แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติ ข้อมูลข่าวสารทางราชการ พ.ศ. 2540 พร้อมเฉลย 45 ข้อ

แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติ ข้อมูลข่าวสารทางราชการ

พ.ศ. 2540 พร้อมเฉลย  45 ข้อ

ข้อ 1.พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ  พ.ศ. 2540 นี้ ให้ใช้บังคับเมื่อใด

ก.พ้นกำหนดหกสิบวันนัยแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกศาเป็นต้นไป

ข.พ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกศาเป็นต้นไป

ค.พ้นกำหนดร้อยยี่สิบห้าวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกศาเป็นต้นไป

ง.พ้นกำหนดร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกศาเป็นต้นไป

ตอบ  ก.พ้นกำหนดหกสิบวันนัยแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกศาเป็นต้นไป (มาตรา2)

ข้อ 2.บรรดากฏหมาย กฏ ระเบียบ และข้อบังคับอื่น ในส่วนที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ จะมีผลอย่างไร

ก.ใช้บังคับได้บางส่วน

ข.ให้ใช้พระราชบัญญัติแทน

ค.เป็นโมฆะ

ง.ไม่มีผลทางกฏหมายแต่ประการใด

ตอบ ข.ให้ใช้พระราชบัญญัติแทน  (มาตรา3)

ข้อ 3.ในพระราชบัญญัตินี้  “ข้อมูลข่าวสาร”  หมายความว่าอย่างไร

ก.ข้อมูลต่างๆ ของทางราชการที่ถูกบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น

ข.สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง ข้อมูล หรือสิ่งใดๆ ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆ

ค.สิ่งบันทึกโดยทำเป็นรูปแบบของข้อมูลในรูปแบบเอกสารเท่านั้น

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ข.สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง ข้อมูล หรือสิ่งใดๆ ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆ  (ตามมาตรา 4)

ข้อ 4.ในพระราชบัญญัตินี้ ข้อใดคือความหมายของ  “ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ”  ที่ถูกต้อที่สุด

ก.ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐ

ข.ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ

ค.ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐหรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน

ง.ข้อมูลข่าวสารที่อยุ่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐหรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชนรวมถึงข้อมูลที่เอกชนเก็บรักษาไว้ด้วย

ตอบ ค.ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐหรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน  (ตามมาตรา 4)

ข้อ 5.แนวคิดในการจัดทำกฏหมายข้อมูลข่าวสารในประเทศไทยเกิดขึ้นอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกในสมัยนายกรัฐมนตรีท่านใด

ก.นายชวน  หลีกภัย

ข.นายอานันท์  ปันยารชุน

ค.พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ

ง.นายสมัคร  สุนทรเวช

ตอบ  ข.นายอานันท์  ปันยารชุน

ข้อ 6.ร่างกฏหมายเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของทางราชการได้ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2540 ในสมัยนายยกรัฐมนตรีท่านใด

ก.นายชวน  หลีกภัย

ข.นายอานันท์  ปันยารชุน

ค.พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ

ง.นายสมัคร  สุนทรเวช

ตอบ  ค.พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ

ข้อ 7.ผู้ใดเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ก.นายกรัฐมนตรี

ข.คณะรัฐมนตรี

ค.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีฯ

ง.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ตอบ  ก.นายกรัฐมนตรี  (ตามมาตรา 5)

ข้อ 8.ให้ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ในข้อ 12. มีอำนาจออกกฏกระทรวง เพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งกฏกระทรวงจะใช้บังคับได้ต่อเมื่อได้กระทำการตามข้อใด

ก.ทันที่ที่ประกาศกฏกระทรวงนั้น

ข.เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ค.เมื่อรัฐสภาได้รับรอง

ง.เมื่อได้ปิดประกาศไว้ต่อหน้าศาลและที่ทำการอำเภอทุกท้องที่

ตอบ  ข.เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา  (ตามมาตรา 5 วรรคสอง)

ข้อ 9.ข้อใดเป็นจุดหลักที่มาสำคัญของการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ

ก.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

ข.ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์

ค.พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฯ

ง.มติคณะรัฐมนตรี

ตอบ  ก.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

ข้อ 10.ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการขึ้นในสำนักงานใด

ก.สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม

ข.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ค.สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ  ค.สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี  (ตามมาตรา 6 )

