รีวิว ตำแหน่ง “Maintenance Engineer (วิศวกรซ่อมบำรุง)” มีหน้าที่หลักๆ ทำอะไรบ้าง? มีความก้าวหน้าอย่างไรบ้าง? มีรายได้ต่อเดือนเป็นอย่างไรบ้าง?

 

รีวิว ตำแหน่ง “Maintenance Engineer (วิศวกรซ่อมบำรุง)” มีหน้าที่หลักๆ ทำอะไรบ้าง? มีความก้าวหน้าอย่างไรบ้าง? มีรายได้ต่อเดือนเป็นอย่างไรบ้าง?

 

 

หากจะพูดถึง ตำแหน่งงานของ วิศวกร ที่น่าจะเลอะเทอะ เปรอะเปื้อน และงานหนักมากๆ คงหนีไม่พ้น “Maintenance Engineer หรือ วิศวกรซ่อมบำรุง” ใช่ไหมครับ มีการทำงานที่ไม่ค่อยเป็นเวลาที่ชัดเจน ต้องทำโอทีบ่อยๆ หน่อวยงานอื่นๆ ได้หยุดพักผ่อนกัน แต่ส่วนใหญ่แล้ว หน่วยงาน “ซ่อมบำรุง หรือ Maintenance” นั้น ต้องมาทำงาน อยู่เสมอๆ

 

ไม่ว่าจะมีปัญหาอะไร ไฟดับ น้ำไม่ไหล เครื่องจักรเสีย ฝ่ายผลิตหยุด น้ำท่วม หรืออื่นๆ ก็ต้องใช้บริการของ หน่วยงาน “ซ่อมบำรุง หรือ Maintenance” ตลอดเวลาใช่ไหมครับผม เพื่อนๆ หลายๆ คน คงมีคำถามใช่ไหมครับ ว่า ทำไม ต้องเรียกแต่ หน่วยงาน “ซ่อมบำรุง หรือ Maintenance” ตลอดเลย เดี๋ยวเรามาดูรายละเอียดงานของ หน่วยงาน “ซ่อมบำรุง หรือ Maintenance” กันเลยนะครับ

 

 

สำหรับ หน่วยงาน “ซ่อมบำรุง หรือ Maintenance” นั้น ก็มีหน้าที่หลักๆ เลยนะครับ คือ คอยดูแล ซ่อมบำรุง อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร และอื่นๆ ภายในองค์กร นั้นเอง ซึ่งจริงๆ แล้ว หน้าที่ของ หน่วยงาน “ซ่อมบำรุง หรือ Maintenance” นั้นมีมากมายหลากหลาย และแตกต่างกันออกไป ตามที่แต่ละองค์กรจะกำหนดไว้ด้วยนั้นเองนะครับผม ผมจะขอยกตัวอย่างคร่าวๆ ของ หน่วยงาน “ซ่อมบำรุง หรือ Maintenance” ในโรงงานอุตสาหกรรม แห่งหนึ่ง มาอธิบายให้เพื่อนๆ ได้ ทราบถึงรายละเอียดกนมากขึ้นนะครับ เพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น

 

แผนกซ่อมบำรุงนะครับ สามารถแบ่งเป็นส่วนงานย่อยได้ดังนี้

 

1. Facility & Utility Maintenance หรือ หน่วยงานซ่อมบำรุงทั่วไป เช่น งานซ่อมสร้างหรืองานก่อสร้าง งานไฟฟ้า งานระบบน้ำ และงานทั่วๆไป ซึ่งในส่วนงานของ Facility & Utility ก็จะแบ่งแผนกย่อยออกเป็น

1.1 งานซ่อมสร้างหรืองานก่อสร้าง

1.2 งานไฟฟ้า

1.3 งานระบบน้ำ

1.4 งานทั่วๆไป

 

 

