พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์

พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์  

           

 

   ถ้าพูดถึงศาสนาที่คนไทยนับถือมากที่สุดนั้นคือศาสนาพุทธ ดังนั้น ข้าพเจ้าจะขออนุญาตินำคำสอนต่างๆที่ได้ถูกบัญญัติไว้  นำมาอธิบายให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์นั้นเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอย่างไร ซึ่งในสังคมปัจจุบันศาสนานั้นเป็นสิ่งที่วิทยาศาสตร์ มองว่าไม่เป็นความจริง เพราะศาสนานั้นถูกจัดว่าอยู่ในเรื่องของความเชื่อที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้              พูดถึงคำว่า ศาสนา มันคือลัทธิหรือการที่มีจำนวนประชากรมนุษย์หมู่มาก เชื่อเเละปฏิบัติตนเองตามคำสอนเเละบัญญัติหรือว่าข้อบังคับในลัทธินั้นๆ เมื่อมีคนเชื่อในลัทธินั้นๆมากขึ้น จึงได้เกิดสิ่งที่เรียกว่าศาสนา 

     หากกล่าวถึงพุทธศาสนา สิ่งที่พระพุทธเจ้านั้นยึดเป็นแกนหลักของคำสอนของท่านคือสิ่งที่เรียกว่า "ไตรลักษณ์" ซึ่งหมายถึงว่าลักษณะทั้งสามที่เป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งประกอบไปด้วย อนิจจัง(ความไม่ยั่งยืน) ทุกขัง(การเสื่อมสลาย) อนัตตา(การที่ไม่มีสิ่งเหล่านั้น) ข้าพเจ้าจะอธิบายให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจว่า ลักษณะทั้งสามนี้ คืออะไรเเละเป็นไปยังไง

อย่างเเรกเราต้องเข้าใจก่อนว่าทุกสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น นามธรรม(สิ่งที่ไม่สามารถใช้ร่างกายรับรู้การมีอยู่ของสิ่งนั้นได้หรือกล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้นนั้นคือ ความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ) รูปธรรม(สิ่งที่สามารถใช้ร่างกายรับรู้การมีอยู่ของสิ่งนั้นเช่น ต้นไม้ เมฆ เเสง ดวงจันทร์) สิ่งเหล่านี้ล้วนอยู่ในวงจรของไตรลักษณ์ ทั้งสิ้น 

ข้าพเจ้าขอยกตัวอย่างมาเป็น ต้นไม้หนึ่งต้น ต้นไม้นั้นอยู่ในวงโคจรของไตรลักษณ์ได้อย่างไร ถ้ามองโดยทั่วไปเเล้วการที่ต้นไม้เจริญเติบโตเเละหายไปนั้นย่อมอยู่ในไตรลักษ์อย่างเเน่เเท้ เเต่ถ้าจะมาวิเคราะห์ให้เห็นกันเป็นข้อๆว่าต้นไม้นั้นมีวงจรเป็นไปอย่างไรตามสามลักษณะของไตรลักษณ์

ลักษณะที่เรียกว่าอนิจจัง คือความไม่ยั่งยืนของสิ่งนั้น ซึ่งเห็นกันได้โดยง่ายอยู่เเล้วว่า ต้นไม้นั้นเเม้จะมีอายุยืนกว่ามนุษย์เเต่สุดท้ายต้นไม้นั้นก็ไม่อาจคงทนเเละคงอยู่ไว้อย่างถาวรได้อย่างเเน่เเท้หรือไม่เเม้เเต่ก้อนหินที่ยากต่อการทำลายก็ไม่สามารถคงไว้ในรูปร่างเดิมได้ตลอดไป

ลักษณะทุกขัง คือการเสื่อมของสิ่งต่างๆ แม้เเต่ต้นไม้ที่อายุยืนยังมีการตายของกิ่งบางกิ่ง หรือเเม้เเต่การที่มีโรคติดต่อทางพืชสิ่งลักษณะนี้ ถ้าจะให้เห็นภาพมากขึ้นคือการเสื่อมสภาพของร่างกายมนุษย์ หรือเเม้เเต่การเสื่อมสภาพของวัตถุบางชนิดเช่น ใบไม้ที่ย่อยสลายหรือเเม้เเต่หินที่โดนน้ำกัดกร่อนจนเปลี่ยนสภาพ ทุกอย่างย่อมมีการเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา 

ลักษณะอนัตตา ซึ่งก่อนที่จะเข้าใจว่าลักษณะนี้คืออะไร พระพุทธเจ้าท่านได้บอกไว้ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นจากการรวมกันเพื่อให้เกิดสิ่งเหล่านั้น เเละเเยกจากกัน ซึ่งคำว่า อนัตตานั้นคือ การที่ไม่มีสิ่งต่างๆอยู่นั้นหมายถึงว่า เดิมทีเเล้วสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการรวมกัน เเละจบด้วยการเเยกกัน ถ้าเปรียบเทียบกับต้นไม้ สิ่งต่างๆที่จะก่อนให้เกิดเป็นต้นไม้นั้นประกอบด้วย ราก ลำต้น กิ่ง เเละ ใบ เเต่สิ่งทั้งสี่ไม่ได้เกิดขึ้นมาเป็นสิ่งเหล่านั้นเลย เมื่อลองย่อยองค์ประกอบของสี่อย่างที่กล่าวมา จะเห็นว่ายังเเยกลงไปอีกเป็นเซลล์ เมื่อหลายๆเซลล์มารวมกันจึงทำให้เกิดองค์ประกอบทั้งสี่ เเต่เซลล์นั้นไม่ได้เกิดขึ้นมาจากเซลล์ถ้าเเยกองค์ประกอบของเซลล์ลงไปอีกนั้นคืออะตอม ซึ่งอะตอมก็เกิดจาก การรวมกันของ นิวเคลียส โปรตอน เเละ นิวตรอน ซึ่งจะเห็นได้เมื่อเเยกองค์ประกอบของสรรพสิ่งทุกอย่างเเล้ว สิ่งต่างๆนั้นไม่ได้เกิดขึ้นด้วยตัวของมันเอง เเต่เกิดขึ้นจากการรวมกันของสิ่งต่างๆเเละหายไปเมื่อ สิ่งที่รวมกันนั้นได้เเยกตัว อนัตตานั้นเเปลได้อีกว่า การไม่มีตัวตน ซึ่งหมายถึงทุกอย่างนั้นมันเกิดขึ้นโดยไม่ได้มีตัวของมันเองเป็นหลักเเต่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของสิ่งต่างๆเพื่อให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น

      ลักษณะทั้งสามนี้เป็นไปตามจริงตามธรรมชาติทุกประการนั่นคือสาเหตุที่ว่า พุทธศาสนานั้นมีความคล้ายกับวิทยาศาสตร์อย่างไร ข้าพเจ้าขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่านที่สนใจในบทความของข้าพเจ้าเเละในบทความหน้า ข้าพเจ้าจะพูดถึงไตรลักษณ์ในรูปแบบของ นามธรรม ว่ามันเป็นอย่างไร ขอให้ความเจริญรุ่งโรจน์จงบังเกิดเเก่ท่าน

 

SIR.BOBBY   

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน
บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์