ข้อ 11.หน่วยงานของรัฐต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนี้...”ลงพิมพ์ในข้อใด

ก.หนังสือพิมพ์รายวัน

ข.ราชกิจจานุเบกษา

ค.หนังสือเวียน

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ  ข.ราชกิจจานุเบกษา (ตามมาตรา 7)

ข้อ 12.ภายใต้บังคับมาตรา 14 และมาตรา 15 ในพระราชบัญญัตินี้ หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนี้.........ไว้เพื่อวัตถุประสงค์ตามข้อใดเป็นสำคัญ

ก.เป็นประชาสัมพันธ์ข่าวสารของทางราชการ

ข.เป็นข้อปฏิบัติแก่ข้าราชการในหน่วยงานนั้นๆ

ค.ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ  ค.ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด (ตามมาตรา 9)

ข้อ 13.บุคคลที่มีอำนาจในการเข้าตรวจดูเอกสาร ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (ข้อมูลข่าวสารของราชการ) จะต้องมีส่วนได้เสียในเรื่องนั้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ก.ต้องมีส่วนได้เสีย เพราะเป็นข้อมูลข่าวสารของราชการ  ราชการจำต้องปกปิด

ข.ต้องมีส่วนได้เสีย เพราะเป็นข้อมูลข่าวสารของราชการ  ราชการจะปกปิดหรือไม่ไม่สำคัญ

ค.ต้องมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ได้เพราะเป็นข้อมูลข่าวสารราชการที่ประชาชนมีอำนาจตรวจดูได้อยู่

ง.ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ ค.ต้องมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ได้เพราะเป็นข้อมูลข่าวสารราชการที่ประชาชนมีอำนาจตรวจดูได้อยู่ (ตามมาตรา 9 วรรคสาม)

ข้อ 14.บุคคลที่มีสิทธิในการตรวจสอบดูเอกสาร นอกจากทำการตรวจดูแล้ว ยังมีสิทธิอย่างใดกับเอกสารนั้นได้อีก

ก.ขอสำเนา

ข.ขอสำเนา หรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้อง

ค.ขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องรวมทั้งการนำต้นฉบับออกจากสถานที่ราชการได้

ง.ขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องนำต้นฉบับออกจากสถานที่ราชการร้องขอคัดสำเนาโดยไม่เสียค่าธรรมเนียมได้

ตอบ  ข.ขอสำเนา หรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้อง (ตามมาตรา 9 วรรคสาม)

ข้อ 15.ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ประชาชนสามารถตรวจดูได้ ตามหลักเกณฑ์ที่กฏหมายกำหนดนั้น หากเป็นคนต่างด้าวจะมีสิทธิตามมาตรานี้เพียงใด กรณีนี้ให้เป็นไปตามที่ผู้ใดกำหนด

ก.คำสั่งนายกรัฐมนตรี

ข.มติคณะรัฐมนตรี

ค.กฏกระทรวง

ง.คำสั่งของแต่ละหน่วยงานนั้นๆ

ตอบ  ค.กฏกระทรวง  (ตามมาตรา 9 วรรคท้าย)

ข้อ 16. นอกจากข้อมูลข่าวสารของราชการที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว หรือที่จัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้แล้วหรือที่มีการจัดให้ประชาชนได้ค้นคว้าตามมาตรา 26 แล้ว ถ้าบุคคลใดขอข้อมูลข่าวสารอื่นใดของราชการอีก คำขอของผู้นั้นต้องระบุรายละเอียดอย่างไร

ก.ระบุข้อมูลข่าวสารที่ต้องการในลักษณะที่อาจเข้าใจได้ตามควร

ข.ระบุรายละเอียดของข้อมูลข่าวสารนั้นๆตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

ค.ไม่ต้องระบุสิ่งใด สามารถขอข้อมูลที่ต้องการได้ทันที

ง.ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ  ก.ระบุข้อมูลข่าวสารที่ต้องการในลักษณะที่อาจเข้าใจได้ตามควร  (ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง)

ข้อ 17.ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐจัดหาให้ ต้องเป็นข้อมูลข่าวสารตามข้อใด

ก.ต้องเป็นข้อมูลที่ต้องไปจัดทำวิเคราะห์ จำแนก รวบรวม หรือจัดใหมีขึ้นใหม่

ข.ที่มีอยู่แล้วในสภาพที่พร้อมจะให้ได้

ค.ถูกทั้ง ก. และ ข.

