ทำความรู้จัก Paxlovid ยารักษาโควิด-19 ที่ว่าลดอัตราการตายได้ถึงร้อยละ 89

วันที่ 22 เมษายน 2565 องค์การอนามัยโลกได้มีคำแนะนำให้ใช้ยา Paxlovid รักษาการโควิด-19 ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิต  (1)  มาทำความรู้จักกับ Paxlovid กัน

  • Paxlovid เป็นยาเม็ดสำหรับรับประทานประกอบด้วยตัวยา Nirmatrelvir กับ Ritonavir เป็นยาต้านไวรัสทั้งคู่ โดย Nirmatrelvir พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Pfizer ก็บริษัทที่ผลิตวัคซีน Biotech โควิด
  • ยาต้านไวรัสที่มีกลไกยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Protease ของไวรัส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ไวรัสใช้ในการแบ่งตัว
    • สรุปคือ คือยาไปทำให้ไวรัสแบ่งตัวไม่ได้ ก็ไม่สามารถเพิ่มปริมาณและทำลายเซลล์ร่างกายไม่ได้แต่ถ้าไวรัสแบ่งตัวไปแล้วอยู่ในช่วงเจริญเติบโต ยาจะไม่สามารถออกฤทธิ์ได้
    • ดังนั้นถ้าติดเชื้อต้องรีบกินยาถึงจะมีประสิทธิภาพทีดี 
  • ประสิทธิภาพของยา มีการศึกษาการใช้ยาในผู้ป่วย 2246 คน ที่ไม่ได้รับวัคซีนและมีปัจจัยเสี่ยง (ได้แก่  1.อายุ > 60 ปี 2. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหรือโรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ 3. โรคไต 4. โรคหัวใจและหลอดเลือดรวมโรคหัวใจแต่กำเนิด 5. โรคหลอดเลือดสมอง 6. โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ 7. ภาวะอ้วน 8.ภาวะตับแข็ง 9. ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ 10.ผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีแนวโน้มของโรงรุนแรง) ต่อการเป็นโรครุนแรงอย่างน้อย 1 ข้อ
    • พบว่าการให้ยาภายใน 3-5 วันหลังจากมีอาการ จะสามารถลดอัตราการนอนโรงยาบาล หรืออัตราการตายที่ 28 วันถึงร้อยละ 89 เทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยา
    • ในขณะที่อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาพบได้ร้อยละ 22 ไม่แตกต่างกันระหว่างทั้ง 2 กลุ่มและไม่รุนแรง ที่พบได้บ่อยคือ ประสาทรับรสผิดปกติ ร้อยละ 5.6 และท้องเสีย ร้อยละ 3.1 (2)

ดีอย่างนี้ในไทยล่ะ จากเพจ Hfocos.org เจาะลึกระบบสุขภาพ (3) วันที่ 24 มีนาคม 2565 กระทรวงสาธารณสุขได้ลงนามกับบริษัท Pfizer ในการจัดซื้อยา Paxlovid จำนวน 50,000 คอร์สการรักษา ก็คือ 50,000 คน พร้อมกระจายสู่โรงพยาบาลตั้งแต่เมษายน 2565 โดยผู้ป่วยที่มีเกณฑ์ความเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรคจริง ๆ จึงจะได้รับยาแต่จะมีการติดตามประสิทธิภาพของยาในไทย

อย่างไรก็ตามการใช้ยาตัวนี้ยังมีข้อควรระมัดระวังเนื่องจากมีปฎิกิริยาระหว่างยามาก และที่สำคัญล่าสุดคือมี viral rebound คือผลการทดสอบโคโรน่าไวรัสกลับมาเป็นบวกหลังจากเป็นลบ มักพบวันที่ 3 ของการรักษาด้วย Paxlovid ครบแล้ว (4)

อ้างอิง
1."WHO recommends highly successful COVID-19 therapy and calls for wide geographical distribution and transparency from originator" (April 22, 2022). WHO.

2. Jennifer H. (2022) Oral Niramatrelvir for High-risk Nonhospitalized Adults with Covid-19.Retrieved Febuary 16, 2022, from The New England Journal of Medicine Website:https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa2118542

3. 24 มีนาคม 2565.ไทยจัดซื้อยาแพกซ์โลวิดให้ผู้ป่วยมีอาการ 50,000 ราย ชี้ให้ยาตามข้อบ่งชี้เท่านั้น Website:https://www.hfocus.org/content/2022/03/24776

  • 4.CDC Health Alert Network (2022) COVID-19 Rebound After Paxlovid Treatment.Retrieved May 24, 2022, from.This is an official CDC health advisory. Website:  https://emergency.cdc.gov/han/2022/pdf/CDC_HAN_467.pdf

 

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน
บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์