รีวิว วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering)

รีวิว วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering)

โดยปกติทั่วไปแล้ว ในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต หรือ องค์กร ทั่วๆไป นั้น ต้องมี ช่าง หรือ วิศวกร ประจำอยู่ ซึ่งจะมีจำนวนมาก หรือจำนวนน้อย ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของ องค์กร ถ้าองค์กรใด หรือ โรงงานอุตสาหกรรมใด มีจำนวน วิศวกร ประจำอยู่ ในจำนวนที่มาก และหลากหลายสาขา ก็แสดงให้เห็นได้เลยว่า องค์กรนั้นๆ หรือ โรงงานอุตสาหกรรม นั้นๆ มีประสิทธิภาพสูง เช่นเดียวกัน

 

สำหรับในครั้งนี้ ผมจะมาพูดเกี่ยวกับ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี หรือ Chemical Engineering เดี่ยวเราไปดูรายละเอียด กันได้เลยนะครับ ว่า สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี คืออะไร ศึกษาเกี่ยวข้องกับอะไร จบมาจะทำงานในสายไหนได้บ้าง และ มีรายได้อย่างไรบ้าง เดี๋ยวเราไปดูกันเลนะครับ

 

วิศวกรรมเคมี เกิดขึ้นครั้งแรกในยุคศตวรรษที่ 18 จากการพัฒนาวงการอุตสาหกรรมเคมี โดยมีการพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่อง จนในปี 1887 วิศวกรรมเคมี หรือ Chemical Engineering ได้ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกของโลก ที่ University of Manchester ในประเทศอังกฤษ โดย George E. Davis หลังจากนั้น วิศวกรรมเคมี ก็ได้แพร่หลายไปในหลายๆประเทศ รวมถึงประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย เช่นกัน และได้ก่อตั้ง สถาบันที่เกี่ยวกับ วิศวกรรมเคมี ขึ้นมามากมาย เช่น Society of Chemical Engineers in London, American Institute of Chemical Engineers (AIChE), UK Institution of Chemical Engineers (IChemE)

 

วิศวกรรมเคมี มีการเรียนการสอนครั้งแรก ในประเทศไทยที่ ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ ที่เห็นว่าอุตสาหกรรมเคมีและปิโตรเคมีจะเป็นอุตสาหกรรมที่จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาประเทศ เมื่อปี 2502

 

หลังจากนั้น ปี 2516 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเคมี เปิดการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมเคมีเป็นแห่งที่สองในประเทศไทยโดยใช้ชื่อหลักสูตร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) เป็นแห่งแรก

 

ต่อมา ในปีพ.ศ. 2517 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จึงได้ก่อตั้งภาควิชาวิศวกรรมเคมี เปิดการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมเคมีเป็นแห่งที่สามของประเทศไทย และเป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่ใช้หลักสูตรของญี่ปุ่น

 

และต่อมาในปีพ.ศ. 2518 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้จัดการเรียนการสอนสาขาวิศวกรรมเคมีเป็นแห่งที่สี่ของประเทศไทย สำหรับหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิศวกรรมเคมี แห่งแรกในประเทศไทย เปิดสอนโดย ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดสอนในปี พ.ศ. 2519 และ หลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมเคมี แห่งแรกในประเทศไทย เปิดสอนโดย ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดสอนในปี พ.ศ. 2532

สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี หรือ Chemical Engineering เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ การออกแบบเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตสารเคมี รวมไปถึงการควบคุมดูแลการผลิต และออกแบบโรงงานการผลิต โดยการประยุกต์ใช้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ กลศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ นอกจากจะศึกษาหลักการของกระบวนการผลิตเคมีในภาคอุตสาหกรรม แล้วยังต้องทำการศึกษา ทางด้าน วิศวกรรมเคมีพื้นฐาน ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย เศรษฐศาสตร์ และเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงต้องเรียนรู้วิธีการนำความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ และซอฟท์แวร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในการกระบวนการทำงานทางเคมี อีกด้วย

ความรู้ทาง วิศวกรรมเคมี นั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับเทคโนโลยีที่หลากหลาย และ มากมายหลายธุระกิจ เช่น เทคโนโลยีทางด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม กระบวนการทางชีวภาพ วัสดุศาสตร์ ปิโตรเคมี สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เครื่องจักรกล โรงงานอุตสาหกรรมการผลิต ยา และอาหาร เป็นต้น

 

เดี๋ยวเรามาดู สำหรับรายวิชาที่ทาง สาขาวิศวกรรมเคมี ต้องเรียนนั้น แต่ละมหาวิทยาลัยก็จะแตกต่างกันไม่มากนะครับ ซึ่งก็จะสามารถแบ่งออกเป็นหลักๆ ดังนี้

 