2. Machine Maintenance หรือ หน่วยงานซ่อมบำรุงเครื่องจักร ก็คือต้องทำการดูแล รักษา และซ่อมบำรุง เครื่องจักรทั้งหมดในองค์กร ซึ่งสามารถแบ่งแผนกงานย่อยได้ดังนี้

2.1 Mechanical Machine Maintenance หรือ หน่วยงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรที่ดูแลระบบของเครื่องกล

2.2 Electrical Machine Maintenance หรือ หน่วยงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรที่ดูแลระบบของไฟฟ้า รวมไปถึงระบบ PLC Software Program และอื่นๆ

3. Die & Tooling Maintenance หรือ หน่วยงานซ่อมบำรุงแม่พิมพ์ และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น Jig Fixture เป็นต้น

4. IT หรือ Information Technology หรือ หน่วยงานซ่อมบำรุงที่เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเน็ตเวิค Email และ อินเตอร์เน็ต

5. Store Maintenance หรือ หน่วยงานที่มีไว้ดูแลเกี่ยวกับ ชิ้นส่วนต่างๆ Spare parts และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงทั้งหมด บางที่ อาจจะแยก Store ตามแผนก แต่บ้างที่ก็ไม่ได้แยก รวมทั้งมหดไว้ที่เดียวกัน

 

 

สำหรับ หน้าที่ของ “Maintenance Engineer หรือ วิศวกรซ่อมบำรุง” นั้น มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง?

 

ส่วนใหญ่แล้วหน้าที่หลักๆ ของ “Maintenance Engineer หรือ วิศวกรซ่อมบำรุง” นั้น ก็จะคล้ายๆ กันนะครับ คือ การซ่อมบำรุง ดูแลรักษา อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร รวมถึง อื่นๆ ที่อยู่ในส่วนของตัวเองรับผิดชอบอยู่นั้นเอง โดยรายละเอียด ดังนี้

 

1. ทำการวางแผนในการซ่อมบำรุง หรือที่เรียกว่า PM (Preventive Maintenance) ก็คือการวางแผนซ่อมบำรุงรักษา อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายหกเดือน รายปี เป็นต้น ซึ่งระยะเวลาก็นำมาจาก คู่มือ หรืออาจกำหนดเองจากประสบการณ์ เพื่อป้องกันไม่ให้ เครื่องจักร หรือ อุปกรณ์ต่างๆ เกิดการ Breakdown ขึ้น หรือหยุดการผลิตขึ้นนั้นเอง

 

2. ทำการแก้ไขปัญหาเครื่องจักร และอุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ ตามที่มีการร้องขอมา ที่เรียกว่า ใบแจ้งซ่อม หรือ Work Order นั้นเอง โดย วิศวกรซ่อมบำรุง จะต้องทำการพิจารณา และวิเคราะห์อาการ สอบถามอาการ เบื้องตันจาก ผู้ออกใบแจ้งซ่อมมาให้ละเอียด หลังจากนั้นก็พาทีมงานเข้าไปจัดการซ่อมแซม ในกรณีที่ ไม่สามารถซ่อมแซมเองได้ วิศวกรซ่อมบำรุงต้องทำหน้าที่ในการติดต่อประสานงาน หาช่างซ่อมภายนอกเข้ามาจัดการซ่อมแซม

 

3. จัดทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อลดการสูญเสียของเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ เช่น จัดทำ กิจกรรม LEAN, 5S, KAIZEN และ กิจกรรมอื่นๆ เป็นต้น เพื่อเป็นการลดความสูญเสียต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับ เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ และยังเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน และทำให้พื้นที่มีความสะอาดบรรยากาศน่าทำงานมากขึ้น ส่งผลทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพขึ้นไปด้วย เช่นกัน

 

4. วิศวกรซ่อมบำรุงต้องเป็น ผู้นำในการจัดทำ TPM (Total Productive Maintenance) เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพผลิต เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักร หรือ OEE เพิ่มผลกำไร และลดของเสียให้เป็นศูนย์ ตามหลักการ 8 เสาหลักของระบบ TPM

