ผายลมหลายสิบครั้งต่อวัน มีอะไรผิดปกติกับลําไส้หรือไม่?

เพื่อนคนหนึ่งบอกว่า ช่วงนี้เขาผายลมเยอะไปหน่อย หลายสิบครั้งทุกวัน และเหม็นมาก แต่ไม่มีอาการท้องเสียใดๆ และไม่มีอาการท้องผูกด้วย เขากังวลเล็กน้อยว่าที่เขาเป็นแบบนี้ มีอะไรผิดปกติกับลําไส้หรือเปล่า? เป็นมะเร็งลําไส้ไหม?

ฉันจึงบอกว่าอย่ากังวลจนเกินไป คนที่ผายลมบ่อยๆ ไม่จำเป็นว่าจะเป็นมะเร็งลําไส้ ในความเป็นจริงการผายลมแสดงให้เห็นว่าลําไส้ทํางานอย่างถูกต้อง ในทางกลับกันถ้าไม่ได้ผายลมเป็นเวลานานแล้ว แสดงให้เห็นว่ามีบางอย่างผิดปกติกับลําไส้

1. ผายลมเป็นปรากฏการณ์ทางสรีรวิทยาที่ปกติ

การผายลมของคนและสัตว์เป็นปรากฏการณ์ทางสรีรวิทยาที่ปกติ เพราะเมื่อคนเรารับประทานอาหารก็ได้กลืนส่วนหนึ่งของอากาศเข้าไปด้วย มีแบคทีเรียจำนวนมากในระบบย่อยอาหาร เมื่อมันย่อยสลายอาหารก็จะทำให้เกิดก๊าซ ก๊าซเหล่านี้เคลื่อนตัวเข้าลําไส้ และเมื่อออกจากทวารหนักเราจะเรียกว่า "ผายลม" การผายลมเมื่อผ่านกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก นอกจากนี้ยังทําให้เกิดการสั่นสะเทือนและทําให้เกิดเสียง

ดังนั้นการผายลมจึงเป็นอาการของการทำงานของลำไส้ที่ปกติ เมื่อทำการผ่าตัดช่องท้องหรือทางเดินอาหาร หลังการผ่าตัดแล้ว แพทย์จะถามกับว่าผู้ป่วยสามารถผายลมได้ตามปกติหรือไม่ เพื่อตรวจสอบว่ามีการยึดเกาะและสิ่งกีดขวางในลำไส้ในช่องท้องหรือไม่ เพื่อตัดสินว่าการผ่าตัดนั้นสำเร็จหรือไม่ ดังนั้นการผายลมถึงจะเป็นเรื่องน่าอาย แต่กลับเป็นเรื่องที่ดี

2. ทำไมผายลมเยอะจัง

2.1 ความไม่สมดุลของไมโครไบโอมของมนุษย์ : มีแบคทีเรียจำนวนมากอาศัยอยู่ในลำไส้ของมนุษย์ แบคทีเรียเหล่านี้ช่วยย่อยอาหาร นอกจากนั้น แบคทีเรียยังช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินที่ต้องการได้อีกด้วย แต่ในขณะที่แบคทีเรียย่อยอาหาร ก็ทำให้เกิดก๊าซจำนวนมาก เมื่อไมโครไบโอมของมนุษย์เกิดความไม่สมดุล และนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของการผลิตก๊าซ จะทำให้ผายลมมากกว่าปกติ

2.2 รับประทานเร็วเกินไป : ถ้าคุณรับประทานอาหารแบบเคี้ยวไม่ละเอียด หรือพูดคุยกันในขณะรับประทานอาหาร ก็จะกลืนอากาศไปพร้อมกับอาหารมากกว่าปกติ ในที่สุดก็จะกลายเป็นการผายลม

2.3 การรับประทานอาหารที่ย่อยยาก : หากอาหารถูกย่อยโดยแบคทีเรียแต่ย่อยไม่หมด ก็จะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของการผลิตก๊าซ เช่น การรับประทานถั่วมากเกินไป เพราะถั่วนั้นย่อยไม่ง่าย ทำให้สารอาหารตกค้างในอาหารมากขึ้นเมื่อไปถึงแบคทีเรีย จนทำให้มีการผลิตก๊าซเป็นจำนวนมาก

