สรุปหน้าที่และการทำงานของสมองแต่ละส่วน

3vM_nnf7kB2jM3q89Fv6cWIu6T8PPhmatvP_ECeaehFy545on_npgUmMBtYAJv7SV5zkIS-1GGU05IQEMMJfmXPCgFHdb3Gl_T4J6Ny3sSHkD7hw_TuwMHih55wpQPfO_7UcZAAO

สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ 

1. สมองส่วนหน้า (Forebrain) สามารถแบ่งแยกย่อยได้อีกหลายส่วน ได้แก่ 

 

1.1 ซีรีบรัม (Cerebrum) ทำหน้าที่เกี่ยวกับรับรู้ข้อมูล เรียนรู้ประมวลผล เช่น การมองเห็น ภาษา และการสื่อสาร การคิด การเรียนรู้และความทรงจำ การดมกลิ่น ซึ่งแต่ละซีกยังแบ่งย่อยเป็น 4 กลีบ ได้แก่ 

 

1.1.1 กลีบหน้า (Frontal lobe) เป็นศูนย์กลางของอารมณ์ ควบคุมการพูด การเคลื่อนไหว ความคิด ความจำ สติปัญญา และการใช้ภาษาในการสื่อสาร

 

1.1.2 กลีบขมับ (Temporal lobe) ควบคุมการได้ยิน การดมกลิ่น และความเข้าใจด้านภาษา การฟัง 

 

1.1.3 กลีบข้าง (Parietal lobe) การรับรส และความรู้สึกจากการสัมผัส 

 

1.1.4 กลีบท้ายทอย (Occipital lobe) ควบคุมการมองเห็น 

 

ออลแฟกทอรีบรัม (olfactory bulb) เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุด ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น ซึ่ง ปลา,กบ และสัตว์เลื้อยคลานสมองส่วนนี้จะมีขนาดใหญ่ แต่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมออลแฟกทอรีบัลบ์จะไม่เจริญมาก แต่จะดมกลิ่นได้ดีโดยอาศัยเยื่อบุในโพรงจมูก

 

ทาลามัส (Thalamus) เป็นจุดศูนย์กลางในการถ่ายทอดกระแสประสาทไปยังสมองส่วนต่าง ๆ ทำหน้าที่ในการรับรู้ความเจ็บปวด ทำให้มีการสั่งการ และแสดงออกด้านพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด

 

ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) สร้างความสมดุลให้กับระบบการทำงานของร่างกาย มีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง เช่น ควบคุมการทำงานของต่อมพิทูอิทารีซึ่งมีหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่สำคัญหลายอย่าง โดยมีอิทธิพลต่อต่อมไร้ท่ออื่น ๆ ด้วย เช่น สร้างฮอร์โมน ควบคุมการเจริญเติบโต, เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติ เกี่ยวข้องกับการปรับสมดุล น้ำ-แร่ธาตุ ในเลือด การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย ความรู้สึกหิว-อิ่ม ความต้องการทางเพศ การหายใจ การนอนหลับและการตื่น

 

2. สมองส่วนกลาง (Midbrain) ส่วนนี้ใช้ในการรับ ส่ง กระแสประสาทระหว่างสมองส่วนหน้าและสมองส่วนท้าย ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น การเคลื่อนไหวของลูกตา และการได้ยินเสียง

 

3. สมองส่วนท้าย (Hindbrain) ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 

3.1 ซีรีเบลลัม (Cerebellum) ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัว และควบคุมกล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหว

 

3.2 พอนส์ (Pons) อยู่ติดกับสมองส่วนกลาง ทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น เป็นศูนย์ควบคุมการหายใจ ควบคุมการเคี้ยวอาหาร หลั่งน้ำลายและน้ำตา การเคลื่อนไหวใบหน้าและการแสดงออกทางสีหน้า การรับความรู้สึกของใบหน้า เช่น การสัมผัสและความเจ็บปวด 

 

3.3 เมดัลลา (Medulla) ส่วนล่างสุดของสมองส่วนท้ายซึ่งติดต่อกับไขสันหลัง ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในบางชนิด อย่างจมูก ปอด หัวใจ

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน
บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์