รีวิว วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics Engineering) เรียนอะไรกันบ้าง? จบมาแล้วทำงานอะไร? มีรายได้ดีไหม?

รีวิว วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics Engineering) เรียนอะไรกันบ้าง? จบมาแล้วทำงานอะไร? มีรายได้ดีไหม?

โดยปกติทั่วไปแล้ว ในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต หรือ องค์กร ทั่วๆไป นั้น ต้องมี ช่าง หรือ วิศวกร ประจำอยู่ ซึ่งจะมีจำนวนมาก หรือจำนวนน้อย ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของ องค์กร ถ้าองค์กรใด หรือ โรงงานอุตสาหกรรมใด มีจำนวน วิศวกร ประจำอยู่ ในจำนวนที่มาก และหลากหลายสาขา ก็แสดงให้เห็นได้เลยว่า องค์กรนั้นๆ หรือ โรงงานอุตสาหกรรม นั้นๆ มีประสิทธิภาพสูง เช่นเดียวกัน

 

สำหรับ น้องๆ หลายๆ คน ที่มีความสนใจที่อยากศึกษา ในสายวิศวกรรมศาสตร์ หรือ เพื่อนๆ พี่ๆ อยากจะให้บุตรหลาน หรือคนรู้จัก เขามาศึกษาในสายวิศวกรรมศาสตร์ แต่อาจจะยังไม่รู้รายละเอียด ของแต่ละสาขาวิชา ว่าทำการศึกษาเกี่ยวกับอะไรบ้าง เรียนจบมาแล้วจะได้ทำงานหรือเปล่า เรียนจบมาแล้วจะไปทำอะไรได้บ้าง มีรายได้ยังไงบ้าง

 

ผมเลยมีความต้องการที่อยากจะแชร์ประสบการณ์ ที่ทำงานเป็น วิศวกร มาหลายปี อยู่ในหลากหลายองค์กร และหลากหลายธุรกิจ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อให้ทุกๆ ท่าน ได้รับรู้รายละเอียด ให้มากที่สุด เพื่อเป็นประโยชน์ในการนำไปประกอบการตัดสินใจ ในการเลือกสาขาวิชาเรียน และเป็นตัวกำหนดสายงานอาชีพของตัวเอง ในอนาคตอีกด้วยนะครับ

 

เพราะถ้าหากเรานั้น ทำการตัดสินใจ เลือกสาขา วิชาที่เราไม่ชอบ ไม่ถนัด มันก็อาจจะส่งผลต่อ อนาคตของเราเลยก็ว่าได้นะครับ บางทีอาจจะเสียเวลาในการเรียน จบมาแล้วก็ไม่ได้ทำงานตามที่ตัวเองชอบ ที่ตัวเองรักเป็นต้นนะครับ

 

ยังไงก็อยากจะฝาก น้องๆ ทุกคนไว้นะครับ ว่าก่อนจะตัดสินใจเลือกสาขาวิชาที่จะเรียนต่อ เลือกมหาวิทยาลัยที่จะศึกษาต่อนั้น ต้องทำการพิจารณาดีๆ เลือกในสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราชอบ และต้องเหมาะสมกับตัวเราด้วยเช่นกันนะครับ ยังไงก็ขออวยพรให้ น้องๆ ทุกๆ คน สมหวัง และประสบความสำเร็จกัน ทุกๆคนเลยนะครับ ขอบคุณครับผม

 

สำหรับในครั้งนี้ ผมจะมาพูดเกี่ยวกับ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ หรือ Mechatronics Engineering เดี่ยวเราไปดูรายละเอียด กันได้เลยนะครับ ว่า สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ คืออะไร ศึกษาเกี่ยวข้องกับอะไร จบมาจะทำงานในสายไหนได้บ้าง และ มีรายได้อย่างไรบ้าง เชิญรับชมรับฟังได้เลยนะครับ ขอบคุณมากครับผม

 

สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ หรือ Mechatronics Engineering มีการเริ่มต้น เกิดขึ้นครั้งแรกในโลก ที่ประเทศญี่ปุ่น ประมาณช่วงก่อนปี ค.ศ. 1970 โดย Tetsura Mori Senior Engineer ของ บริษัท Yaskawa Electric Corporation ซึ่งคำว่า Mechatronics นั้น เกิดขึ้นมาจาก Tetsura Mori คิดว่าสิ่งประดิษฐ์ที่เขาทำขึ้นมานั้น มันมาจากงาน “Mechanical” และ “Electronics” มาประยุกต์รวมกัน เพื่อผลิตอุปกรณ์ที่มีความสามารถใหม่ขึ้นมา โดยมีความแม้นยำที่สูงมากขึ้นและมีต้นทุนที่ต่ำลง เขาจึงได้นำคำว่า “Mechanical” กับ “Electronics” มารวมกัน กลายเป็นคำว่า “Mechatronics” เมื่อปี ค.ศ. 1969

 

และในปี ค.ศ. 1970 ทาง บริษัท Yaskawa Electric Corporation ก็ได้ยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตร คำว่า “Mechatronics” ขึ้น และได้รับการรับรอง อย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1973 แต่ในยุคนั้น ก็ยังไม่ได้รับความนิยมสักเท่าไหร่ และหลังจาก ปี ค.ศ. 1980 คำว่า “Mechatronics” ก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากว่า เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาท กับวงการอุตสาหกรรม เป็นอย่างมาก มีการสร้างผลิตภัณฑ์ ที่มีการผสมผสานกัน ระหว่าง “Mechanical” กับ “Electronics” กันมากขึ้น โดยควบคุมระบบการทำงาน ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีความแม่นยำสูง และต้นทุนที่ต่ำลง

 

สำหรับ ในประเทศไทยนั้น ได้มีการเปิดการเรียนการสอน หลักสูตรวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ ในระดับปริญญาตรี ขึ้นเป็นครั้งแรก ที่ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ในปี พ.ศ. 2536 โดยได้รับความร่วมมือช่วยเหลือ จาก องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA: Japan International Cooperation Agency) หลังจากนั้น ก็ได้มีการเปิดการเรียนการสอนใน สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ กันอย่างแพร่หลาย ทั้งใน มหาวิทยาลัยของรัฐบาล และ เอกชน ไม่ว่าจะเป็น มหาวิทยาลัยศรีปทุม,  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์,สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารวิทยาเขตลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น, มหาวิทยาลัยทักษิณ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร และ นอกจากนี้ ยังมีอีกหลากหลายมหาวิทยาลัยที่ทำการเปิดการเรียนการสอนใน วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ ทั้งรัฐบาลและเอกชน ยังไง น้องๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตาม เว็บไซด์ ของแต่ละมหาวิทยาลัย ได้เลยนะครับผม

 

สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ หรือ Mechatronics Engineering เป็นสาขาวิชาที่นำความรู้ จากในหลายสาขามาผสมผสานกัน คือ ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องกล คอมพิวเตอร์ และ อุตสาหการ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ ในการออกแบบ หรือสร้างอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรระบบอัตโนมัติ เพื่อตอบสนองวงการอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังต้องศึกษาเกี่ยวข้องกับการ วางแผน วิเคราะห์ปัญหา ให้คำแนะนำ และควบคุมกระบวนการสร้างระบบอัตโนมัติ ทั้งในเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือ เครื่องมือต่างๆ เช่น หุ่นยนต์ ระบบ PLC ระบบลำเลียงอัตโนมัติ เป็นต้น

 

สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics Engineering) สาขาสหวิทยาการที่ประยุกต์องค์ความรู้ของวิศวกรรมศาสตร์ 3 ด้านหลัก คือ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมการควบคุมอัตโนมัติ และศาสตร์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อการออกแบบ สร้างผลิตชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์ รวมถึงพัฒนางานในระบบอุตสาหกรรม

 

วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ จะพัฒนาศักยภาพของเครื่องจักรกลโรงงาน จำพวกหุ่นยนต์โรงงาน หรือ ระบบอัจฉริยะ (Intelligent Systems) ให้มีการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการเรียนการสอนจะเริ่มต้นตั้งแต่ ความรู้พื้นฐานทางวงจรไฟฟ้า การออกแบบวงจรควบคุม การควบคุมเครื่องจักรกลโรงงาน รวมไปถึงการออกแบบเครื่องจักรกลหนักและโครงสร้างของเครื่องจักร เป็นต้น

โดยงานวิจัย และ การพัฒนา ของงาน “Mechatronics” นั้น สามารถแบ่งออกได้หลักๆ 10 ประเภท คือ

1. Motion Control คือ ระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบเครื่องจักรกลที่ ระบบการลำเลียงและเคลื่อนไหวที่ใช้ความเร็วควบคุมโดยอุปกรณ์ เช่น เครื่องสูบ หัวขับวาลว์ หรือ มอเตอร์ไฟฟ้า Motion Control คือส่วนสำคัญของระบบหุ่นยนต์ และ อุปกรณ์เครื่องกล CNC

 

2. Robotics คือ การออกแบบ และพัฒนาให้หุ่นยนต์ ให้มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น เพื่อตอบสนองกับความต้องการ ของทางวงการอุตสาหกรรม และยังสามารถตอบโจทย์ของการพัฒนาระบบ Modern Manufacturing อีกด้วย

 

3. Automotive Systems คือ การออกแบบ และพัฒนา ระบบอัตโนมัติ หรือระบบหุ่นยนต์ ที่อยู่ใน อุตสาหกรรมยานยนต์ ให้มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น

 

4. Intelligent Control คือ การออกแบบ และพัฒนา หุ่นยนต์ หรือระบบอัตโนมัติ เพื่อประยุกต์ให้เป็น “ระบบอัจฉริยะ” (Intelligent Systems) ตามความต้องการที่กำหนดไว้ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ

 

5. Actuators and Sensors คือ การออกแบบ และพัฒนา ระบบการส่งสัญญาณ และตัวแปรสัญญาณ ให้มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น เพื่อตอบสนองกับความต้องการ ของทางวงการอุตสาหกรรม

 

6. Modeling and Design คือ การพัฒนาการออกแบบ และการจำลอง ของ ระบบ Mechatronics ให้มีประสิทธิภาพสูง รวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ เพื่อตอบสนองกับความต้องการ ของทางวงการอุตสาหกรรม

 

7. System Integration คือ การออกแบบ และปรับปรุงพัฒนา เทคโนโลยีการเชื่อมต่อ ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อรองรับ เทคโนโลยีใหม่ๆที่พัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เช่น ระบบ AI และ ระบบ Automation โดยต้อง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนในการผลิต และลดเวลาในการผลิต มีความแม่นยำสูง

 

8. Manufacturing คือ การออกแบบ และปรับปรุงพัฒนา ระบบการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ให้มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น ลดต้นทุนในการผลิต และลดเวลาในการผลิต มีความแม่นยำสูง หรือ Modern Manufacturing นั้นเอง

 

9. Micro Devices and Optoelectronics คือ การออกแบบ และปรับปรุงพัฒนา ตัวระบบ Micro Devices และ Optoelectronics หรือ อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์เชิงแสง ที่มีขนาดเล็ก ให้มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น ราคาต้นทุนลดลง เพื่อตอบสนองกับความต้องการ ของทางวงการอุตสาหกรรม  

 

10. Vibration and Noise control คือ การออกแบบ และปรับปรุงพัฒนา อุปกรณ์ การสั่นสะเทือน และการควบคุมเสียงรบกวน ให้มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น ราคาต้นทุนลดลง เพื่อตอบสนองกับความต้องการ ของทางวงการอุตสาหกรรม  

 

