ข้อสอบพร้อมเฉลย พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓

1. พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่เท่าใด

 

ก.   ฉบับที่  3                                    ค.  ฉบับที่   4

 

ข.   ฉบับที่  5                                    ง.   ฉบับที่  2

 

ตอบ   ค.   ฉบับที่  4    มาตรา  3  ให้ยกเลิก

 

ฉบับที่  1  พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534

 

ฉบับที่  2  พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2543

 

ฉบับที่  3  พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2548

 

 

 

2. “เด็ก”  ตามพ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว หมายถึง

 

ก. บุคคลอายุยังไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์                        ค. บุคคลอายุยังไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์

 

ข. บุคคลอายุน้อยกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์                          ง. บุคคลอายุยังไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์

 

ตอบ  ก. บุคคลอายุยังไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์

 

 

 

3. “เยาวชน” ตามพ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว หมายถึง

 

ก. บุคคลอายุเกินสิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงยี่สิบปีบริบูรณ์

 

ข.  บุคคลอายุเกินสิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์

 

ค.  บุคคลอายุเกินสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงยี่สิบปีบริบูรณ์

 

ง. บุคคลอายุเกินสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงยี่สิบห้าปีบริบูรณ์

 

ตอบ    ข.  บุคคลอายุเกินสิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์

 

 

 

4. ข้อใด  คือ การแก้ไขบำบัดฟื้นฟู

 

ก. การรับคำปรึกษาแนะนำ                            ค. การเข้าร่วมเข้าร่วมกิจกรรมบำบัด

 

ข. การฝึกอาชีพ                                               ง.  ถูกทุกข้อ

 

ตอบ   ง.  ถูกทุกข้อ              “การแก้ไขบำบัดฟื้นฟู” หมายความว่า มาตรการที่กำหนดเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสนับสนุนเด็กหรือเยาวชนให้สามารถอยู่กับครอบครัวและชุมชนได้โดยปกติสุข เช่น การรับคำปรึกษาแนะนำ การเข้าร่วมกิจกรรมบำบัด  การเข้าร่วมกิจกรรมทางเลือก การศึกษา  หรือการฝึกอาชีพหรือวิชาชีพ

 

 

 

5. ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีใดบ้าง

 

ก. คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด

 

ข. คดีคุ้มครองสวัสดิภาพ

 

ค. คดีครอบครัว

 

ง. ถูกทุกข้อ

 

ตอบ   ง.  ถูกทุกข้อ มาตรา ๑๐ ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดี

 

            ดังต่อไปนี้

 

(1) คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด

 

(2) คดีอาญาที่ศาลซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้โอนมาตามมาตรา ๙๗ วรรคหนึ่ง

 

(3) คดีครอบครัว

 

(4) คดีคุ้มครองสวัสดิภาพ

 

(5) คดีอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลเยาวชนและครอบครัว

 

15

 

6. ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางประกอบด้วยใครบ้าง

 

ก. อธิบดีผู้พิพากษา                                                         ค.  เลขานุการ

 

ข. รองอธิบดีผู้พิพากษา                                                 ง.  ถูกทุกข้อ

 

ตอบ   ง.  ถูกทุกข้อ     มาตรา ๑๗ ในศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ให้มีอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางหนึ่งคน รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางสองคน และเลขานุการศาลเยาวชนและครอบครัวกลางหนึ่งคนซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม และในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในทางราชการคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมโดยความเห็นชอบของประธานศาลฎีกาจะกำหนดให้มีรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนก็ได้

 

 

 

7. ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกี่คน

 

ก.  1  คน                                                                            ค.  3  คน

 

ข. 2  คน                                                                             ง.  4   คน

 

ตอบ   2  คน  

 

 

 

8. เมื่อตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางว่างลงใครเป็นผู้ทำการแทน

 

ก.  รองอธิบดีผู้พิพากษา                                                 ค.  เลขานุการ

 

ข. ผู้พิพากษาผู้มีอาวุโสสูงสุดในศาล                           ง. ถูกทุกข้อ

 

ตอบ   ก. รองอธิบดีผู้พิพากษา     มาตรา ๑๘ เมื่อตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางว่างลงหรือผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเป็นผู้ทำการแทน ถ้ามีผู้ดำรงตำแหน่งนั้นมากกว่าหนึ่งคน ให้ผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้ทำการแทน ถ้าผู้มีอาวุโสสูงสุดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับเป็นผู้ทำการแทน

 

 

 

9. เมื่อตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดว่างลงใครเป็นผู้ทำการแทน

 

ก. รองอธิบดีผู้พิพากษา                                                   ค.  เลขานุการ

 

ข. ผู้พิพากษาผู้มีอาวุโสสูงสุดในศาล                           ง. ถูกทุกข้อ

 

ตอบ    ข. ผู้พิพากษาผู้มีอาวุโสสูงสุดในศาล

 

เมื่อตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวว่างลง หรือผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ผู้พิพากษาผู้มีอาวุโสสูงสุดในศาลหรือแผนกนั้นเป็นผู้ทำการแทน ถ้าผู้พิพากษาผู้มีอาวุโสสูงสุดในศาลหรือแผนกนั้นไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ผู้พิพากษาผู้มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับเป็นผู้ทำการแทน

 

 

 

10. ใครเป็นผู้รับผิดชอบงานของศาลเยาวชนและครอบครัวทั่วราชอาณาจักร

 

ก. อธิบดีผู้พิพากษา                                                         ค.  เลขานุการ

 

ข. รองอธิบดีผู้พิพากษา                                                 ง.  ผู้พิพากษาผู้มีอาวุโสสูงสุดในศาล

 

ตอบ    ก. อธิบดีผู้พิพากษา           

 

มาตรา ๑๙ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเป็นผู้รับผิดชอบงานของศาลเยาวชนและครอบครัวทั่วราชอาณาจักร โดยให้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นและอธิบดีผู้พิพากษาภาคตามที่บัญญัติไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน
บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์