ทำไมทะเลสาบฮิลเลียถึงมีสีชมพู

v0BsYEtjOqE8DlnN_eiqAEP4PyOzFxsbFW3qr2MC0NvMxOQrQJgeft76PPXcY2xphJNBk22dMpgPRLQ_7TZB24FF3cvoXDBEvmz8cGkqfCmIpepGWd4STjAJFQe4DZiDwC85Pj-8=s0

ทะเลสาบฮิลเลียร์ (Hiller lake) เป็นทะเลสาบน้ำเค็ม ตั้งอยู่บนเกาะแห่งหนึ่งทางด้านตะวันตกของทวีปออสเตรเลีย ซึ่งสีชมพูที่ปรากฎอยู่ มาจากสาหร่ายชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Dunaliella salina ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่มีความเค็ม และทนทายต่อความเข้มข้นของเกลือได้สูงมากถึง 0.2-35% โดยสาหร่ายจะดูดซับแสงและทำการสังเคราะห์แสงเพื่อให้พวกมันสามารถเจริญเติบโตได้ ซึ่งผลจากการสังเคราะห์แสง ทำให้เกิดสารสีแดง เรียกว่า แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ซึ่งส่งผลให้ทะเลสาบมีสีชมพูนั่นเอง แต่ก็ไม่ใช่แค่สาหร่ายชนิดนี้ ที่ส่งผลให้ทะเลสาบมีสีชมพู เพราะยังมีแบคทีเรียที่ชื่อว่า Halobacteria โดยพวกมันสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่เกลือมีความเข้มข้นสูง และมีการผลิตเม็ดสีแคโรทีนอยด์ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งก็ส่งผลให้ทะเลสาบมีสีชมพูเช่นกัน

 

2F82v1EhXV0a-TxM0oI0NqfDtzd7PAro2vb5AGFpI3k2NCyL0hl-381SJP1-bAcST9aBSC86HB7S6Bs6MZhkhwKxlu14SPO5ep2MgSdxQOvq6OayUSuuc1KlSFXmznSia4Vltvmk=s0

ทะเลสาบสีชมพูนั้นมีความเข้มข้นของเกลือสูงมาก ๆ เช่นเดียวกับทะเลสาบเดดซี (Dead sea) ซึ่งเหตึนี้ ส่งผลให้น้ำมีความหนาแน่นมาก ๆ ดังนั้นเราจึงสามารถลอยตัวบนน้ำได้แบบไม่จมลงไป เพราะว่าเรามีความหนาแน่นน้อยกว่าความหนาแน่นของทะเลสาบนั่นเอง

 

HqBfzb_WdcsQKWcEDAKZVqBu0AjhZAzgRbXi9fBIjxFo08L4Ii1UyaJIxNpBoPv8re13Y3EqcfkzuMGEuW-Z1p8CFLrZ_hmN6HiOpAhj5gSuA8YfFSLDtzeC3BX0RhWDzyI3Ct9Q=s0

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน
บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์