และในปัจจุบัน ระบบ “Mechatronics” ได้มีการแพร่หลายเข้ามายัง ระบบพลังงาน ระบบการสื่อสาร ระบบทางการแพทย์ ระบบยานพาหนะ และมีการขยายพัฒนาไปยังสู่หลายๆ พื้นที่ เนื่องจากว่า ระบบของ “Mechatronics” นั้น มีคุณภาพที่สูงมาก และราคาต้นทุนที่ต่ำ

เดี๋ยวเรามาดู สำหรับรายวิชาที่ทาง วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ ต้องเรียนนั้น แต่ละมหาวิทยาลัยก็จะแตกต่างกันไม่มากนะครับ ซึ่งก็จะสามารถแบ่งออกเป็นหลักๆ ดังนี้

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ก็คือ วิชาทั่วๆไป ที่ต้องปรับพื้นฐานที่มาจากระดับ มัธยม นั้นเองครับ เช่น กลุ่มวิชาทางด้านภาษา กลุ่มวิชามนุษย์ศาสตร์ และสังคม กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ถัดไปก็จะเป็นวิชา

2. หมวดวิชาเฉพาะ ก็คือ หมวดวิชาเฉพาะที่ทาง วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ ต้องเรียนนั้นเองครับ ซึ่งสามารถแบ่งเป็น หมวดวิชาย่อยๆ ดังนี้

2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ ก็คือ วิชาที่นักศึกษาที่เรียนวิศวกรรมศาสตร์ ทุกคนต้องเรียน ส่วนใหญ่ก็จะได้เรียนคล้ายๆกันในทุกๆ สาขาวิชา แต่ก็จะมีแตกต่างกันเล็กน้อยไปตาม สาขาวิชาที่เรียนนะครับ เช่น วิชา เทคโนโลยีไฟฟ้า, เทคโนโลยีการผลิต, วัสดุวิศวกรรม, วิชากลศาสตร์วิศวกรรม, กรรมวิธีการผลิต, Thermodynamic และ การเขียนแบบเมคคาทรอนิกส์ เป็นต้นถัดไปเป็น

2.2 กลุ่มวิชาบังคับทางวิศวกรรมศาสตร์ ก็คือ วิชาที่มีเรียนเฉพาะ วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยบังคับให้เราต้องเรียน ยกตัวอย่าง เช่น เครื่องมือกลชั้นสูง, หุ่นยนต์อุตสาหกรรม, ระบบอัตโนมัติในระบบการผลิต, การจำลองและควบคุมระบบ, การออกแบบวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ และ พลศาสตร์ของระบบวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ เป็นต้น วิชาบังคับทางวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยก็อาจจะมีความแตกต่างกันนิดหน่อยนะครับถัดไปก็จะเป็น

2.3 กลุ่มวิชาเลือกทางวิศวกรรมศาสตร์ ก็คือ วิชาเลือกที่เราสามารถเลือกเรียนได้ ตามความต้องการของเรา ตามที่ทางมหาวิทยาลัยได้จัดขึ้นมา ซึ่ง ความรู้ทาง วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ นั้น สามารถประยุกต์ใช้ได้ กับหลากหลาย สาขา ซึ่งวิชาเลือกที่เราจะเลือกเรียน ก็ต้องเลือกตามที่ตัวเรามีความสนใจ เช่น การออกแบบโรงงานอุตสาหกรรม, วิธีการออกแบบระบบควบคุม, การควบคุมแบบดิจิตอล, ปัญญาประดิษฐ์, ระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น และ การบริหารการผลิต เป็นต้น

3. หมวดวิชาเลือกเสรี ก็คือ เป็นวิชาที่เราสามารถเลือกเรียนได้ตามที่เราชอบ และที่ทางมหาวิทยาลัยทำการเปิดการเรียนการสอนได้เลยนะครับ

 