2.4 โรคของระบบย่อยอาหาร : โรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ และโรคทางเดินอาหารอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวมากเกินไปในทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นการเร่งความเร็วการเดินทางของอาหารในกระเพาะและลำไส้ ทำให้อาหารย่อยไม่ดีพอ จนทำให้เกิดก๊าซมากขึ้น

3. ทำไมผายลมจึงมีกลิ่นเหม็น

โดยปกติ คนปกติจะผายลม 500 มล. ทุกวัน ในจำนวนนี้ 99% เป็นก๊าซที่ไม่มีกลิ่น เช่น ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ 1% คือแอมโมเนีย สคาโตล ไฮโดรเจนซัลไฟด์ และก๊าซที่มีกลิ่นอื่นๆ ก๊าซที่มีกลิ่นเหม็น ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์จากการสลายตัวของโปรตีน (เช่น เนื้อสัตว์) บางชนิดเกิดจากการรับประทานหัวหอม กระเทียม และอาหารอื่นๆ ที่มีกลิ่นฉุน

ถ้าผายลมมากแต่ไม่มีกลิ่นเหม็น อาจเป็นโรคกระเพาะ แผลในทางเดินอาหาร โรคเกี่ยวกับตับ ถุงน้ำดี ตับอ่อน และโรคอื่นๆ หากผายลมมากและมีกลิ่นเหม็น แต่ไม่ได้กินเนื้อมาก อาจเกิดจากเลือดออกในทางเดินอาหาร โรคบิดจากแบคทีเรีย โรคลำไส้ใหญ่บวมเป็นแผล เนื้องอก และปัจจัยอื่นๆ หากมีผายลมน้อยหรือไม่มีเลย อาจเกิดจากลำไส้อุดตัน

4. กินธัญพืชไม่ขัดสีและผักช่วยปกป้องลำไส้มากขึ้น

เพื่อปกป้องลำไส้ และลดโอกาสที่สารอันตรายจะตกค้างในลำไส้ แนะนำให้กินธัญพืชและผักไม่ขัดสีให้มากขึ้น เพราะอาหารเหล่านี้มีเส้นใยอาหารจำนวนมาก สามารถดูดซับน้ำ ไขมัน คอเลสเตอรอล และสารอันตรายต่างๆ ในลำไส้ สามารถทำให้อุจจาระนิ่ม ช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น

ใส่ใจในการรับประทานบาร์บีคิวหรือของปิ้งย่างให้น้อยลง แม้ว่ารสชาติ "ข้างนอกไหม้และข้างในนุ่ม" จะอร่อยมาก แต่อุณหภูมิสูงจะเพิ่มสารก่อมะเร็งในอาหาร การกินบาร์บีคิวหรือของปิ้งย่างเป็นประจำ จะเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องเลิกสูบบุหรี่และจำกัดแอลกอฮอล์ และอย่ากลั้นอุจจาระเพื่อป้องกันอาการท้องผูก

โดยสรุป คนส่วนใหญ่ที่ผายลมผิดปกติเกิดจากอาหาร หากคุณปรับตัวให้เข้ากับอาหารได้ตามปกติแล้ว แต่ยังผายลมและมีกลิ่นเหม็นอยู่มาก แนะนำให้ไปโรงพยาบาลเพื่อทำ colonoscopy (การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่) โดยเฉพาะคนวัยกลางคนและผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ

ชอบบทความนี้หรือไม่? รับทราบข้อมูลโดย เข้าร่วมรับจดหมายข่าว!

ความเห็น

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้เขียน
บทความล่าสุด
เม.ย. 28, 2023, 2:40 หลังเที่ยง Sugarmommy
เม.ย. 28, 2023, 2:37 หลังเที่ยง เบญจพิธพร
เม.ย. 27, 2023, 12:49 หลังเที่ยง ศลิล ตันวิสุทธิ์