ง.ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ  ข.ที่มีอยู่แล้วในสภาพที่พร้อมจะให้ได้ (ตามมาตรา 11 วรรคสาม)

ข้อ 18.ในกรณีที่มีการร้องเรียนต่อคณะกรรมการ ที่ผู้ขอตรวจข้อมูลข่าวสารของราชการมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ และคณะกรรมการต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จ ภายในกี่วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องเรียน

ก.ภายใน 30 วัน

ข.ภายใน 60 วัน

ค.ภายใน 90 วัน

ง.ภายใน 120 วัน

ตอบ ก.ภายใน 30 วัน (ตามมาตรา 13 วรรคสอง)

ข้อ 19. ข้อมูลข่าวสารของราชการตามข้อใด ที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผยก็ได้

ก.รายงานทางวิชาการ

ข.ความเห็นหรือคำแนะนำภายในหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการเรื่องใด

ค.ข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการทำความเห็น

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ข.ความเห็นหรือคำแนะนำภายในหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการเรื่องใด (ตามมาตรา 13 วรรคสอง)

ข้อ 20.คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการห้ามกำหนดเงื่อนไข

ก.คำสั่งมิใหเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการห้ามกำหนดเงื่อนไข

ข.คำสั่งมิใหเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดก็ได้แต่ต้องระบุไว้ด้วยว่าที่เปิดเผยไม่ได้เพราะเป็นข้อมูลข่าวสารประเภทใด

ค.คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดก็แต่แต่ต้องระบุไว้ด้วยว่าที่เปิดเผยไม่ได้เพราะเป็นข้อมูลข่าวสารประเภทใดเพระเหตุใด

ง.คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการกำหนดเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ไม่ต้องระบุไว้แต่อย่างใด

ตอบ ค.คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดก็แต่แต่ต้องระบุไว้ด้วยว่าที่เปิดเผยไม่ได้เพราะเป็นข้อมูลข่าวสารประเภทใดเพระเหตุใด (ตามมาตรา15 วรรคสอง)

ข้อ 21.การมีคำสั่งเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ ให้ถือมีผลเป็นไปโดยอย่างไร

ก.เป็นไปตามระเบียบของหน่วยงานของรัฐนั้นๆ

ข.เป็นดุลพินิจโดยเฉพาะของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามลำดับสายการบังคับบัญชา

ค.เป็นดุลพินิจโดยเฉพาะของเจ้าหน้าที่นั้นๆ

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ค.เป็นดุลพินิจโดยเฉพาะของเจ้าหน้าที่นั้นๆ (ตามมาตรา 15 วรรคสอง)

ข้อ 22.การอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ อาจอุทธรณ์ได้ต่อผู้ใด

ก.คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์

ข.คณะกรรมการการปกครอง

ค.คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ค.คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร (ตามมาตรา 15 วรรคสอง) คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ แต่ต้องระบุไว้ด้วยว่าที่เปิดเผยไม่ได้เพราะเป็นข้อมูลข่าวสารประเภทใดและเพราะเหตุใด และให้ถือว่าการมีคำสั่งเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นดุลพินิจโดยเฉพาะของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามลำดับสายการบังคับบัญชาแต่ผู้ขออาจอุทธรณ์ตอ่ “คณะกรรมการการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร” ได้ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้

ข้อ 23. เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติว่าข้อมูลข่าวสารของราชการจะเปิดเผยต่อบุคคลใดได้หรือไม่ภายใต้เงื่อนไขเช่นใด และสมควรมีวิธีรักษามิให้รั่วไหลให้หน่วยงานของรัฐกำหนด วิธีการคุ้มครองข้อมูลข่าวสารนั้น ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อใด

ก.ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนดว่าด้วยการักษาความลับของทางราชการ

ข.ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ

ค.ตามระเบียบที่นายกรัฐมนตรีกำหนดว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ

ง.ตามมติของคณะรัฐมนตรี

ตอบ ก.ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนดว่าด้วยการักษาความลับของทางราชการ (ตามมาตรา 16)

ข้อ 24.ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเห็นว่า การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของผู้ใด ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติอย่างไหร่

ก.แจ้งให้ผู้นั้นเสนอคำคัดค้าน ภายในเวลาที่กำหนดแต่ต้องให้เวลาอันสมควรที่ผู้นั้นอาจเสนอคำคัดค้านได้

ข.ให้ปฏิเสธไม่อนุญาตในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้น

ค.เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่มีหน้าที่แต่อย่างใด

ง.ถุกทั้ง ข้อ ก. และ ข้อ ข.

ตอบ ก.แจ้งให้ผู้นั้นเสนอคำคัดค้าน ภายในเวลาที่กำหนดแต่ต้องให้เวลาอันสมควรที่ผู้นั้นอาจเสนอคำคัดค้านได้ (ตามมาตรา 17 วรรคแรก)

ข้อ 25.ผู้ที่ได้รับแจ้ง หรือผู้ที่ทราบว่าการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของตน มีสิทธิคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นได้ โดยกระทำตามข้อใด

ก.โดยทำเป็นหนังสือหรือแจ้งเป็นวาจาถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบ

ข.โดยทำเป็นหนังสือถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบ

ค.โดยทำเป็นหนังสือร้องเรียนถึงหน่วยงานของรัฐต้นสังกัดนั้น

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ข.โดยทำเป็นหนังสือถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบ (ตามมาตรา 17 วรรคสอง)

ข้อ 26.ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารใดตามมาตรา 14 หรือ มาตรา 15 หรือมีคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านของผู้มีประโยชน์ได้เสียตามมาตรา 17 ผู้นั้นอาจอุทธรณ์ต่อผู้ใด

ก.คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร

ข.คณะรัฐมนตรี

ค.คณะกรรมการการพิจารณาอุทธรณ์

ง.นายกรัฐมนตรี

ตอบ  ก.คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร (ตามมาตรา 18) 

ข้อ 27.ในกรณีที่เก็บข้อมูลข่าวสารโดยตรงจากเจ้าของข้อมูล หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติอย่างไร

ก.แจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบล่วงหน้าหร้อมกับการขอข้อมูลถึงวัตถุประสงค์ที่จะนำมาใช้ลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ

ข.หน่วยงานของรัฐสามารถนำข้อมูลจากเจ้าของข้อมูลได้โดยตรงไม่จำเป็นต้องได้รับอนุญาตเป็นอำนาจของรัฐโดยเฉพาะ

ค.ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.

ง.ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ ก.แจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบล่วงหน้าหร้อมกับการขอข้อมูลถึงวัตถุประสงค์ที่จะนำมาใช้ลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ (ตามมาตรา 23 วรรณสอง)

ข้อ 28.หน่วยงานของรัฐต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบในกรณีตามข้อใด

ก.ในกรณีที่มีการให้จัดส่งข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไปยังที่ใดซึ่งจะเป็นผลให้บุคคลทั่วไปทราบข้อมูลข่าวสารนั้นได้

ข.ในกรณีที่มีการเข้าตรวจสอบข้อมูลนั้นโดยหน่วยงานรัฐผู้เป็นเจ้าของข้อมูลนั้น

ค.ไม่มีข้อใดถูก

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ก.ในกรณีที่มีการให้จัดส่งข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไปยังที่ใดซึ่งจะเป็นผลให้บุคคลทั่วไปทราบข้อมูลข่าวสารนั้นได้ (ตามมาตรา 23 วรรคท้าย)

ข้อ 29.ข้อใด ไม่ใช่  ข้อยกเว้ณให้หน่วยงานของรัฐมีอำนาจในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแลของตนต่อหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของเจ้าของข้อมูลนั้น

ก.เป็นการเปิดเผยเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยโดยไม่ระบุชื่อหรือส่วนที่ทำให้รู้ว่าเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับบุคคลใด

ข.เป็นการเปิดเผยต่อบริษัทมหาชนจำกัด เพื่อประโยชน์ต่อผลประโยชน์ของบริษัทฯนั้น

ค.เป็นการเปิดเผยต่อหอจดหมายแห่งชาติ กรมศิลปากร หรือหน่วยงานอื่นของรัฐตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง เพื่อการตรวจดูคุณค่าในการเก็บรักษา

ง.เป็นการเปิดเผยต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อการป้องกันการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฏหมาย การสืบสวน การสอบสวน หรือการฟ้องคดี ไม่ว่าเป็นคดีประเภทใดก็ตาม

ตอบ ข.เป็นการเปิดเผยต่อบริษัทมหาชนจำกัด เพื่อประโยชน์ต่อผลประโยชน์ของบริษัทฯนั้น (ตามาตรา 24)

ข้อ 30.การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง (3)(4)(5)(6)(7)(8)และ(9) จะต้องมีการปฏิบัติอย่างไร

ก.ให้มีการจัดทำรายชื่อผู้เป็นเจ้าของข้อมูลและผลเสียหายที่อาจจะได้รับจากการเปิดเผยข้อมูลนั้น

ข.ให้มีการจัดทำบัญชีแสดงการเปิดเผยกำกับให้กับข้อมูลข่าวสารนั้น

ค.ให้หน่วยงานรัฐวางประกันเงินความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลเพื่อความเสียหายในอนาคต

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ข.ให้มีการจัดทำบัญชีแสดงการเปิดเผยกำกับให้กับข้อมูลข่าวสารนั้น (ตามมาตรา 24 วรรคสอง)

ข้อ 31.ถ้าบุคคลใดเห็นว่าข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนส่วนใดไม่ถูกต้องตามที่เป็นจริง ให้มีสิทธิอย่างไร

ก.แจ้งเป็นวาจาโดยเร่งด่วน เพื่อให้หน่วยงานนั้นแก้ไขข้อมูล แก่ไม่มีอำนาจลบข้อมูล

ข.ยื่นคำขอเป็นหนังสือให้หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารนั้นได้ซึ่งหน่วยงานของรัฐต้องพิจารณาคำของดังกล่าว

ค.ไม่มีสิทธิอย่างใด เพราะเป็นข้อมูลของทางราชการ

ง.ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ ข.ยื่นคำขอเป็นหนังสือให้หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูล (ตามมาตรา 25 วรรคสาม)

ข้อ 32.ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานรัฐไม่ประสงค์จะเก็บรักษาหรือมีอายุครบกำหนดแล้วตามพระราชบัญญัตินี้ นับแต่วันที่เสร็จสิ้นการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารนั้น ให้หน่วยงานของรัฐส่งมอบให้แก่หน่วยงานใด

ก.หอจดหมาย

ข.กรมศิลปากร

ค.หน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กำหนดในพระราชกฤษฏีกาเพื่อคัดค้านเลือกไว้ให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.ถูกทุกข้อ (ตามมาตรา 26 )

ข้อ 33.การตรวจสอบหรือทบทวนมิให้มีการขยายระยะเวลาไม่เปิดเผยจนเกินความจำเป็น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อใด

ก.คำสั่งนายกรัฐมนตรี

ข.มติคณะรัฐมนตรี

ค.กฏกระทรวง

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ  ค.กฏกระทรวง (ตามมาตรา 26)

ข้อ 34.ผู้ใดเป็นประธานในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

ก.รัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

ข.ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ค.ปลัดกระทรวงกลาโหม

ง.ปลัดรกะทรวงมหาดไทย

ตอบ ก.รัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย (ตามมาตรา 24 )

ข้อ 35.ผู้ใด เป็นผู้แต่งตั้งข้าราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี คนหนึ่งเป็นเลขานุการและอีกสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

ก.นายกรัฐมนตรี

ข.ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ค.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ง.รองนายกรัฐมนตรี

ตอบ ข.ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ตามมาตรา 27 วรรคสอง)

ข้อ 36.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของทางราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 24 มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปีนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง

ก.2 ปี

ข.3 ปี

ค.4 ปี

ง.5 ปี

ตอบ ข.3 ปี (ตามมาตรา 29)

