมายถึง ของเหลวที่ไหลเวียนอยู่ในร่างของเทพเจ้ากรีก ซึ่งอันที่จริงกลิ่นนี้ เป็นกลิ่นของสารประกอบทางเคมีบางชนิดที่มาผสมผสานกัน กลิ่นแรกคือกลิ่นของโอโซน (O3) ซึ่งโดยปกติโอโซนนี้จะอยู่ในชั้นบรรยากาศที่ชื่อว่า สตราโตสเฟียร์ และหากมีพายุฝนมีฟ้าผ่า ฟ้าแลบ ประจุไฟฟ้าจากปรากฏการณ์ดังกล่าวจะทำให้โมเลกุลของก๊าซออกซิเจน (O2) และก๊าซไนโตรเจน (N2) ในอากาศแตกออกจากกัน จนกลายเป็นอะตอมเดี่ยว ซึ่งอะตอมของออกซิเจนและไนโตรเจนบางส่วนจะรวมกันเป็นไนตริกออกไซด์ (NO) หรือไนตรัสออกไซด์ (N2O) ขณะที่อะตอมของออกซิเจนที่เหลือก็จะรวมกันเองกลายเป็นโอโซน (O3) ในที่สุด และหากกระแสลมฝนเคลื่อนตัวลงต่ำ มันก็จะพัดเอากลิ่นโอโซนเหล่านี้ลงมาด้วย เป็นเหตุที่ทำให้เราได้กลิ่นโอโซนในช่วงที่พายุกำลังจะมา

 

-1hLm96h9krgpUmdl4lFbGX_YsrwyyWUa46o1wbKNhnCcK_xUbCAHSlLKM_Zk_2hn2mgcgZUiTfE2uYQOXFfqNNUW7hZBOUUFJiCEIOEvPAwGvqzy5wMJvMTyW0TQ8pq2bByq82h=s0

 

อีกกลิ่นคือ กลิ่นจากสารประกอบอินทรีย์ที่เรียกว่า จีโอสมิน (Geosmin) ซึ่งถูกปล่อยออกมาจากแบคทีเรียเมื่อพวกมันตายลง โดยอยู่รอบ ๆ ดินที่มีความชื้น เมื่อฝนตกลงมา หยดน้ำฝนกระทบกับพื้นดินที่มีจีโอสมินอยู่ กลิ่นของจีโอสมิน ก็จะกระจายออกไป ทำให้เราได้กลิ่นไอดิน โดยกบิ่นจะแรงหรือไม่ ก็จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ฝนตกครั้งล่าสุด ความเข้มข้นของฝน และหากจีโอสมินถูกสะสมเป็นเวลานานและมากขึ้นในช่วงเวลาที่แห้งแล้งเมื่อฝนตกลงมาอีกครั้ง กลิ่นของมันก็จะแรงมากขึ้นไปอีกนอกจากนี้หากฝนตกลงมาเป็นละอองฝอยมากเท่าไร มันยิ่งช่วยให้จีโอสมินลอยตัวจากพื้นดินได้นานขึ้น และกลิ่นดินก็จะยิ่งแรงขึ้นอีก แต่หากฝนตกหนักจีโอสมินจะไม่สามารถลอยขึ้นไปในอากาศได้มากพอ ทำให้เราอาจจะได้กลิ่นน้อย หรือไม่ค่อยได้กลิ่น

 

**จีโอสมิน (Geosmin) คืออะไร

จีโอสมิน มาจากภาษากรีกโบราณว่า geo ที่หมายถึง ดิน และ osme ที่หมายถึง กลิ่น จีโอสมินเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติปล่อยออกมาจากแบคทีเรียที่มีลักษณะคล้ายเชื้อรา เรียกว่า สเตรปโทมัยซีท (Streptomycetes) ซึ่งเป็นแบคทีเรียในกลุ่มแอคติโนมัยซีท (Actinomycetes) พบได้มากในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์

LElATNpcKS6IBbBd-AZNRmNgNrdDbrPIbprZxB5OMkz2wIMSvCBHF_UKflIsZSTzu2DD3MC_Gk0_696jFVR3X2RwEf_vEFnsM9VkvglCHjHYzioBxhuTZBGkf9Mwou92cRaH2GhB=s0

 

ส่วนกลิ่นจากน้ำมันของพืช มาจากการที่พืชปล่อยน้ำมันออกมาในช่วงเวลาที่แห้งแล้ง เพื่อชะลอการงอกและการเติบโตของเมล็ด เพราะหากแห้งแล้งมาก และมีน้ำไม่เพียงพอ ก็อาจทำให้พวกมันขยายพันธุ์ไม่ได้ น้ำมันเหล่านี้เป็นพวก stearic acid และ palmitic acid ซึ่งเป็นน้ำมันของพืชทั่วไป มันคือกรดไขมันที่มีสายโซ่ไฮโดรคาร์บอนที่ยาว และมีกลุ่มคาร์บอกซิล (R−COOH) เกาะอยู่ที่ปลายด้านหนึ่ง และกลุ่มเมทิล (R−CH3) ที่ปลายอีกด้านหนึ่ง ซึ่งจะเกาะติดกับดิน หิน พื้นผิวทางเดิน และเมื่อฝนตกลงมา น้ำฝนจะสัมผัสกับโมเลกุลเหล่านี้ ทำให้พวกมันถูกปลดปล่อยสู่บรรยากาศเช่นเดียวกับจีโอสมิน จึงทำให้กลิ่นดิน แรงมากขึ้น

 

 

แต่สิ่งที่พิเศษไปกว่านั้นคือ กลิ่นของจีโอสมิน สามารถดึงดูดพวกแมลงหางดีดได้ดีมาก ๆ เนื่องจากสัตว์ชนิดนี้ ชอบกลิ่นนี้เป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงเป็นกลิ่นที่ดึงดูดแมลงหางดีด ให้เข้ามาในแถว ๆ ที่มีกลิ่น เพื่อให้แมลงหางดีดนำสปอร์ของแบคทีเรียออกไปสู่อาณาจักรแห่งใหม่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่า

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน
บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์