 

5. ควบคุมดูแล Spare part หรือ อะไหล่ในการซ่อมบำรุง วิศวกรซ่อมบำรุง ต้องเป็นคน ควบคุม Stock ของ Spare part ทั้งหมด และควบคุม Spec ของชิ้นส่วนทั้งหมด รวมไปถึงอุปกรณ์ เครื่องมือ ต่างๆ ด้วย เพื่อเป็นการ ควบคุมต้นทุน เพื่อให้องค์กร ได้มีกำไรมากที่สุด

 

 

“Maintenance Engineer หรือ วิศวกรซ่อมบำรุง” ต้องเรียนจบอะไรมา และต้องมีพื้นฐานอะไรบ้าง?

 

ส่วนใหญ่ “Maintenance Engineer หรือ วิศวกรซ่อมบำรุง” ก็จะจบมาจากสาย วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเครื่องมือหรือแม่พิมพ์ เป็นต้น

 

แต่ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่ก็จะไม่ได้กำหนดไว้ตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้มาสมัคร ต้องการจะทำงานซ่อมบำรุงหรือเปล่า เพราะข้อเสียก็คือ ในวันที่พนักงานคนอื่นๆ เขาหยุดกัน แต่สำหรับ หน่วยงาน “ซ่อมบำรุง หรือ Maintenance” จะต้องมาทำงาน เป็นต้น

 

และสำหรับผู้หญิง ก็สามารถที่จะมาทำ “Maintenance Engineer หรือ วิศวกรซ่อมบำรุง” ได้เช่นเดียวกันนะครับ หากมีความสนใจในด้านนี้

 

 

ส่วนความสามารถพื้นฐานเบื้องต้นที่ “Maintenance Engineer หรือ วิศวกรซ่อมบำรุง” จะต้องมีนั้นก็คือ

 

1. ต้องมีความสามารถพื้นฐานในด้านช่าง เช่น สามารถวิเคราะห์ได้ว่าถ้าอะไรเกิดเสียหายมาจะทำการซ่อมแซมอย่างไร มีทักษะในการใช้อุปกรณ์ทางช่าง เป็นตัน

 

2. ต้องมีความรู้พื้นฐานกับส่วนงานที่รับผิดชอบ เช่น รับผิดชอบด้านไฟฟ้า ก็ควรมีความรู้ด้านไฟฟ้า รับผิดชอบแม่พิมพ์ก็ควรมีความรู้ด้านแม่พิมพ์ เป็นต้น

 

3. ต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวกับช่าง เช่น Auto Cad, Solid Work, PLC Program หรือ อื่นๆ เป็นต้น

 

4. มีทักษะในการคำนวณ แปลงหน่วย หรือ คณิตศาสตร์ต่างๆ ที่ใช้ในงานช่าง เพราะทุกๆวันต้องได้ใช้งานการคำนวณต่างๆ

 

5. มีทักษะในการแก้ไขปัญหา ในกรณีที่เกิดปัญหาแบบฉุกเฉิน ต้องมีสติ รู้ว่าต้องทำการแก้ไขปัญหาอย่างไร

 

6. สุดท้ายที่สำคัญมากๆ คือ ต้องสามารถทำงานหนักๆได้ ทำงานภายใต้ภาวะความกดดันที่สูง เนื่องจากว่า หากไม่สามารถซ่อมเครื่องจักรได้ องค์กรก็ไม่สามารถจะผลิตได้ องค์กร ก็ไม่สามารถส่งงานขายได้ และก็จะไม่มีกำไร

 

 

“Maintenance Engineer หรือ วิศวกรซ่อมบำรุง” มีเงินเดือนพื้นฐานอยู่ที่เท่าไหร่?