ซึ่งรายละเอียด ของหลักสูตร หรือรายวิชาที่เรียน ของแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีความแตกต่างกัน นิดหน่อย น้องๆ เวลาจะเลือกเรียนต่อ ก็ลองอ่านหลักสูตรดูก่อนนะครับว่า ชอบหรือไม่ชอบ เหมาะกับเราหรือเปล่า เราได้ประโยชน์ในการเรียนไหม เพราะการเรียนนั้น เราต้องเรียนให้รู้และสามารถนำมาใช้งานได้จริง ไม่ใช่ว่าเรียนเพื่อต้องการให้จบๆ ไป นะครับ เพราะถ้าคิดแบบนี้ หลังจากมาทำงานก็อาจจะมีปัญหาได้นะครับ ยังไงน้องๆ ก็ลองเปิดเปรียบเทียบหลักสูตรของแต่ละแห่ง ดูก่อนนะครับผม ก่อนจะตัดสินใจ

 

สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ เรียนจบมาแล้ว สามารถเข้าไปทำงานได้หลากหลาย องค์กร ทั้งหน่วยงานของรัฐบาล หรือ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ยกตัวอย่าง เช่น ศูนย์วิจัยพัฒนาระบบเมคคาทรอนิกส์, ห้องปฏิบัติการพัฒนาระบบเมคคาทรอนิกส์, ช่างซ่อมบำรุงรักษา และพัฒนาเครื่องจักร อุปกรณ์ และระบบการผลิตอัตโนมัติ, ปตท, การไฟฟ้า, โรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ การเกษตร อาหาร เครื่องจักรกล ธนาคาร โรงแรม รีสอร์ท โรงพยาบาล เป็นต้น ขึ้นอยู่กับว่าเราจะชอบทำงานในสายงานไหนนะครับ

และนอกจากนี้ สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ ยังสามารถทำงานได้ในหลากหลาย ตำแหน่งงาน หลากหลายส่วนงาน เช่น Maintenance Engineer, Mechatronics Engineer, Robotics Engineer, Automation System Design Engineer, Control System Engineer, Data Logging Engineer, Automotive Engineer, Instrumentation Engineer, Project Engineer, Software Engineer, Systems Engineer, Service Engineer, Process Engineer, Production Engineer, Quality Engineer, Sale Engineer, Purchasing Engineer, นักวิจัย และ อื่นๆ อีกมากมาย ครับผม

 

ต่อไปมาดูเงินเดือนเริ่มต้น ของ สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ กันนะครับ ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนนะครับว่า ตัวเลขที่ผมนำมาโชว์ตรงนี้นั้น เป็นแค่ค่าเฉลี่ยที่มาจากบริษัทแห่งหนึ่งเท่านั้นนะครับ โครงสร้างเงินเดือนของแต่ละ บริษัทนั้นไม่เท่ากันนะครับ ตัวเราจะได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของเราเอง บวกกับ โครงสร้างเงินเดือนขององค์กร ด้วยนะครับ

จริงๆ เงินเดือนเด็กจบใหม่ ยังไม่มีประสบการณ์ แต่ละสาขาก็จะใกล้เคียงกัน ไม่แตกต่างกันมาก เงินเดือนก็จะเริ่มอยู่ที่ประมาณ 18,000 – 28,000 บาทต่อเดือน และหากมีประสบการณ์ตั้งแต่ 1 – 3 ปี เงินเดือนก็จะอยู่ที่ประมาณ 27,500 – 40,000 บาทต่อเดือน และหากมีประสบการณ์ ตั้งแต่ 3 – 5 ปี เงินเดือนก็จะอยู่ที่ประมาณ 40,000 – 65,000 บาทต่อเดือน และหากมีประสบการณ์ ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป เงินเดือนก็จะอยู่ที่ประมาณ 55,000 – 85,000 บาทต่อเดือน

เป็นไงบ้างครับ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกๆท่าน พอจะมองภาพของ สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ ได้ชัดเจนมากขึ้นบ้างไหมครับ หากมีคำถาม หรือ ต้องการที่จะรู้รายละเอียดของสาขาวิชาไหน ก็สามารถ เขียนคอมเม้นมาที่ใต้นี้ได้เลยนะครับ ขอบคุณมากๆ ครับผม                               

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน

Engineering Knowledge Learning Center [EKLC]

บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์