7 แบรนด์ ช็อคโกแลตไทย

7 แบรนด์ช็อคโกแลตไทย 

1. aimmikachocolate   เอมมิกาช็อกโกแลต คือ ออร์แกนิกส์คราฟต์ช็อกโกแลตของคนไทย เพื่อคนที่ใส่ใจสุขภาพ ชีวิต และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เราผลิตแบบทรีทูบาร์โดยคัดสรรเมล็ดโกโก้อินทรีย์จากแหล่งปลูกทั่วประเทศ  ดูแลอย่างใกล้ชิดตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูกไปจนถึงการแปรรูป เพื่อให้ได้ดาร์กช็อกโกแลตที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ตามลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่

 

2. Siamaya Chocolate Siamaya Chocolate ก่อตั้งขึ้นจากแนวคิดที่ว่าประเทศไทยต้องการช็อกโกแลตที่มีคุณภาพมีช็อกโกแลตราคาถูกที่ผลิตเป็นจำนวนมากในร้านขายของชำแต่เรามักจะรู้สึกว่าต้องมีใครสักคนที่สามารถทำได้ดีกว่านีเมื่อมีโอกาสได้พบกับศาสตราจารย์ด้านการเกษตรอย่างซานจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในจังหวัดเชียงใหม่ เราก็ตระหนักว่าความฝันของเราอาจเป็นจริงได้ ดร.ซานได้สอนเกษตรกรในหุบเขาเชียงใหม่ถึงวิธีการปลูกเมล็ดโกโก้ และในการแปรรูปเมล็ดโกโก้ลูกผสมคุณภาพสูงที่ผ่านกรรมวิธี ซึ่งปัจจุบันเป็นรากฐานที่สำคัญของเมล็ดโกโก้จากเชียงใหม่เราเริ่มลองทำช็อกโกแลตจากถั่วเหล่านี้ทันที ในช่วงหลายเดือนที่จะมาถึงนี้ เราได้รวบรวมผลไม้อันเป็นเอกลักษณ์และเครื่องเทศอ่อนๆ ของเมล็ดโกโก้ของไทยในรสชาติของช็อกโกแลตแท่งและระดับความมืดที่หลากหลาย

 

3. Chocolasia ช็อกโกเลเซีย Chocolasia เริ่มต้นในปี พ.ศ.2558 จากการที่คุณบอสส์ (บวร พฤกษาวัฒนชัย) มองเห็นว่าในประเทศไทยมีการปลูกโกโก้มาอย่างยาวนานมากกว่า 30 ปี อีกทั้งความต้องการบริโภคสินค้าประเภทโกโก้และช็อกโกแลตในไทยนั้นมีสูงมาก แต่สินค้าส่วนใหญ่กว่า 95% กลับกลายเป็นของที่นำเข้ามาจากต่างประเทศทั้ง ยุโรป แอฟริกา อเมริกาใต้ รวมไปถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่าง มาเลเซียและเวียดนาม

   

4.Paradai Chocolate โรงงานช็อกโกแลตสัญชาติไทยที่ซ่อนตัวอยู่ ณ ตึกแถวย่านพระนครที่นอกจากจะเปิดให้ชมกระบวนการทำช็อกโกแลตแบบทุกขั้นตอนผ่านกระจกใสบานใหญ่ ที่อบอวลไปด้วยกลิ่นหอมของช็อกโกแลตอยู่ภายในแล้ว ยังพาเราไปสัมผัสรสชาติช็อกโกแลตแท้จากเมล็ดโกโก้ไทยที่คุณภาพไม่เป็นรองใครในโลก แบรนด์ ‘PARADAi’ มีจุดเริ่มต้นจากกลุ่มเพื่อนที่เรียนวิทยาศาสตร์การอาหาร ที่ล้วนหลงใหลในเสน่ห์และรสชาติของช็อกโกแลต และต่างมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มโดยเฉพาะกาแฟและช็อกโกแลตมานานหลายปี จึงได้รวมตัวกันเพื่อสร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่าจากต้นโกโก้ ที่ปลูกในสวนหลังบ้านของชาวบ้านในจังหวัดนครศรีธรรมราช 

 

5.Kanvela  Chocolate “กานเวลา” (Kan Vela Chocolate) คือชื่อของช็อกโกแลตสายพันธุ์ไทยแท้ ที่ปลูกเอง แปรรูปเอง โดยชาวเชียงใหม่ พวกเขาสร้างสรรค์คราฟต์ช็อกโกแลตที่เป็นเอกลักษณ์  เคยส่งช็อกโกแลตรสชาติไทยๆ ไปคว้ารางวัลระดับโลกจากเวที INTERNATIONNAL CHOCOLATE AWARDS มาแล้ว

  เบื้องหลังความสำเร็จคือชายชื่อ "ธนา คุณารักษ์วงศ์” ผู้ก่อตั้ง บริษัท กานเวลา ช๊อคโกแลต จำกัด (Kan Vela Chocolate) เขาคืออดีตนักลงทุนฟูลไทม์ที่ฝึกเล่นหุ้นมาตั้งแต่อายุ 18 ปี แต่วันนี้เขาเลือกปรับพอร์ตชีวิตใหม่ มาเดินบนถนนสายหวาน ทำธุรกิจช็อกโกแลตครบวงจร ที่มีดอกผลเป็นความสุข และแบ่งปันกำไรสู่ผู้คนทั้งห่วงโซ่