ข้อ 37.การประชุมของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ต้องมีกรรมการประชุมไม่น้อยกว่าเท่าใด ของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุมตามกฏหมาย

ก.ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม

ข.ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง

ค.ไม่น้อยกว่าสองในสาม

ง.ไม่น้อยกว่าสามในสี่

ตอบ ข.ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง (ตามมาตรา 31)

ข้อ 38.ให้ประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ เป็นประธานในที่สุด แต่ถ้าประธานกรรมการไม่ม่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กระทำตามข้อใด

ก.ให้กรรมการที่มาประชุมผู้มีอาวุโสสูงสุดทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม

ข.ให้รองประธานทำหน้าที่แทนประธานเป็นการชั่วคราว

ค.ให้กรรมการที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม

ง.ให้เลื่อนการประชุมออกไปก่อน จนกว่าจะได้ผู้ทำหน้าที่ประธาน

ตอบ ค.ให้กรรมการที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม (ตามมาตรา 31 วรรคสอง)

ข้อ 39.การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ให้ถือเสียงเท่าใด จึงจะเป็นเสียงชี้ขาดที่ถูกต้องตามกฏหมาย

ก.ให้ถือเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่ง

ข.ให้ถือเสียงข้างมาก

ค.ให้ถือเสียงเกินกว่าสองในสาม

ง.ให้ถือเสียงเอกฉันท์

ตอบ ข.ให้ถือเสียงข้างมาก (ตามมาตรา 31 วรรคสาม)

ข้อ 40.ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูลข่าวสารตามที่มีคำขอไม่ว่าจะเป็นกรณีตามมาตรา 11 หรือ มาตรา 25 ถ้าผู้มีคำขอไม่เชื่อว่าเป็นความจริงและร้องเรียนต่อคณะกรรมการตามมาตรา 13 คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการจะมีอำนาจตามข้อใด

ก.ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารของราชการที่เกี่ยวข้องได้

ข.แจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ร้องเรียนทราบ

ค.ถูกทั้งข้อ ก. และ ข.

ง.ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ ค.ถูกทั้งข้อ ก. และ ข. (ตามมาตรา 33 )

ข้อ 41.ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาต่างๆ ตามความเหมาะสม โดยผู้ใดเป็นผู้แต่งตั้งตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯ

ก.นายกรัฐมนตรี

ข.คณะรัฐมนตรี

ค.รัฐมนตรีว่าการรกระทรวงมาหาดไทย

ค.ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ตอบ ข.คณะรัฐมนตรี (ตามมาตรา 35 )

ข้อ 42.คณะกรรมการวินัจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารคณะหนึ่งๆประกอบด้วยบุคคลตามความจำเป็นแต่ต้องไม่น้อยกว่ากี่คน

ก.3 คน

ข.4 คน

ค.5 คน

ง.6 คน

ตอบ  ก.3 คน (ตามมาตรา 35 )

ข้อ 43.ให้คณะกรรมการพิจารณาส่งคำอุทธรณ์ให้คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร โดยคำนึงถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของคณะกรรมการวินิจฉับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแต่ละสาขาภายในกี่วันนับแต่วันที่คณะกรรมการได้รับคำอุทธรณ์

ก.3 วัน

ข.7 วัน

ค.15 วัน

ง.30 วัน

ตอบ  ข.7 วัน (ตามมาตรา 37 )

ข้อ 44.อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแต่ละสาขาวิธีพิจารณาและวินิจฉัยและองค์คณะในการพิจารณาและวินิจฉัยให้เป็นไปตามข้อใด

ก.มติคณะรัฐมนตรี

ข.คำสั่งของนายกรัฐมนตรี

ค.ระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ง.ข้อกำหนดที่คณะกรรมการกำหนด

ตอบ ค.ระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ตามมาตรา 38 )

ข้อ 45.ให้หน่วยงานของรัฐจัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสารหรือจัดให้มีข้อมูลข่าวสารตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้ใดกำหนด

ก.นายกรัฐมนตรี

ข.คณะรัฐมนตรี

ค.คณะกรรมการ

ง.ปลัดกระทรวง

ตอบ ค.คณะกรรมการ (ตามมาตรา 42 วรรคสอง)

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน
บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์