1.     หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ก็คือ วิชาทั่วๆไป ที่ต้องปรับพื้นฐานที่มาจากระดับ มัธยม นั้นเองครับ เช่น กลุ่มวิชาทางด้านภาษา กลุ่มวิชามนุษย์ศาสตร์ และสังคม กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

ถัดไปก็จะเป็นวิชา

2.     หมวดวิชาเฉพาะ ก็คือ หมวดวิชาเฉพาะที่ทาง สาขาวิศวกรรมเคมี ต้องเรียนนั้นเองครับ ซึ่งสามารถแบ่งเป็น หมวดวิชาย่อยๆ ดังนี้

2.1   กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ ก็คือ วิชาที่นักศึกษาที่เรียนวิศวกรรมศาสตร์ ทุกคนต้องเรียน ส่วนใหญ่ก็จะได้เรียนคล้ายๆกันในทุกๆ สาขาวิชา แต่ก็จะมีแตกต่างกันเล็กน้อยไปตาม สาขาวิชาที่เรียนนะครับ เช่น วิชา วัสดุวิศวกรรม, วิชาเคมีพื้นฐาน, Thermodynamic, วิชากลศาสตร์วิศวกรรม, วิชาเขียนแบบวิศวกรรม, เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม หรือ วิชาวิศวกรรมไฟฟ้าพื้นฐาน เป็นต้น

ถัดไปเป็น

2.2   กลุ่มวิชาบังคับทางวิศวกรรมศาสตร์ ก็คือ วิชาที่มีเรียนเฉพาะสาขาวิศวกรรมเคมี ซึ่งทางมหาวิทยาลัยบังคับให้เราต้องเรียน ยกตัวอย่าง เช่น วิชาวิศวกรรมเคมีเบื้องต้น, วิชากระบวนการอุตสาหกรรมเคมี, วิชาออกแบบบโรงงานอุตสาหกรรมเคมี, Heat Transfer & Equipment Design, Mass Transfer & Equipment Design หรือ ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมทางเคมี เป็นต้น วิชาบังคับทางวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยก็อาจจะมีความแตกต่างกันนิดหน่อยนะครับ

ถัดไปก็จะเป็น

2.3   กลุ่มวิชาเลือกทางวิศวกรรมศาสตร์ ก็คือ วิชาเลือกที่เราสามารถเลือกเรียนได้ ตามความต้องการของเรา ตามที่ทางมหาวิทยาลัยได้จัดขึ้นมา ซึ่ง ความรู้ทางวิศวกรรมเคมี นั้น สามารถประยุกต์ใช้ได้ กับหลากหลาย สาขา ซึ่งวิชาเลือกที่เราจะเลือกเรียน ก็ต้องเลือกตามที่ตัวเรามีความสนใจ เช่น การออกแบบอุปกรณ์เชิงกล, เครื่องมือวัดในกระบวนการทางเคมี, วิศวกรรมระบบชีวภาพ, เทคโนโลยีปิโตรเลียมและปิโตรเคมี, กระบวนการผลิตอาหาร, วิศวกรรมการเผาไหม้ หรือ การแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมเคมี เป็นต้น

3.     หมวดวิชาเลือกเสรี ก็คือ เป็นวิชาที่เราสามารถเลือกเรียนได้ตามที่เราชอบ และที่ทางมหาวิทยาลัยทำการเปิดการเรียนการสอนได้เลยนะครับ

 

ซึ่งรายละเอียด ของหลักสูตร หรือรายวิชาที่เรียน ของแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีความแตกต่างกัน นิดหน่อย น้องๆ เวลาจะเลือกเรียนต่อ ก็ลองอ่านหลักสูตรดูก่อนนะครับว่า ชอบหรือไม่ชอบ เหมาะกับเราหรือเปล่า เราได้ประโยชน์ในการเรียนไหม เพราะการเรียนนั้น เราต้องเรียนให้รู้และสามารถนำมาใช้งานได้จริง ไม่ใช่ว่าเรียนเพื่อต้องการให้จบๆ ไป นะครับ เพราะถ้าคิดแบบนี้ หลังจากมาทำงานก็อาจจะมีปัญหาได้นะครับ ยังไงน้องๆ ก็ลองเปิดเปรียบเทียบหลักสูตรของแต่ละแห่ง ดูก่อนนะครับผม ก่อนจะตัดสินใจ

สาขาวิศวกรรมเคมี เรียนจบมาแล้ว สามารถประกอบอาชีพได้ในหลายๆ ด้าน เช่น วิศวกรควบคุม และวางแผนการผลิต Process Engineer, Production Engineer, Quality Engineer, Design Engineer, Lab Engineer, วิศวกรออกแบบเครื่องมือ และอุปกรณ์ในอุตสาหกรรม วิศวกรเคมีในภาคอุตสาหกรรมทุกประเภท ทั้ง อุตสาหกรรมปิโตรเลียม ปิโตรเคมี อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ ยา อาหาร และอุตสาหกรรมที่ใช้นาโนเทคโนโลยี รวมถึง วิศวกรความปลอดภัย วิศวกรฝ่ายขาย/บริการ/จัดซื้อ Sale Engineer, Purchasing Engineer, นักวิจัย หรืออาจารย์ เป็นต้น

