สิทธิทางทรงผมของเด็กนักเรียน เสรีทรงผมสำคัญจริงไหม?

เด็กรุ่นใหม่ หรือเด็กนักเรียน นักศึกษา คือประชาชนที่จะมาพัฒนาประเทศ รวมถึงโลกของเราต่อจากนี้ไปเรื่อย ๆ ในทุกยุคทุกสมัยย่อมต้องมีการเปลี่ยนแปลงกันไปตามความเห็นของคนรุ่นต่อไป และบ้านเมืองก็จะเปลี่ยนไปตามกาลเวลา โดยอาจจะมีการพัฒนาขึ้น หรือด้อยต่ำลงไปในประเทศ

และสิ่งที่นักเขียนจะมาสื่อให้ผู้อ่านในวันนี้ คือ คือความเห็นของพวกเขา(เด็ก ๆ)และผู้ใหญ่กลุ่มหนึ่งซึ่งเห็นต่างจากสิ่งที่ทำการสืบทอดต่อกันมาแต่ช้านานหลาย 100 ปี นั้นคือ ทรงผมของนักเรียน

โดยจะเป็นที่รู้กันดี ว่าแต่ละประเทศจะมีระเบียบทรงผมที่แตกต่างกันต่อไป และสำหรับระเบียบผมนักเรียนประเทศไทยก็ทำให้ผู้คนกลุ่มหนึ่งไม่พอใจที่จะให้ใครมายุ่งกับทรงผมซึ่งเป็นสิทธิ์ในร่างกายของแต่ละบุคคล เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงติดต่อกันมาหลายปี ว่าสรุปแล้วควรจะยกเลิกระเบียบทรงผมนักเรียนที่กลายเป็นความล้าหลังสำหรับเด็กรุ่นนี้หรือไม่?

 

 

แน่นอนว่าเกิดการถกเถียงในเรื่องนี้มายาวนาน แต่ก็ยังไม่เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงใด ๆที่ทำให้เด็กนักเรียน(บางส่วน)และผู้ใหญ่(บางส่วน)พึงพอใจ

นักเขียนจึงขอหยิบยื่นหัวข้อ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน ปี พ.ศ.๒๕๖๓ บางข้อ ออกมาพูดถึง

โดยใน ระเบียบกระทรงศึกษาธิการ ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน ปี พ.ศ.๒๕๖๓ ข้อ ๓ ได้ระบุไว้ว่า

"นักเรียน" หมายถึง บุคคลซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษา

"สถานศึกษา" หมายถึง สถานศึกษาในสังกัดหรือกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ ที่จัดการศึกษาชั้นพื้นฐาน เว้นแต่การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

"หัวหน้าสถานศึกษา" หมายถึง ผู้อำนวยการ หรือหัวหน้าสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา

ข้อ ๔ นักเรียนต้องปฏิบัติตนเกี่ยวกับการไว้ทรงผม ดังนี้

(๑) นักเรียนชายจะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวด้านข้าง ด้านหลังยาวไม่เลยตีนผม ด้านหน้าและกลางศีรษะให้เป็นไปตามความเหมาะสมและมีความเรียบร้อย

(๒) นักเรียนหญิงจะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวให้เป็นไปตามความเหมาะสมและรวบให้เรียบร้อย

ข้อ ๕ นักเรียนต้องห้ามปฏิบัติตน ดังนี้

(๑) ดัดผม

(๒) ย้อมสีผมให้ผิดไปจากเดิม

(๓) ไว้หนวดหรือเครา

(๔) การกระทำอื่นใดซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพการเป็นนักเรียน เช่น การตัดแต่งทรงผมเป็นรูปรงสัญลักษณ์หรือลวดลาย

ข้อ ๖ ความในข้อ ๔ และข้อ ๕ มิให้นำมาใช้บังคับแก่นักเรียนที่มีเหตุผลความจำเป็นในการปฏิบัติตามหลักศาสนาของตนหรือการดำเนินกิจกรรมของสถานศึกษา

ให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุญาต

 

การที่ให้เด็กนักเรียนไว้ทรงผมตามแบบระเบียบที่กระทรวงศึกษาธิการถือเป็นการละเมิดสิทธิของเด็กนักเรียนเองหรือไม่?

ตามที่นักเขียนได้เข้าใจ การที่ซึ่งกำหนดความยาวของทรงผมให้อยู่ในระดับความเหมาะสมเกี่ยวข้องอย่างไรกับการศึกษา?  หากแต่มีความเกี่ยวกับคำว่านักเรียนก็เท่านั้น "นักเรียน" ว่าด้วยความหมายตามหลักพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ นั้น "นักเรียน" จึงหมายถึง ผู้ศึกษาเล่าเรียน,ผู้รับการศึกษาจากโรงเรียน ซึ่งในเรื่องของความเหมาะสมแล้ว อะไรคือความเหมาะสมของนักเรียนกันแน่?

การห้ามไม่ให้เด็กทำในสิ่งสร้างสรรค์เล็ก ๆน้อย ๆ คือการตัดอนาคตส่วนหนึ่งออกไปจากประเทศหรือไม่? การห้ามไม่ให้เด็กคิดนอกกรอบเรื่องการจัดทรงผมของตนเอง จะทำให้ชีวิตเด็กไทยก้าวหน้าออกไปไกล หรือก้าวได้แค่ครึ่งหนึ่งของการเดินทางในชีวิต?

และการยึดติดนี้จะกลายเป็นอนาคตได้จริงหรือไม่? หากไม่ให้เด็ก ๆได้ลองอะไรใหม่ๆด้วยตัวเอง เพื่อไม่ให้เกิดการปิดกั้นการเรียนรู้ และเดินทางของเด็ก ๆ

 

*บทความเกิดขึ้นจากความคิดของนักเขียน และเขียนขึ้นจากสถานการณ์ที่นักเขียนสนใจก็เท่านั้น*

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน
บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์