Manila city jail คุกที่ไม่เหมือนคุกไหน

 Manila city jail (มนิลา ซิตี้ เจล) คุกชายแห่งหนึ่งในประเทศฟิลิปปินส์ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นคุกที่แออัดแห่งหนึ่งในโลก โดยคุกแห่งนี้มีผู้ต้องขังทั้งหมด 5,600 คน ทั้งที่คุกสามารถรองรับผู้ต้องขังได้เพียง 1,100 คนเท่านั้น ทำให้เวลาในช่วงค่ำคืนเป็นเวลาที่ทรมาน เพราะไม่สามารถนอนเหยียดกายได้เต็มที่ และยิ่งไปกว่านั้นที่คุกแห่งนี้ยังมีจำนวนผู้คุมที่น้อยนิด โดยผู้คุม 1 คน ต้องทำหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ต้องขังจำนวน 200 - 300 คน  (ตามมาตรฐานขององค์การสหประชาชาติผู้ควบคุม 1 คน สามารถควบคุมดูแลผู้ต้องขัง 7 คน) เหตุที่คุกแห่งนี้มีจำนวนผู้ต้องขังจำนวนมาก เป็นผลพวงมาจากนโยบายการกวาดล้างยาเสพติดของประธานาธิบดีโรดริเกอร์ ดูเตอร์เต ที่ทำให้มีนักโทษยาเสพติดถูกส่งเข้าคุกจำนวนมากมาย แต่อย่างไรก็ตามคุกแห่งนี้ไม่ได้มีเพียงนักโทษคดียาเสพติดเท่านั้น ยังมีคดีลักขโมย จนถึงคดีอาชญากรรม ซึ่งโดยส่วนใหญ่ผู้ต้องขังในคุกแห่งนี้จะเป็นคดีที่รอการตัดสิน แต่เนื่องจากการตัดสินที่ล่าช้า เพราะมีจำนวนผู้พิพากษาน้อย และบางคนที่ได้อนุญาตให้ประกันตัวก็ไม่มีหลักทรัพย์มาประกันตัว จึงทำให้มีผู้ต้องขังที่ต้องอยู่คุกแห่งนี้เป็นจำนวนมากต่อไป

ดังนั้นเพื่อเป็นการลดความเครียดของผู้ต้องขัง และป้องกันการเกิดปัญหาในคุก จึงมีการนำนโยบายหลายอย่างมาใช้ในการแก้ปัญญาในแบบที่เรียกว่า ฟิลิปปินส์สไตล์ (Philippines style) ไม่ว่าจะเป็นการให้ผู้ต้องขังดูแลกันเองภายใต้การควบคุมของผู้คุม ที่คุกแห่งนี้มีทั้งหมด 14 เรือน หรือบ้าน บ้านแต่ละหลังสามารถรองรับผู้ต้องขังได้ 100 คน แต่ในความเป็นจริงแต่ละล้านมีผู้ต้องขัง 500-600 คนต่อหลัง แต่ละบ้านจะมีการตั้งชื่อ มีการแต่งตั้งหัวหน้าบ้าน หรือผู้ประสานงาน ฝ่ายการเงิน และฝ่ายอื่นๆ ของแต่ละบ้าน หัวหน้าบ้าน จะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์งานต่างๆจากผู้คุมให้กับสมาชิกในบ้านทราบ นอกจากนั้นทางเรื่อจำยังอนุญาตให้ผู้ต้องขังสามารถดูรายการทีวีได้จากช่องทีวีหลักได้เกือบทุกรายการ โดยจะยกเว้นรายการที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเพศและการแหกคุก ในช่วงกลางวันผู้ต้องขังจะได้รับอนุญาตออกจากบ้านเพื่อมาทำกิจกรรมที่ลานกว้าง ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีฬาประเภทต่างๆ ตั้งแต่ ฟุตบอล วอลเลย์บอลมีตู้เกม และตู้คาราโอเกะให้ผ่อนคลาย และยังมีการค้าขายด้วย ใช่แล้วค่ะ ที่นี้อนุญาตให้มีการขายสินค้าได้ไม่ว่าจะเป็นน้ำปั่นหรืออาหาร โดยพ่อค้าเป็นผู้ต้องขังด้วยกันเอง นอกจากนั้นยังอนุญาตให้ทำอาหารกินเองได้ เนื่องจากงบประมาณอาหารที่ได้รับมาเพียง 10 บาทต่อคนเท่านั้น อาหารจึงไม่เพียงพอสำหรับผู้ต้องขัง ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถสร้างรายได้จากการเสริมสวยได้ด้วย นั่นคือ กิจการทำเล็บของผู้ต้องขัง LGBT

ถ้าจะว่าไปที่นี้หากไม่มีกำแพง และกฎระเบียบบางอย่างที่จำกัดอิสรภาพของผู้ต้องขัง ที่นี้ก็ไม่ต่างกับการใช้ชีวิตข้างนอกในชุมชนแออัดที่ไหนสักแห่ง อย่างไรก็ตามคุก ก็คือ คุก  ไม่ว่าจะผ่อนคลาย เพลิดเพลินแค่ไหน ก็ไม่มีใครต้องการเข้ามาอยู่ในนี้ ต่อให้ทำความผิดจริงก็ตาม

 อ้างอิง 

          https://www.nytimes.com/2019/01/07/world/asia/philippines-manila-jail-overcrowding.html

          https://www.dailymail.co.uk/news/article-5864849/Shocking-conditions-inside-overcrowded-Manila-City-Jail-revealed.html

https://www.youtube.com/watch?v=bXnzmZ40gdM

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน
บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์