 

6.Kad Kokoa กาดโกโก้เปิดตัวเมื่อกลางปี 2561 ที่ผ่านมา พร้อมกับคาเฟ่ช็อกโกแลตแห่งแรกของกรุงเทพฯ ที่เราอยากชวนไปชมและชิม

กาดโกโก้เลือกใช้เมล็ดโกโก้ที่ปลูกในประเทศไทยเป็นหลัก โดยมุ่งไปที่การทำดาร์กช็อกโกแลต 70% ซึ่งใช้เพียงเมล็ดโกโก้ของเชียงใหม่ จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพรในขณะนี้

มีคนไม่น้อยที่ยังไม่รู้ว่าประเทศไทยมีการปลูกโกโก้ และคนอีกมากกว่านั้นที่ไม่รู้ว่ามีการทำช็อกโกแลตในประเทศไทยด้วย หนึ่งนักทำช็อกโกแลตที่เราอยากแนะนำให้รู้จักคือ Kad Kokoa (กาด โกโก้) ที่คว้ารางวัลระดับทองแดงจาก International Chocolate Awards ระดับ Asia-Pacific มาไม่นาน จากช็อกโกแลตที่ทำด้วยโกโก้เชียงใหม่ของเรานี่เอง

 

7.bean to bar chocolate Bean to Bar Chocolate  คือแบรนด์ช็อกโกแลตแบรนด์แรกของ จ.จันทบุรี ที่มาจากต้นโกโก้ซึ่งปลูกในจังหวัด จากเกษตรกรในพื้นที่ พวกเขาใช้สัญลักษณ์เป็นกระต่ายมีหูเป็นผลโกโก้ ซึ่งกระต่ายคือสัตว์ประจำจังหวัดของจันทบุรี ส่วนผลโกโก้ที่หูก็สื่อถึงธุรกิจที่ทำ นำผลโกโก้มาแปรรูปเป็นช็อกโกแลต เป็น Bean to Bar Chocolate ที่สะท้อนถึงจากเมล็ดโกโก้สู่แท่ง (บาร์) ช็อกโกแลต โดยชูจุดต่างความเป็นช็อกโกแลตเพื่อสุขภาพ เพราะเป็นช็อกโกแลตคีโตแห่งแรกในไทยอีกด้วย

     “ตอนที่เริ่มทำยังไม่มีคนทำช็อกโกแลตคีโตเลย เราเป็นเจ้าแรกในไทยก็ว่าได้ ถึงตอนนี้เองก็มีคนทำช็อกโกแลตคีโตแค่ 2 แบรนด์ ถามว่าทำไมคนถึงทำน้อย เพราะว่าเขาอาจจะยังมองไม่เห็นโอกาสตรงนี้ก็ได้ โดยอาจคิดว่าการที่ไม่กำหนดเป็นช็อกโกแลตคีโตแบบเฉพาะเจาะจงไปเลย ก็น่าจะขายได้กว้างกว่า แต่จริงๆ แล้ว คีโตมันไม่ได้หมายถึงแค่กลุ่มคนกินคีโตเท่านั้น แต่คนที่กินคลีน คนที่รักสุขภาพ คนที่เป็นเบาหวานต้องการควบคุมน้ำตาล  และคนที่ไม่อยากได้น้ำตาล แต่อยากจะได้ประโยชน์จากช็อกโกแลตก็สามารถกินได้ เพราะจริงๆ แล้วช็อกโกแลตเป็นไขมันที่ดี เป็นไขมันคุณภาพ แต่ถ้าเราไปเติมน้ำตาลซึ่งคนที่รักสุขภาพจะบอกว่าเป็นยาพิษต่อร่างกาย มันก็ไม่ได้สุขภาพเต็มที่เท่านั้นเอง” เธอบอก

     เมื่อถามว่าคนอื่นไม่กล้าใช้เพราะกลัวตลาดแคบ แล้วทำไม Bean to Bar ถึงกล้าชูเรื่องนี้เป็นจุดขาย เธอบอกแค่ว่า“จริงๆ ก็ไม่ได้เห็นโอกาสอะไรหรอก แต่แค่เห็นว่ายังไม่มีคนทำช็อกโกแลตสำหรับคีโตเลย  จึงอยากจะทำให้ทุกคนได้กินเหมือนที่เราได้กิน เพราะคนที่กินคีโตก็คงต้องอยากกินช็อกโกแลตเหมือนกัน ง่ายๆ แค่นั้นเลย”

     ช็อกโกแลตคีโตปราศจากแป้งและน้ำตาล แต่สำหรับคนที่ยังติดรสหวานพวกเขาก็จะใส่สารทดแทนความหวานที่คีโตทานได้ อย่าง อิริทริทอล (Erythritol) หรือน้ำตาลแอลกอฮอล์ โดยให้ความหวานที่ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของน้ำตาลปกติ ขณะที่ก่อนวางจำหน่าย Bean to Bar Chocolate จะนำช็อกโกแลตทุกตัวไปส่งตรวจในห้องแล็บเพื่อดูว่ามีน้ำตาลผสมอยู่หรือไม่ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า

 

!!!!!!!!!! ติดตามแบรนด์ ช็อคโกแลตไทย ใหม่

            ได้ในบทความ เร็วๆนี้ นะครับ !!!!!!!!!!

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน
บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์