รีวิวหนังสือจิตวิทยา" กล้าที่จะถูกเกลียด เล่ม 2"

'กล้าที่จะถูกเกลียด 2' เป็นหนังสือว่าด้วยทฤษฎีจิตวิทยาของแอดเลอร์  ซึ่งอาจดูแตกต่างจากนักจิตวิทยาท่านอื่น เพราะมีพื้นฐานมาจากปรัชญากรีก จึงไม่ค่อยมีความเป็นวิทยาศาสตร์ แต่ทำไมนักปรัชญาในเรื่องถึงหลงใหลในทฤษฎีของแอดเลอร์นัก ขอเชิญคุณมาเรียนรู้ไปกับบทสนทนาสุดแซ่บ เถียงกันไม่มีใครยอมใคร ระหว่างชายหนุ่มอดีตบรรณารักษ์ที่ผันตัวไปเป็นครูโรงเรียนเพราะอยากพิสูจน์ทฤษฎีของแอดเลอร์กับนักปรัชญาที่เป็นเชี่ยวชาญเรื่องแอดเลอร์โดยเฉพาะ

สามปีที่แล้วชายหนุ่มเชื่อทฤษฎีแอดเลอร์สุดหัวใจ คราวนี้เขากลับมาอีกครั้งเพื่อเปลี่ยนความคิดอาจารย์ของเขาให้เลิกเชื่อแอดเลอร์แบบงมงายเสียที เรามาฟังเหตุผลของสองข้างกัน แล้วตัดสินใจเอาเองว่าจะเลือกฝั่งไหน อ่านแล้วเหมือนดูคนโต้วาทีกัน

หัวข้อที่ชายหนุ่มกับนักปรัชญามาถกกันก็คือ เด็กควรให้รางวัลและถูกลงโทษหรือไม่ ในความเห็นของชายหนุ่มต้องมีรางวัลให้กระตุ้นเด็กให้ตั้งใจเรียน และลงโทษเด็กเกเร เพราะกฎระเบียบควบคุมสังคมให้สงบสุข ในขณะที่นักปรัชญามองว่าเด็กไม่ใช่ผ้าขาว มีสัญชาตญาณในการก่อปัญหา คือ ต้องการการชื่นชมยอมรับ หากครูชมเด็ก เด็กจะยิ่งแข่งขันกันเพื่อได้รับคำชม แทนที่จะร่วมมือกับเพื่อน นำไปสู่การกลั่นแกล้งรังแกกัน และการลงโทษเหมือนการปกครองแบบเผด็จการ เพราะคนส่วนใหญ่เป็นนักเรียน ควรได้ปกครองตัวเองแบบประชาธิปไตย กล่าวคือนักปรัชญาไม่ค่อยเห็นด้วยกับคำว่าไม้เรียวสร้างคนเป็นรัฐมนตรีแบบที่ครูไทยชอบอ้างกันนั่นแหละ

นอกจากนี้ 'กล้าที่จะถูกเกลียด2' ยังสอนให้เราพึ่งพาตัวเอง เวลาเรามีทุกข์ เรามักมองอยู่แค่สองด้านคือ 'คนอื่นเลวร้าย' ไม่ก็ 'เราน่าสงสาร' คิดวนอย่างนี้ก็จะไม่หลุดพ้นจากปัญหา ได้แค่ระบายให้นักจิตวิทยาฟังครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ถ้าเราอยากเดินหน้าต่อไป เราต้องตั้งคำถามว่า 'จากนี้ไปเราจะทำอย่างไร'

ชายหนุ่มในเรื่องไม่มีความสุขในการทำงานเป็นครู นักปรัชญาชี้ให้เห็นว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่เด็กแต่อยู่ที่ตัวของเอง เขาไม่สามารถชื่นชมตัวเองได้ จึงพยายามทำตัวเองให้มีค่าด้วยการเป็นครู ใช้การช่วยเหลือนักเรียนเพื่อช่วยเหลือตัวเองให้รู้สึกมีค่า และเพราะทัศนคติที่มองงานเป็นงาน ทำให้ความสัมพันธ์ของเขากับนักเรียนห่างเหิน นักปรัชญาแนะนำให้เขาวางตัวเป็นเพื่อนกับเด็ก ๆ อย่าวางตัวสูงกว่า เพราะคนทุกคนก็อยากได้คนที่เอาใจเขามาใส่ใจเราทั้งนั้น เหมือนเวลาเราไปทำงาน ถ้าเรามีเพื่อนร่วมงานแต่เราไม่คุย ไม่กินข้าวด้วย เราก็จะเบื่อที่ทำงาน แต่ถ้าเราทำให้ที่ทำงานเป็นสังคมของเรา เราก็จะมีความสุข ทำงานอยู่ได้ยืด

แอดเลอร์ยังพูดถึงการมีความรักไว้ว่าเป็นเป้าหมายของคนสองคนที่ต้องทำสำเร็จด้วยกัน คนเราชินกับการทำงานสำเร็จคนเดียวและการทำงานเป็นทีม จนเราไม่เก่งในการทำความรักให้ดีสำหรับคนสองคน ความรักไม่มีคำว่าฉัน คำว่าเธอ มีแต่คำว่าพวกเรา และถ้าเราทิ้งตัวตนหรือคำว่าฉันได้ มันจะยิ่งดีกับความรัก

ในการทำดีให้คนอื่นชื่นชมเป็นความสุขชั่วคราว เราทำในสิ่งที่เราชอบ ทำไปเรื่อย ๆ แล้วหวังว่าสักวันมันจะเข้าตาคนอื่นโดยอัตโนมัติ ถ้าเราเก็บกดตัวเองเพื่อเอาใจคนอื่น นอกจากเราจะไม่มีความสุขแล้ว ไม่มีอะไรรับประกันว่าคนอื่นจะยอมรับเราอีกด้วยนะ ทำตามหัวใจตัวเองดีกว่า

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือดีมากที่อยากให้คนที่กำลังหลงทางไม่รู้จะไปต่อทางไหนได้ลองอ่าน ให้แรงบันดาลใจดีในการลุกขึ้นมาทำตามความฝัน ตัวผู้รีวิวเองก็รู้สึกว่ามีประโยชน์มาก ๆ เลยค่ะ

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน
บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์