 

สำหรับ เด็กจบใหม่ที่ยังไม่มีปรสบการณ์เลย ส่วนใหญ่ก็จะมีเงินเดือนเริ่มต้น ตามโครงสร้างขององค์กรกำหนดไว้ นั้นก็คือจะอยู่ที่ประมาณ  18,000 – 28,000 บาท ต่อ เดือน ส่วนใหญ่จะได้มากหรือน้อย ก็จะขึ้นอยู่กับโครงสร้างขององค์กร และ ความสามารถพิเศษของแต่ละคนด้วยนะครับ

 

หากมีประสบการณ์แล้ว ตั้งแต่ 1 - 5 ปี ก็จะมีเงินเดือนพื้นฐานเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 25,000 – 55,000 บาท ต่อ เดือน และจะได้มากหรือน้อย ก็จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และ ความสามารถพิเศษของแต่ละคนด้วยนะครับ

 

หากมีประสบการณ์แล้ว ตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป ก็จะมีเงินเดือนพื้นฐานเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 50,000 – 85,000 บาท ต่อ เดือน และจะได้มากหรือน้อย ก็จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และ ความสามารถพิเศษของแต่ละคนด้วยนะครับ

 

แต่โดยส่วนใหญ่ Maintenance Engineer หรือ วิศวกรซ่อมบำรุง” จะมีเงินพิเศษมากกว่า หน่วยงานอื่นๆ นะครับ ยกตัวอย่างเช่น OT, หรือ ค่าทักษะพิเศษต่างๆ เป็นต้น

 

สำหรับความเจริญก้าวหน้าของ “Maintenance Engineer หรือ วิศวกรซ่อมบำรุง”

 

ส่วนการเจริญเติบโตของ วิศวกรซ่อมบำรุง ก็คล้ายๆ กับ ตำแหน่งงานอื่นๆ นะครับ คือ จาก Engineer ก็เลื่อนขึ้นมาเป็น Senior Engineer, Manager, General Manager, Director, COO, CEO เป็นต้น

 

แต่สำหรับ Maintenance Engineer หรือ วิศวกรซ่อมบำรุง” ก็จะมีความพิเศษมากกว่าคนอื่นๆ นั้นก็คือ จะมีความรู้ ความสามารถทางเทคนิคเยอะมาก และมี connection ที่ดี เพราะขณะที่ทำงานก็ต้องทำการติดต่อประสานงานกับ Suppliers อยู่บ่อยครั้ง ถ้าต้องการที่จะไปเปิดกิจการเป็นของตัวเองก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเลยครับ บางคนมาเปิดโรงงานรับซ่อมแซมเครื่องจักรก็มีหลายรายครับผม

 

 

“Maintenance Engineer หรือ วิศวกรซ่อมบำรุง” ก็เป็นอีกหนึ่งตำแหน่งงาน ในสายอาชีพ วิศวกร ที่มีความน่าสนใจ และท้าทายมากๆ อย่างหนึ่ง เหมาะมากๆ สำหรับใครที่ต้องการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ในด้านทางเทคนิคต่างๆ เพื่อนำไปประกอบอาชีพ หรือธุรกิจ ส่วนตัวนะครับผม

 

หากเพื่อนๆ ต้องการรู้รายละเอียดของ ตำแหน่งงานอื่นๆ หรือ ต้องการจะทราบรายละเอียดอะไร ก็สามารถแสดงความคืดเห็น หรือติชม กันมาได้นะครับ ที่ด้านล่างของบทความได้เลย ครับ หรือที่ ลิ้งนี้ได้เช่นกันนะครับ => Engineering Knowledge Learning Center by WAND Intelligence

 

 

WAND Intelligence / 2021.10.08

 

YouTube:

https://www.youtube.com/watch?v=wt7HLhMXKiA

https://www.youtube.com/watch?v=tkeEChy65AY

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน

Engineering Knowledge Learning Center [EKLC]

บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์