 

สาขาวิศวกรรมเคมี นั้นสามารถ เข้าไปทำงานได้หลากหลายในทุกๆธุระกิจเลยทีเดียว ทั้งหน่วยงานของรัฐบาล และเอกชน เช่น ศูนย์วิจัยต่างๆ ศูนย์เทคโนโลยีทางด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม กระบวนการทางชีวภาพ วัสดุศาสตร์ ปิโตรเคมี สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เครื่องจักรกล โรงงานอุตสาหกรรมการผลิต ยา และอาหาร เป็นต้น

 

ต่อไปมาดูเงินเดือนเริ่มต้น ของ สาขาวิศวกรรมเคมี กันนะครับ ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนนะครับว่า ตัวเลขที่ผมนำมาโชว์ตรงนี้นั้น เป็นแค่ค่าเฉลี่ยที่มาจากบริษัทแห่งหนึ่งเท่านั้นนะครับ โครงสร้างเงินเดือนของแต่ละ บริษัทนั้นไม่เท่ากันนะครับ ตัวเราจะได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของเราเอง บวกกับ โครงสร้างเงินเดือนขององค์กร ด้วยนะครับ

 

ต่อไปมาดูเงินเดือนเริ่มต้น ของ สาขาวิศวกรรมเคมี กันนะครับ จริงๆ เงินเดือนเด็กจบใหม่ ยังไม่มีประสบการณ์ แต่ละสาขาก็จะใกล้เคียงกัน ไม่แตกต่างกันมาก เงินเดือนก็จะเริ่มอยู่ที่ประมาณ 22,000 – 35,000 บาทต่อเดือน และหากมีประสบการณ์ตั้งแต่ 1 – 3 ปี เงินเดือนก็จะอยู่ที่ประมาณ 30,000 – 55,000 บาทต่อเดือน และหากมีประสบการณ์ ตั้งแต่ 3 – 5 ปี เงินเดือนก็จะอยู่ที่ประมาณ 50,000 – 75,000 บาทต่อเดือน และหากมีประสบการณ์ ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป เงินเดือนก็จะอยู่ที่ประมาณ 65,000 – 90,000 บาทต่อเดือน

 

สำหรับ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี หรือ Chemical Engineering นั้นก็มีเปิดทำการเรียนการสอนมากมาย ในหลายมหาวิทยาลัย ทั้งของภาครัฐ และเอกชน ซึ่งในยุคแรกๆ ของประเทศไทยนั้น ก็จะมีอยู่ทั้งหมด 14 มหาวิทยาลัย ที่ทำการเปิดการเรียนการสอนใน สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี คือ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (Prince of Songkla University)                                                                                  พ.ศ. 2516

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (King Mongkut’s University of Technology Thonburi)                                  พ.ศ. 2517

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University)                                                                                           พ.ศ. 2518

มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Khon Kaen University)                                                                                                    พ.ศ. 2527

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (King Mongkut's University of Technology North Bangkok)                  พ.ศ. 2527

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart University)                                                                                                 พ.ศ. 2532

มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University)                                                                                                            พ.ศ. 2533

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (Ubon Ratchathani University)                                                                                       พ.ศ. 2533

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (Srinakharinwirot University)                                                                                    พ.ศ. 2535

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (Suranaree University of Technology)                                                                       พ.ศ. 2536

มหาวิทยาลัยรังสิต (Rangsit University)                                                                                                               พ.ศ. 2536

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang)                     พ.ศ. 2537

มหาวิทยาลัยนเรศวร (Naresuan University)                                                                                                         พ.ศ. 2537

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)                                        พ.ศ. 2542

 

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลากหลายมหาวิทยาลัยที่ทำการเปิดการเรียนการสอนใน สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี ทั้งรัฐบาลและเอกชน ยังไง น้องๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตาม เว็บไซด์ ของแต่ละมหาวิทยาลัย ได้เลยนะครับผม

เป็นไงบ้างครับ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกๆท่าน พอจะมองภาพของ สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี ได้ชัดเจนมากขึ้นบ้างไหมครับ หากมีคำถาม หรือ ต้องการที่จะรู้รายละเอียดของสาขาวิชาไหน ก็สามารถ เขียนคอมเม้นมาที่ใต้นี้ได้เลยนะครับ ขอบคุณมากๆ ครับผม

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น
WAND Intelligence - มิ.ย. 24, 2021, 1:10 ก่อนเที่ยง - ตอบกลับ

สอบถามได้นะครับ

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน

Engineering Knowledge Learning Center [EKLC]

บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์